วัคซีนสำหรับโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส
ReadyPlanet.com
วัคซีนสำหรับโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส

วันนี้จะเล่าถึงเรื่องวัคซีนสำหรับโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสักนิด หรือมีศัพท์บางคำที่ทำให้งง แต่ก็อยากให้ผู้อ่านได้พอผ่านตาคุ้นหูกันบ้างนะคะ

สำหรับกลไกการติดเชื้อไวรัสนั้น เมื่อสัตว์ติดเชื้อไวรัส (cell-associated virus) เชื้อจะเข้าไปยึดเกาะกับเซลล์เจ้าบ้าน แทรกตัวเข้าไปในเซลล์เพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นจึงออกจากเซลล์และติดไปยังเซลล์อื่นๆ ต่อไป ดังนั้นคุณสมบัติของวัคซีนป้องกันโรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในลักษณะดังกล่าว จะต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ (Cell-Mediated Immunity) เป็นหลัก โดยเฉพาะเซลล์ cytotoxic T cell (CTL), macrophage และ NK cell ที่ช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกนอกร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อและการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส รวมทั้งสร้างเซลล์ที่จดจำเชื้อโรคได้อย่างจำเพาะและยาวนาน เพื่อตอบสนองต่อการทำวัคซีนครั้งต่อไปหรือการติดเชื้อในอนาคต อย่างไรก็ตามระยะเวลาการคงอยู่ของภูมิคุ้มกันที่ได้จากการทำวัคซีนนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยทั้งจากตัวสัตว์เอง สิ่งแวดล้อม และชนิดของวัคซีนที่ใช้ วัคซีนสำหรับโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสที่ดี ควรมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

- เข้าไปสร้างแอนติเจนและเพิ่มจำนวนภายในเซลล์สัตว์ที่ได้รับวัคซีน

- เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T lymphocyte สามารถตรวจสอบแอนติเจนที่ได้จากวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- วัคซีนต้องกระตุ้นการทำงานของเซลล์กลุ่ม innate ที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนได้ดี โดยเซลล์กลุ่มนี้ มีบทบาทต่อการพัฒนาการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเนื่องจากเป็นเซลล์กลุ่มแรกๆ ที่พบกับแอนติเจนมีความสามารถในการจับแอนติเจนรับรู้รูปแบบหรือลักษณะทางโมเลกุลคร่าวๆ ของเชื้อ การรับรู้นี้มีผลในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

- วัคซีนที่ช่วยในการพัฒนาเม็ดเลือดขาวชนิด helper T lymphocyte ที่สร้างสารที่เรียกว่าไซโตคายน์ ในหลายๆแบบต่างๆ กันออกไปโดยสารไซโตคายน์มีบทบาทในการกระตุ้นการทำงานของ cytotoxic T cell (CTL) macrophage และ NK cell ที่ใช้ในการทำลายเชื้อไวรัสต่อไป

- นอกจากนี้ วัคซีนต้องกระตุ้นการสร้างสาร interferon type I ซึ่งเป็นไซโตคายน์สำคัญที่สร้างจากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสในช่วงแรกของการติดเชื้อ ฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ กระตุ้นให้เกิดภาวะต้านเชื้อไวรัส anti-viral state ในเซลล์ข้างเคียงกระตุ้นให้เพิ่มการทำงานของเซลล์เก็บกินเชื้อและทำลายเชื้อไวรัสอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของวัคซีนดังนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจด้านระบาดวิทยาของโรคในแต่ละพื้นที่ รู้สถานะสุขภาพของกลุ่มประชากรสัตว์ที่จะให้วัคซีนความพร้อมในการตอบสนองต่อการให้วัคซีนของสัตว์ เช่น อายุ ความพร้อมของระบบภูมิคุ้มกัน การวางแผนการให้วัคซีน ปริมาณภูมิคุ้มกันที่ได้รับการถ่ายทอดจากแม่ ความปลอดภัยทางชีวภาพและสภาพแวดล้อมในการจัดการ ประกอบกันด้วยเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เลือกชนิดของวัคซีนที่เหมาะสม

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Vaccine for viral diseases

Today’s topic might be a little difficult to understand and may contain some unfamiliar terms. But, by finishing this article, you may get some clear view of how vaccine works against viral diseases.

Generally, viral infection involves host cells. Once a virus enters the body, it will attach and invade host cell. The virus particles replicate in host cells and are released to invade neighboring cells. Therefore, vaccine for viral diseases should be able to stimulate immunity that involves cells (Cell-Mediated Immunity). Those immunities such as Cytotoxic T cell (CTL), macrophage and NK cell. These cells are responsible for eliminating virus infected cells and preventing viral replication. Similar to bacteria, virus infection also induces memory cell production, ready to response to the next invasion. Nevertheless, how long the memory cells last? It depends on several factors, involving host, environment and type of vaccine.

 

The ideal characteristics of viral vaccine such as:

- Be able to replicate and increase number of antigen inside the body.

- Easily recognized by T lymphocyte.

- Vaccine should efficiently activate innate immunity. Because innate immunity plays an important role in the activation of adaptive immunity.

- Stimulate helper T lymphocyte to produce various types of cytokines. Cytokines are signaling molecules responsible for immune cell stimulation, such as cytotoxic T cells, macrophages and NK cells.

- Stimulate the production of type I interferon (type one interferon) which is an important cytokine, produced by virus-infected cells. Type I interferon signal other cells surrounding those virus-infected cells to become anti-viral state which enhance phagocytic activity and virus elimination of immune cells.

These are some examples of good vaccine against viral diseases. In order to achieve successful vaccination, many other things should be considered, such as disease status of each area, herd immunity, health status of the animal, age, maternal immunity, biosecurity and management.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)