การบันทึกสุขภาพปลาในฟาร์ม
ReadyPlanet.com
การบันทึกสุขภาพปลาในฟาร์ม

        

สำหรับการตรวจประเมินสภาวะสุขภาพในฟาร์ม นอกจากจะมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจตามที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้วในบทความครั้งก่อนหน้านี้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเหมือนกันที่ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำต้องคำนึงถึง คือ เรื่องของประวัติ อาการที่พบ และการบันทึกสุขภาพปลาในฟาร์ม

การบันทึกสุขภาพปลาในฟาร์มจะเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นในฟาร์ม เมื่อเกิดโรคระบาดในฟาร์มนอกจากจะมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจแล้ว จำเป็นจะต้องรวบรวมข้อมูลประวัติต่างๆ ทั้งประวัติการเลี้ยง การจัดการ และประวัติสุขภาพเพื่อให้ห้องปฏิบัติการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใช้เป็นข้อมูลพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการรักษา ควบคุม และป้องกันโรคต่อไป

นอกจากนี้ หากมีสัตวแพทย์หรือนักวิชาการประมง หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เข้ามาสืบสวนโรคที่เกิดขึ้นในฟาร์ม จะต้องมีการซักประวัติ (History taking) ทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การบันทึกสุขภาพปลาในฟาร์มจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจาก การซักประวัติเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำในตอนเริ่มต้นของการสืบสวนโรคและตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุดก่อนที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ของสาเหตุการเกิดโรค ใช้ประกอบกับการวินิจฉัยโรคโดยพิจารณาร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และยังช่วยในการพิจารณา ตัดสินใจจัดลำดับความสำคัญของการจัดการในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไข ลด กำจัด หรือควบคุมปัญหาโรคในฟาร์ม

การเก็บบันทึกประวัติหรือซักประวัติควรมีข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลี้ยงและสุขภาพของสัตว์น้ำให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น

-          ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของปลาที่เลี้ยง ลักษณะการเลี้ยง เป็นการเลี้ยงชนิดเดียวหรือร่วมกับปลา หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น

-          ประเภทบ่อเลี้ยง เช่น บ่อดิน กระชัง บ่อปูน

-          ความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง

-          ชนิดของปลาที่ป่วย

-          อายุ /ขนาด /ระยะเวลาที่เลี้ยงปลา

-          ปริมาณของปลาที่แสดงอาการป่วย อัตราการตาย

-          การจัดการต่างๆ ที่สำคัญต่อสุขภาพปลา เช่น การให้อาหาร การเปลี่ยนถ่ายน้ำ การตรวจคุณภาพน้ำ

-          ชนิดของระบบการเลี้ยง เลี้ยงแบบปิด หรือเปิด

-          อาการ ความผิดปกติที่พบ เช่น ว่ายลอยหัว กินอาหารลดลง

-          การจัดการฟาร์มที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติในช่วงที่พบปัญหา เช่น การนำปลาชุดใหม่เข้ามาในระบบการเลี้ยง

-          ประวัติการจัดการรักษาก่อนหน้า

 

ข้อมูลที่รวบรวมจากบันทึกหรือการซักประวัติ จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยง สัตวแพทย์ นักวิชาการประมงหรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่สามารถใช้ประเมินเบื้องต้นได้ว่าปัญหาที่พบในฟาร์ม มีลักษณะเป็นปัญหาแบบเรื้อรัง (chronic) หรือเฉียบพลัน (acute) กรณีที่เป็นปัญหาเรื้อรังจะสังเกตพบว่าปลามักแสดงอาการป่วยอยู่ระยะเวลาหนึ่ง หรือบางครั้งอาจนานหลายสัปดาห์ ยกตัวอย่างอาการที่ควรสังเกตและบันทึกและแจ้งเมื่อถูกซักประวัติ เช่น กินอาหารลดลง ว่ายน้ำผิดปกติ ผอม สีของลำตัวที่เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณเมือกที่เกาะตามลำตัว ขนาดปลาที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันของปลาในฝูงเดียวกัน สำหรับกรณีที่เป็นปัญหาเฉียบพลันมักพบความสูญเสียแบบฉับพลัน มีการป่วยหรือตายภายใน 2-3 วัน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ หรือได้รับสารพิษ  ดังนั้น ผู้เลี้ยงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านสุขภาพของปลาควรหมั่นสังเกตลักษณะ พฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง และจดบันทึกประวัติ ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับสุขภาพปลาไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดการสุขภาพปลากรณีพบโรคในฟาร์ม หรือยังสามารถนำมาใช้เฝ้าระวังสภาวะสุขภาพของปลาในฟาร์มได้ต่อไปอีกด้วย

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)