ขั้นตอนการผสมเทียมในสัตว์
ReadyPlanet.com
ขั้นตอนการผสมเทียมในสัตว์

ขั้นตอนการผสมเทียมในสัตว์

คราวที่แล้วพูดเรื่องภาพรวมของการผสมเทียมในสัตว์ไปแล้ว ครั้งนี้จะมาเล่าถึงขั้นตอนการผสมเทียมในสัตว์กันต่ออย่างที่บอกไปว่ากว่าจะถึงขั้นที่นำน้ำเชื้อกับไข่มาผสมกันได้ต้องผ่านกระบวนการเตรียมการและตรวจสอบมากมาย ซึ่งกว่าจะได้มาซึ่งวิธีการก็จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติและนำมาใช้ได้จริงที่สุดโดยหลักการสำหรับขั้นตอนการผสมเทียม ก็จะเป็นไปตามนี้เลย 

 

1. การรีดเก็บน้ำเชื้อ แน่นอนว่าน้ำเชื้อเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญสำหรับการผสมเทียมดังนั้นต้องเลือกพ่อพันธุ์ที่ดีมารีดน้ำเชื้อเพื่อใช้งาน โดยดูจากประวัติต่างๆ อายุ ลักษณะภายนอก ความสมบูรณ์แข็งแรงของพ่อพันธุ์

ความสมบูรณ์เพศโดยสัตว์แต่ละชนิดก็จะมีเทคนิคและอุปกรณ์เฉพาะในการรีดน้ำเชื้อแตกต่างกัน สัตว์บางชนิดอาจจะต้องมีการกระตุ้นให้พ่อพันธุ์หลั่งน้ำเชื้อออกมา โดยส่วนใหญ่จะมีการฝึกให้พ่อพันธุ์คุ้นชินกับการรีดน้ำเชื้อไม่ตื่นตกใจขณะถูกรีดน้ำเชื้อซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งต่อตัวสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน เมื่อรีดน้ำเชื้อมาแล้วต้องบันทึกข้อมูลน้ำเชื้อที่ได้ รวมทั้งตรวจคุณภาพและคุณสมบัติต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำเชื้อที่รีดได้การเคลื่อนไหวของอสุจิ ปริมาณของอสุจิ ความแข็งแรงของตัวอสุจิ ความหนาแน่น อัตราส่วนอสุจิที่มีชีวิตและตาย เหล่านี้ต้องมีคุณภาพดี คือมีปริมาณ จำนวนตัว ความหนาแน่น ความแข็งแรง อสุจิมีชีวิตมากเพียงพอที่จะนำมาผสมเทียมต่อไปอย่างประสบผลสำเร็จ

2. การเก็บรักษาน้ำเชื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักรีดเก็บน้ำเชื้อมาก่อนแล้วจึงค่อยนำมาผสมเทียม อาจมีบางกรณีที่รีดเก็บน้ำเชื้อแล้วนำมาใช้ผสมเทียมทันทีขึ้นอยู่การวิธีการจัดการของแต่ละฟาร์ม โดยการรีดน้ำเชื้อมาเก็บรักษานั้นจำเป็นจะต้องผสมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงไปในน้ำเชื้อเพื่อเป็นสารอาหารสำหรับตัวอสุจิรักษาสภาพของน้ำเชื้อให้อยู่ในคุณภาพดีไม่มีเชื้ออื่นมาเพิ่มจำนวนซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของน้ำเชื้อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอสำหรับผสมในแม่พันธุ์ได้หลายตัวหรือผสมได้มากครั้งขึ้น เจือจางน้ำเชื้อให้ได้ปริมาณเชื้ออสุจิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเทียมน้ำยาเลี้ยงเชื้อที่ใช้มีหลายชนิด เช่น โซเดียมซิเตรท (Sodium citrate) ไข่แดง ยาต้านจุลชีพ เมื่อผสมเรียบร้อยแล้วก็จะแบ่งบรรจุในหลอดเล็กๆ หรือขวดเล็กๆ เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ มีตั้งแต่ 4-5 องศาเซลเซียส 15-20 องศาเซลเซียส และแช่แข็งน้ำเชื้อในอุณหภูมิติดลบซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาที่ใช้เก็บรักษา โดยถ้าเก็บไว้ที่ 4-5 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นานนับเดือน เก็บที่อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้ประมาณ 4-5 วัน กรณีที่นำน้ำเชื้อไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ ติดลบ (-)196 องศาเซลเซียส โดยเก็บแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวจะทำให้เก็บรักษาได้นานเป็นปี

