โรคติดเชื้อในปลานิล : แอโรโมนาส 3
ReadyPlanet.com
โรคติดเชื้อในปลานิล : แอโรโมนาส 3

การติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลาเกิดจากการได้รับเชื้อจากน้ำหรือติดเชื้อจากปลาที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการหรือรอยโรค (carrier fish) การสัมผัสโดยตรงระหว่างปลาที่เป็นโรคและปลาที่ไม่เป็นโรค การกินปลาป่วยหรือปลาที่ติดเชื้อเป็นอาหาร เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าทางปาก หรือถ้าปลามีแผลที่ผิวหนังหรือเหงือกถูกทำลายจากปรสิต เชื้อนี้ก็สามารถเข้าไปได้เช่นกันจากนั้นเชื้อจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในระบบทางเดินอาหารและเลือดแล้วจึงแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย (systemic infection) ในระยะแรกของการติดเชื้อปลาที่ป่วยจะพบอาการเสียการทรงตัว ว่ายน้ำช้าลง อ้าปากหายใจบริเวณผิวน้ำ เมื่อโรครุนแรงขึ้นจะสามารถพบลักษณะ ครีบ และหางเปื่อย กร่อน (tail rot หรือ fin rot) เกล็ดลอกหลุด (loss of scales) และตั้งพอง (dropsy) บางครั้งมีจุดเลือดออกบริเวณลำตัว (skin erosion) ในปลานิลบางตัวที่มีการติดเชื้อรุนแรงติดเชื้อเป็นเวลานานจะพบแผลหลุมหรือเนื้อตายบริเวณลำตัว (skin ulcerative) ช่องท้องขยายและมีน้ำคั่ง (abdominal distention) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียมีคุณสมบัติในการสร้างสารพิษมาทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ทำลายผนังหลอดเลือด ดังนั้นเมื่อผ่าซากตรวจดูอวัยวะภายในพบน้ำคั่งในช่องท้องและพบจุดเลือดออกและการอักเสบ หรือการบวมน้ำ (edema) ได้ เช่น ลำไส้ ตับ รังไข่ ม้าม

ระยะฟักตัว (incubation period) ของโรคมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลา และความต้านทานโรคสิ่งแวดล้อม และฤดู โดยการติดเชื้อในธรรมชาติจะอยู่ในช่วงระหว่าง 2-4 วัน แต่กรณีที่ทดลองทำให้ติดเชื้อ (experimental infection) จะใช้เวลาประมาณ 8-48 ชั่วโมง มีการทดลองฉีดเชื้อ Aeromonas hydrophila ความเข้มข้น 1x10 8 CFU/ml ปริมาณ 0.1 ml เข้าทางช่องท้อง (intraperitoneal injection) ของปลานิลขนาด 50-80 กรัม ในวันแรกที่ฉีดเชื้อพบว่าปลามีอาการเบื่ออาหาร ลำตัวสีเข้มขึ้นเล็กน้อย (mild hyperemia) บริเวณครีบหางวันถัดมาพบภาวะเลือดคั่งบริเวณลำตัวเป็นจุด วันที่สามพบเลือดคั่งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณโคนครีบ วันที่ห้าพบลำตัวสีเข้มขึ้นชัดเจนร่วมกับเลือดคั่ง วันที่เจ็ดจะว่ายน้ำผิดปกติไม่สามารถทรงตัวได้และหางกร่อน

บทความครั้งหน้ามาพูดถึงคุณสมบัติของเชื้อตัวนี้กันเล็กน้อยก่อนที่จะเข้ามาดูว่าเราพอจะควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อได้ยังไงนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

“How does disease spread and hurt our fish?”

Aeromonas hydrophila transmission occurs when fish are exposed to contaminated water or infected fish (direct contact with carrier fish). Feeding on infected fish can also cause disease. Bacteria can invade fish’s body through the mouth and wounds that are caused by trauma or ectoparasite.

After bacterial invasion, Aeromonas hydrophila is able to replicate quickly in gut and blood circulation. Then, blood system will carry throughout the body and this is what we call “systemic infection”. At the beginning, fish will start to lose its balance and start gasping for air. When disease progresses further, tail rot, fin rot, loss of scales, dropsy (scale edema), skin erosion and hemorrhage (bloody wound) will be visible. In severe cases, fish may exhibit ulcers or deep bloody wounds and abdominal extension due to accumulation of fluid inside abdominal cavity. This is caused by toxin produced by Aeromonas which damage host tissue, such as blood vessel, causing fluid leak. When examined the fish post mortem, you may see fluid in the abdominal space. Hemorrhage (bloody spots), inflammation and edema may also be presented on intestine, liver, ovary and spleen.

Incubation period varies between fish species, individual’s immunity, environment and season. Disease usually appears within 2-4 days after infection. Disease onset in experimental infection may be faster, about 8 hours to 2 days. In one study, fish (50-80 g) were injected with high concentration of Aeromonas hydrophila (1x10 8 CFU/ml) into the belly. On the first day, fish became lethargic, anorexia and mild hyperemia appeared at caudal fin. On the next day, bloody points appeared on the body. The next day, bloody points became more evidence, especially at the base of the fins. Irregular swimming, tail and fin rot were detected on the seventh day.

Next time, we will discuss in more detail about Aeromonas hydrophila and how to prevent them! See you next time.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)