โรคติดเชื้อในปลานิล : แอโรโมนาส 5
ReadyPlanet.com
โรคติดเชื้อในปลานิล : แอโรโมนาส 5

 

มาถึงตอนจบภาคแรกเชื้อแอโรโมนาสในซีรีย์โรคติดเชื้อในปลานิลกันแล้ว ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาโรคติดเชื้อแอโรโมนาสขึ้นในฟาร์ม

การเพาะเลี้ยงปลาในหลายๆ ประเทศเมื่อเกิดการระบาดของโรคภายในฟาร์ม อาจการพิจารณาควบคุมและรักษาโรคด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพ ซึ่งปัจจุบันปัญหาใหญ่ที่พบมากและบ่อยครั้งในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อในสัตว์ก็คือการเกิดภาวะที่ใช้ยาเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งมาจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพและมักพบการดื้อยาหลายชนิดพร้อมกัน การพัฒนาการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้ออาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนดื้อยาหรือการได้รับตัวระบุการดื้อยาจากเชื้อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ได้ขึ้นกับกลไกการดื้อต่อยาต้านจุลชีพในแต่ละชนิด สำหรับเชื้อแอโรโมนาส จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเชื้อ Aeromonas hydrophila ที่แยกได้จากปลานิลป่วยดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายกลุ่มส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลและเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพให้ถูกต้องจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์และมีการทดสอบความเหมาะสมของยาต้านจุลชีพต่อชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคก่อนนำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและป้องกันหรือลดปัญหาการเกิดภาวะเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลและเกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าการรอใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาโรค สำหรับการป้องกันโรคในปลานิลให้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสามารถแบ่งเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปลานิล เชื้อโรค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการให้ความสำคัญต่อการจัดการการเลี้ยงที่เหมาะสมครอบคลุมในปัจจัยทุกด้าน จะสามารถควบคุมปัจจัยทั้งสามให้อยู่ในความสมดุลได้และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดในฟาร์มได้รายละเอียดเคยเขียนไปแล้วในบทความชิ้นแรกๆ ของหมอนะคะ แต่จะทวนความจำสั้นๆ สรุปว่าต้องดูแลและจัดการสิ่งเหล่านี้ค่ะ

ปลานิล (host) คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี (genetically improved fish) สภาพร่างกาย (physical condition) สมบูรณืแข็งแรง คัดเลือกสายพันธุ์ปลอดโรค (specific pathogen-free) ให้วัคซีน (vaccination) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

เชื้อโรค (pathogen) ลดปริมาณของเชื้อโรคจำนวนของเชื้อที่มีชีวิต (viability) ในระบบการเลี้ยง เนื่องจากเชื้อ Aeromonas hydrophila เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งในดิน และน้ำจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดเชื้อดังกล่าวออกจากสิ่งแวดล้อมแต่การจัดการเพื่อลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมหรือในระบบการเลี้ยงจะช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคได้มีแผนเฝ้าระวังสุขภาพปลาควบคู่กับการตรวจคุณภาพน้ำ กกันโรค มีการจัดการด้านอาหารสดที่เหมาะสมเพื่อลดเชื้อโรคที่เข้ามาในระบบการเลี้ยง และอาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีการจัดการด้านสุขลักษณะของสถานที่ ผู้ปฏิบัติงาน บุคคลภายนอกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือเป็นพาหะนำโรค

สิ่งแวดล้อม (environment) มีการจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงมีปริมาณออกซิเจนพอเพียงสำหรับสัตว์น้ำตลอดการเลี้ยงมีการวางแผนการทำงานที่ไม่ทำให้ปลาเครียดเนื่องจากความเครียดโน้มนำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น มีการควบคุมอุณหภูมิในบ่อเลี้ยง โรคติดเชื้อแอโรโมนาสพบว่าปลาที่ติดเชื้อจะมีอัตราตายสูงตั้งแต่ 80% และในช่วงฤดูร้อนอาจพบการตายได้สูงถึง 100% อัตราความหนาแน่นในการเลี้ยง ต้องเหมาะสมมีการจัดการอาหารไม่ให้คุณภาพน้ำเสีย

ทั้งนี้ การป้องกันโรคในสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อใดก็ตาม ควรวางแผนการป้องกันโรคอย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ การป้องกันตลอดช่วงการผลิตและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมากกว่าเน้นการป้องกันหรือจัดการเฉพาะบางปัจจัยเนื่องจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในปลาได้นะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Infectious disease in tilapia: Aeromonas 5/chapter finale

Here come the final chapter of Aeromonas series.

“What can we do when Aeromonas infection occur?” In several countries, antibiotics were commonly used to control and treat the disease; however, we found that it didn’t work in many cases. This is because the infections were caused by antibiotics-resistance bacteria. In addition, these resistant bacteria do not withstand only one drug, most of the times, they can survive many types of antibiotics (This is called “multi-drugs resistance” bacteria).

How these bacteria become resistance? It was found that genes of these bacteria are mutated or the bacteria received resistance genes from other resistance bacteria.

There are many reports coming out about multi-drug resistance Aeromonas hydrophila in tilapia. This is one of the main causes of economic loss in tilapia farm. Therefore, selection of antibiotic should be done under supervision of veterinarian and individual antibiotic should be tested against particular bacteria before being used. This will make antibiotic most effective and prevent the development of drug-resistance bacteria. However, disease prevention is far more important than the use of perfect antibiotics.

There are 3 main principles of disease prevention: host (fish), pathogens (Aeromonas bacteria) and environment (water). If you can manage these 3 things, the risk of Aeromonas infection will be minimized. These are examples of how you can manage the 3 principles:

Host (fish/tilapia) Select good genetic fish such as genetically improved fish or specific pathogen-free fish. You may observe physical condition of the fish and discard those with abnormality. Use vaccine such as Streptococcal vaccine to prevent primary infection from Streptococcus bacteria which facilitate opportunistic infection from Aeromonas. Moreover, immunostimulant may be used.

Pathogen (Aeromonas bacteria) Aeromonas are opportunistic bacteria, commonly reside in soil and water. Therefore, you should try to reduce viability bacteria in your culture system by using chemical disinfectant or mechanical (such as UV or water filter). Be careful when fresh feeds are being used. Fresh feed can be a potential source of bacterial contamination. Maintain good hygiene of all equipment and personnel used in farm.

Environment (water) Maintain good water quality and provide sufficient oxygen for fish at all time during culture. Minimize stress in fish by minimize physical contacts that are needed to be perform on fish. Control temperature in culture pond. It was found that mortality rate of Aeromonas infection can reach 100% during summer. Overstocking and overfeeding of the fish should be avoided in order to prevent water quality deterioration.

Basically speaking, disease prevention is always far more important than disease treatment. By minimizing all the disease risk factors, it is the most effective way to keep the disease out of the system!

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)