3. การฉีดน้ำเชื้อ ขั้นตอนนี้เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของการผสมเทียมเมื่อเรามั่นใจว่าได้เตรียมน้ำเชื้อคุณภาพดีมาอย่างดีแล้วเราต้องเลือกแม่พันธุ์หรือเพศเมียที่จะนำมาผสมเทียมด้วยแม่พันธุ์ต้องอยู่ในช่วงอายุที่พร้อมรับการผสมพันธุ์ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์มีลักษณะดี สมบูรณ์ แข็งแรง มีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมสำหรับสัตว์ปศุสัตว์ทั่วไปต้องสังเกตว่าแม่พันธุ์หรือตัวเมียต้องแสดงอาการเป็นสัด เบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย ยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้หรือขึ้นทับอยู่ในช่วงระยะที่ไข่สุก ในขั้นตอนการฉีดน้ำเชื้อจะต้องนำน้ำเชื้อที่เก็บรักษาไว้มาปรับสภาพให้อยู่ในอุณหภูมิที่ปกติก่อน จากนั้นจึงสวมหลอดบรรจุน้ำเชื้อกับอุปกรณ์เฉพาะซึ่งแตกต่างกันตามแต่ละชนิดสัตว์ สอดเข้าไปทางช่องคลอดจนถึงปากมดลูกแล้วจึงฉีดน้ำเชื้อเข้าไปข้างในมดลูกเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิกันของอสุจิและไข่ ภายหลังจากการผสมเทียมแล้วจะต้องเป็นขั้นตอนที่ตรวจการตั้งท้องต่อไป

ที่กล่าวมานั้นเป็นการผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกายสำหรับสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เช่น ปลา กุ้ง หอย ก็จะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปอีก มาติดตามกันครั้งต่อไปนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)

อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Artificial insemination, step by step

Last time, we’ve mentioned about overall picture of artificial insemination (AI). This time, we will guide you through the procedure of AI, step by step. These techniques take many decades to develop and the researchers are still improving AI technique everyday. Procedures for AI include:

1. Semen collection This is an important step. Selection of male-brooders requires close attention by checking history of the brooder, age, appearance, health, and sexual maturation. Each animal species needs particular equipment and technique to obtain the semen. In some animals, male-brooder has to be trained for semen collection. The quality of collected semen must be checked, including volume, sperm motility, sperm concentration, sperm viability (percentage of live sperm). These parameters must be in acceptable condition before used.

2. Semen preservation In many instances, semen cannot be used right after the collection. That is when preservation techniques are required. Basically, semen extender is added to semen in order to provide nutrients, stabilize sperm, and increase semen volume so it can be used multiple times. There are many types of substances that are added into semen extender such as sodium citrate, egg yolk, and antibiotics. After semen are processed, they will be stored in low temperature. In 15-20 oC, semen can be kept for about 4-5 days while in 4-5 oC, it would last about a month. If you want to store them for a longer period of time, use the liquid nitrogen at -196 oC. As long as the liquid nitrogen is not running out, you can keep your frozen semen for years.

3. Semen insemination Beside selection of good quality male-brooder, selection of female-brooder is never less important. Same as male, good characteristic and sexually mature female should be selected. Artificial insemination can be performed only when females are in heat period. Ovulation will only occur when females show signs of heat such as anorexia, anxiety, standstill when being overlaid. Insemination requires a tool to be inserted into female’s reproductive organ. Then, semen is injected into uterus to fertilize with egg(s).

After AI is done, check for pregnancy is needed to be followed. However, these techniques that we explained are for internal fertilization. Next time, we will talk about animals with external fertilization such as fish, shrimp, and shellfish.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)