การผสมเทียมปลา
ReadyPlanet.com
การผสมเทียมปลา

 

การผสมเทียมปลา

อย่างที่เล่าให้ทราบในบทความครั้งก่อนนี้นั้น นอกจากสัตว์ที่จัดเป็นปศุสัตว์คือ สุกร กระบือ โค แพะ แกะที่มีการผสมเทียมโดยปฏิสนธิภายในร่างกายแล้ว ยังมีสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายอีกด้วย คือ สัตว์พวกปลา กุ้ง หอย แต่ที่พบว่าปฏิบัติกันทั่วไปมักจะเป็นปลา เช่น ปลานิล ปลายี่สก ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย ปลาดุก ในเรื่องของการผสมเทียมสัตว์น้ำ เทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อพ่อพันธุ์อาจยังไม่ดีและไม่แพร่หลายมากเ

ท่ากับในปศุสัตว์และเนื่องจากสัตว์น้ำนั้นมีความแตกต่างของสายพันธุ์อย่างมหาศาลต่างกับสัตว์บก จึงมักจะพบว่ามีการปฏิบัติที่หลากหลายบางชนิดของปลาผสมเทียมได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่บางครั้งกลับพบว่ายุ่งยากกว่ามากในส่วนของการผสมเทียมปลา ต้องมีการตรวจสุขภาพพ่อแม่พันธุ์เตรียมความพร้อมก่อนการผสมพันธุ์เช่นเดียวกับปศุสัตว์สำหรับขั้นตอนปฏิบัติก่อนการรีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์และรีดไข่ปลาจากแม่พันธุ์ต้องมีการกระตุ้นให้พ่อพันธุ์หลั่งน้ำเชื้อออกมาและกระตุ้นให้ไข่ของแม่พันธุ์ที่จะผสมนั้นสุกและพร้อมผสมพันธุ์ โดยการฉีดฮอร์โมนเข้าในตัวปลาฮอร์โมนที่มีการใช้ในการกระตุ้นดังกล่าว สามารถนำมาจากต่อมใต้สมองของปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ซึ่งการผสมเทียมในปลามีหลักการ ขั้นตอนสำคัญตามนี้เลยค่ะ ก็คือฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองของปลาชนิดเดียวกัน เข้าในปลาแม่พันธุ์เร่งให้ไข่สุกพร้อมผสม จากนั้นรีดไข่จากปลาแม่พันธุ์ รังไข่จะอยู่ในช่องท้องของปลานะคะถ้าผู้อ่านท่านใดชอบทานปลาน่าจะนึกกันออกบางครั้งทานปลาแล้วจะพบรังไข่ในช่องท้องที่มีไข่ปลาอัดแน่นอยู่ข้างใน จะต้องรีดไข่ปลาในรังไข่โดยบีบนวด รีดบริเวณช่องท้อง เพื่อให้ไข่ปลาหลุดออกจากรังไข่ โดยจะใช้ภาชนะรองรับเมื่อเสร็จสิ้นการรีดไข่แล้วให้เตรียมพ่อพันธุ์ที่จะรีดน้ำเชื้อจากนั้นรีดน้ำเชื้อออกมาจากพ่อพันธุ์ใส่ลงภาชนะรองรับที่มีไข่ปลาที่รีดไว้แล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการนำขนไก่อ่อน ๆ ที่สะอาดคนน้ำเชื้อให้ผสมกับไข่ ให้ทั่วถึงแล้วทิ้งไว้สักครู่หนึ่งจึงถ่ายของเหลวส่วนเกินออกจากภาชนะขั้นตอนสำคัญสุดท้าย คือการนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟักในบ่อหรือภาชนะที่เตรียมไว้ให้เจริญเป็นตัวอ่อนลูกปลา

อ่านดูแล้วจะเห็นว่าหลักการไม่ซับซ้อนเท่าของปศุสัตว์นะคะแต่ทางปฏิบัติยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องของพ่อแม่พันธุ์โรงเพาะฟักพอสมควรค่ะ เจอกันครั้งหน้านะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)

อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Artificial fertilization in fish

Unlike terrestrial animals that we’ve mentioned last time, fish, shrimp, and shellfish are fertilized externally. Artificial fertilization in fish is commonly performed in tilapia, carp, barb, striped catfish, and catfish.

Techniques on artificial fertilization and semen preservation in aquatic animals are not widely distributed as in livestock due to the fact that there is too much variation between species. The process in fish may look simple but in fact, it can be very complicated.

In fish, health of male and female brooders is needed to be checked before used as well. The process for artificial fertilization in fish composes of milt (semen) collection, and induce spawning using hormone from fish’s pituitary gland or synthetic hormones.

Briefly, hormones that involve in eggs development (Gonadotropin releasing hormone) is injected into female-brooder. Sometimes, such as in carp, pituitary gland extract of carp is used instead. Hormones will induce fully mature of the eggs for female to be ready to spawn. Eggs are striped by using abdominal massage. Eggs are striped first into a clean container, then milt is striped into the same container. In many cases, milt is collected the same way as eggs, but in some fish species such as catfish, milt is collected by excision. After mixing eggs and milt together, fertilized eggs are then incubated in a special instrument designed for specific fish species.

As we said, it may seem simple; however, there are much more in detail in the science of artificial fertilization in fish. Each species needs to use specific techniques that are develop for each species only.

Next time, we will guide you to in more detail about broodstock and hatchery management.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)