โรคติดเชื้อในปลานิล สเตรปโตคอคโคซิส 4
ReadyPlanet.com
โรคติดเชื้อในปลานิล สเตรปโตคอคโคซิส 4

การรักษาปลาป่วยด้วยการให้ยาต้านจุลชีพเป็นวิธีที่อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ แต่การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรียในฟาร์มปลานิลมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของยาตกค้างในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาได้ การป้องกันโรคจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาโรค ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน คือ

1. การรักษาสภาพแวดล้อม และคุณภาพน้ำให้เหมาะสม ตรวจคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมหรือน้ำเสียจะทำให้ปลาเกิดโรคได้ ไม่ปล่อยปลาเลี้ยงหนาแน่นมากเกินไป ช่วยไม่ให้เกิดความเครียดซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลงและเกิดโรคได้ง่ายขึ้น

2. เมื่อพบปลาป่วย หรือสงสัยว่าอาจเกิดโรคภายในฟาร์มควรส่งตัวอย่างปลาไปตรวจหาสาเหตุการเกิดโรคซึ่งสามารถส่งได้ทั้งปลาป่วยที่ยังมีชีวิต หรือปลาตายใหม่ๆ ที่ยังไม่เน่าเสียทั้งนี้ ให้ใส่ตัวอย่างปลาในถุงพลาสติกมัดปากถุง แล้วแช่ในน้ำแข็ง ควรระวังไม่นำตัวอย่างปลาที่เน่าไปตรวจ เพราะว่าตรวจไม่ได้

3. หากมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียและจำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษา ควรทดสอบชนิดของยาต้านจุลชีพก่อนการเลือกใช้ยาโดยเลือกใช้ยาที่สามารถยับยั้งเชื้อได้เท่านั้นการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสมจะไม่สามารถรักษาโรคได้ เปลืองเงินร้ายที่สุดคือทำให้เกิดสภาพเชื้อแบคทีเรียดื้อยาภายในฟาร์มหากเกิดโรคต่อไปในอนาคตการใช้ยาในฟาร์มจะไม่ได้ผลอีกและไม่สามารถควบคุมโรคภายในฟาร์มได้

4. กรณีที่เกิดการโรคระบาดภายในฟาร์มควรมีการกำจัดซากปลาตายหรือปลาป่วยอย่าง รวดเร็วและถูกต้อง เช่น เผาเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคในฟาร์ม นอกจากนี้ต้องฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ภายในฟาร์มโดยการแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อมีการตากบ่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนการเลี้ยงปลาชุดต่อไป

นอกจากวิธีข้างต้นแล้วการใช้วัคซีนป้องกันโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลาชนิดต่างๆ เป็นวิธีที่พบได้ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยและยังพบการศึกษาเรื่องโปรไบโอติกกับการต้านเชื้อสเตรปโตคอคคัสอีกด้วยทั้งนี้ การเกิดโรคเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการผลิตปลานิลของประเทศไทย ดังนั้น การจัดมาตรการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพปฏิบัติภายในฟาร์มได้จริงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมศักยภาพการผลิตปลานิลของประเทศไทย

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Infectious disease in tilapia: Streptococcosis 4

Antibiotics (ABOs) may be used to treat bacterial infection (especially Streptococcus) and reduce the severity of clinical signs in fish. However, the use of ABOs may cause many problem, such as antibiotic residuals and antibiotic resistant bacteria.

Therefore, the best way to control disease is multidisciplinary practices that do not involve antibiotic use, including:

1. Keeping good environment:

Maintain good environment for fish. Fish are surrounded by water, so maintaining good water quality is necessary. Water quality should be tested routinely. Deteriorating water quality is one of the main causes of disease outbreak. Too high stocking density should not be used. This will help in reducing stress and preventing immunosuppression which lead to disease outbreak.

2. Removing sick fish:

When sick or suspected fish is detected, remove and send those fish to laboratory for disease diagnostic. Sample can be live fish or freshly dead one. Keep samples in clean plastic bag, tightly close the bag and store in ice. Rotten sample should not be sent!

3. Testing ABOs sensitivity:

If bacterial infection is a cause of disease and ABOs is needed. Always test antimicrobial susceptibility test every time before select ABOs. This will make sure that ABO that we are going to use will be able to kill the bacteria. The use of inappropriate ABO will not cure the disease, and waste money. More importantly, it will create Superbugs or antibiotic resistant bacteria and the use of ABOs will not be able to control bacterial infection anymore.

4. Managing outbreak:

In case of an outbreak, dispose dead and sick fish immediately. To prevent disease spread, use a proper way to dispose dead fish, such as burning. Disinfect all equipment using chemical disinfectants and dry ponds long enough before starting a new crop.

There are several additional ways to control Streptococcosis in farm such as vaccination and the use of probiotics. All these methods mentioned above should be applied together in order to achieve the most effective plan to minimize the risk of Streptococcosis and to improve the potential of tilapia production in Thailand.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)