การตรวจประเมินสภาวะสุขภาพภายในฟาร์ม
ReadyPlanet.com
การตรวจประเมินสภาวะสุขภาพภายในฟาร์ม

       

รอบล่าสุดพูดถึงเรื่องการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำเพื่อตรวจโรคไปแล้ว ว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง และมีความจำเป็นยังไงที่จะต้องเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ ซึ่งการเก็บตัวอย่างส่งห้องแลปตรวจนี้นอกจากจะเป็นการตรวจหาสาเหตุของโรคแล้วยังสามารถใช้ตรวจประเมินสภาวะสุขภาพในฟาร์มได้อีกด้วย

สำหรับเรื่องการเฝ้าระวังการเกิดโรคในฟาร์มนอกจากจะมีการจัดการที่ดีแล้ว หากมีการจัดโปรแกรมเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพด้วยก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มีข้อมูลในการจัดการสุขภาพปลาในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์น้ำที่อยากจะเขียนถึงในวันนี้ก็คือ การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำเพื่อส่งตรวจตรวจประเมินสภาวะสุขภาพนั่นเอง

การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจในลักษณะประเมินสภาวะสุขภาพหรือสถานการณ์เกิดโรคในฟาร์ม ก็มีวิธีทำคล้ายกับการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจโรค แต่จะมีการกำหนดความถี่ในการเก็บตัวอย่างไว้สำหรับสำรวจ โดยทั่วไปจะทำการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี  อาจเก็บตัวอย่างประมาณ 30-150 ตัวอย่างต่อการตรวจแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความชุกของโรค ยกตัวอย่างตามตาราง (OIE, 2014)

 ปริมาณการสุ่มชักตัวอย่าง (sampling) จากการประมาณความชุกของโรค โดยสมมุติว่าวิธีตรวจมีความไวและความจำเพาะที่ 100%

นอกจากนี้ หากเป็นฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ควรตัวอย่างไข่จากแม่พันธุ์ด้วย สำหรับการเอาสัตว์น้ำจากแหล่งอื่นเข้าฟาร์มในระยะเวลา 2 ปีที่มีการประเมินสภาวะสุขภาพในฟาร์ม ต้องเป็นสัตว์ที่ได้รับการประเมินสุขภาพแล้วว่าสมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดโรคแล้วเท่านั้น จึงจะนำเข้าฟาร์มได้

หลังจากประเมินสภาวะสุขภาพสัตว์น้ำในฟาร์มเป็นเวลา 2 ปี และผลตรวจทางห้องแลปไม่พบโรคที่อยากจะเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจะสามารถระบุสภาพปลอดโรคของฟาร์มได้ ยกตัวอย่างโรคในกุ้ง เช่น โรคจุดขาว (White spot disease) โรคหัวเหลือง (Yellow head disease) โรคทอราซินโดรม หรือโรคทีเอส (Taura Syndrome, TS) และโรคในปลา เช่น โรคสเตรป โรค KHV เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะตรวจแล้วว่าฟาร์มปลอดจากโรคที่อยากเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพแล้วก็ควรดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) อย่างต่อเนื่องด้วยเพื่อรักษาสถานภาพปลอดโรคภายในฟาร์มควบคู่ไปด้วยนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 Health assessment for farm animals

         We have talked about how to collect samples for disease diagnosis in the previous topic. Laboratory diagnosis is not only for the disease confirmation but also for the assessment of the animal health in the farm.

            In addition to the disease prevention and control measures in the farm, surveillance program and health monitoring are also important. Health monitoring is an effective tool that gives you the information to be used for health management on the farm.

            So today, we will talk about one part of the health monitoring plan which is the sample collection for health assessment for farm animals.

             Sample collection for health assessment for farm animals is similar to the sample collection for disease diagnosis except for the numbers of sample collected and frequency of sample collection. Generally, a health check is performed twice a year for consecutively 2 years. A total of 30-150 samples are collected for each time, depending on the suspected prevalence for each disease. See table for an example (OIE, 2014).

Numbers of sampling, based on an estimate disease prevalence. Assume 1005 specificity and sensitivity of the test.

We have talked about how to collect samples for disease diagnosis in the previous topic. Laboratory diagnosis is not only for the disease confirmation but also for the assessment of the animal health in the farm.

            In addition to the disease prevention and control measures in the farm, surveillance program and health monitoring are also important. Health monitoring is an effective tool that gives you the information to be used for health management on the farm.

            So today, we will talk about one part of the health monitoring plan which is the sample collection for health assessment for farm animals.

             Sample collection for health assessment for farm animals is similar to the sample collection for disease diagnosis except for the numbers of sample collected and frequency of sample collection. Generally, a health check is performed twice a year for consecutively 2 years. A total of 30-150 samples are collected for each time, depending on the suspected prevalence for each disease. See table for an example (OIE, 2014).

Numbers of sampling, based on an estimate disease prevalence. Assume 1005 specificity and sensitivity of the test.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD

Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)