โรคติดเชื้อในปลานิล สเตรปโตคอคโคซิส 1
ReadyPlanet.com
โรคติดเชื้อในปลานิล สเตรปโตคอคโคซิส 1

โรคยอดฮิต ดั้งเดิมที่พบได้บ่อยสำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลของประเทศไทยและคงเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่กล่าวถึงในเพจนี้เลย ก็คือโรคสเตรปโตคอคโคซิส (Streptococcosis) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก ชื่อ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus spp.) ปลานิลที่ติดเชื้อชนิดนี้มักป่วยและตายอย่างเฉียบพลัน

จากรายงานการศึกษาโรคสเตรปโตคอคโคซิสยังเป็นปัญหาสำคัญต่อการผลิตปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มหลายชนิดทั่วโลกปลาที่ป่วยด้วยโรคนี้สามารถพบอัตราการตายสูงถึง 50-75% โดยเฉพาะในปลาชนิดที่มีความไวต่อโรค เช่น ปลานิลและปลากระพงขาว อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่พบอุบัติการณ์ของเชื้อสเตรปโตคอคคัสก่อโรคในปลานิลเพาะเลี้ยงสูงกว่าปลาชนิดอื่นๆ ที่เพาะเลี้ยง มีการศึกษาของต่างประเทศในปี 1996 เปรียบเทียบความไวของการเกิดโรคดังกล่าว ในปลาเพาะเลี้ยง 2 ชนิด คือ ปลานิล และ channel catfish (Ictalurus punctatus) ทดลองโดยการแช่ลูกปลาด้วยเชื้อสเตรปโตคอคคัสพบว่าหลังจากรับเชื้อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ปลานิลมีอาการและรอยโรคในระดับที่รุนแรงกว่า channel catfish การเกิดโรคนี้สามารถพบได้ในฟาร์มปลานิลชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลานิลแดง และปลานิลลูกผสม สำหรับประเทศไทยนั้นพบการระบาดของโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ในปลานิลที่เลี้ยงทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งปลากระพงขาวเพาะเลี้ยงทางภาคใต้ของประเทศ สามารถพบโรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสนี้ได้ตลอดระยะการผลิตปลานิลทั้งระยะปลานิลอนุบาล ปลารุ่น และปลาพ่อแม่พันธุ์

เชื้อเชื้อสเตรปโตคอคคัสที่ก่อโรคในปลาเขตน้ำอุ่น ได้แก่ Streptococcus agalactiae, Streptococcus iniae, Streptococcus dysgalactiae, Streptococcus ictaluri, Streptococcus parauberis, Lactococcus garvieae และ Enterococcus faecalis แต่เชื้อสเตรปโตคอคคัสชนิดที่มีรายงานการก่อโรคในปลานิลเพาะเลี้ยงประเทศไทย ได้แก่ Streptococcus agalactiae และ Streptococcus iniae โดยเชื้อ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อก่อโรคหลักและพบได้ในปลาป่วยด้วยโรคนี้จากทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่มีการเลี้ยงปลานิลเชื้อสเตรปโตคอคคัส พบได้ในสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์และพืช พบในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำและโคลนก้นบ่อบางครั้งปลาที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือมีรอยโรคซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคระบาดในฟาร์มได้ การแพร่กระจายเชื้อจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วถ้าปลาในแหล่งน้ำเดียวกันที่เลี้ยงนั้นกินปลาป่วยหรือปลาที่ติดเชื้อเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อได้ทางบาดแผลที่ผิวหนัง

สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ปลาหากมีเชื้อแฝง เช่น ปลาสดหรือปลาแช่แข็งอาจเป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อได้ในลักษณะของของเสียจากการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อปรุงอาหาร เช่นการถอดเกล็ด หนังปลา น้ำเสียจากการล้างโดยไม่ได้ผ่านความร้อนหรือการฆ่าเชื้อ เป็นต้น ทำให้เชื้อสามารถปนเปื้อนอยู่ในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติครั้งหน้ามารู้จักคุณสมบัติของเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสที่ก่อโรคนี้เพิ่มเติมกันนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Infectious disease in tilapia: Streptococcosis 1

The most common and the most famous disease in Thai’s tilapia farming cannot be nothing else but Streptococcosis. The disease caused by Gram-positive bacteria called Streptococcus spp. It is also a major problem in aquaculture industries all over the world. It’s often a cause of massive mortality in many species of freshwater and marine fish.

Mortality rate is usually around 50-75%, especially in those susceptible fish species such as tilapia and Asian sea bass. However, the incidence of Streptococcosis is highest in tilapia.

There was a study in 1996 comparing the severity of this disease between tilapia and channel catfish (Ictalurus punctatus)It was found that after a week ok bath-immersion with Streptococcus bacteria, tilapia was presenting more severe clinical signs than the catfish.

Streptococcosis can be found all types of tilapia, such as black tilapia, red tilapia and hybrid tilapia and all life stages, including fry, fingerling, grow-out and broodstock. In Thailand, Streptococcosis is reported in all tilapia-farming areas, as well as in Sea bass culture in the south. Streptococcus species that can be found in warm-water regions include Streptococcus agalactiae, Streptococcus iniae, Streptococcus dysgalactiae, Streptococcus ictaluri, Streptococcus parauberis, Lactococcus garvieae and Enterococcus faecalis.

In Thailand, Streptococcus agalactiae and Streptococcus iniae are the two species that cause problems, mostly Streptococcus agalactiae

Streptococcus bacteria are found in living things such as human, animals and plant, in environment such as water and sediment.

 

Sometimes, infected fish may not show any sign. This makes it harder to manage disease in farm. The disease spread fast, mostly by fish eating the dead or sick one. Bacteria can also enter a fish through skin abrasion. Fish products (fresh or frozen) can also be the sources of diseases because the bacteria may contaminate in waste from processing of these products (scale or skin removal).

Next time, we will talk about characteristic of this bacteria. Stay tune!

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)