การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์ม: การตัดซี่เหงือก
ReadyPlanet.com
การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์ม: การตัดซี่เหงือก

            

ยังติดค้างกันอยู่อีกหนึ่งวิธีสำหรับการตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์มเพื่อวินิจฉัยโรคติดปรสิตภายนอก ที่เขียนให้อ่านกันไปแล้วก็มีเรื่องของการขูดผิวหนังและตัดครีบ อีกวิธีที่เหลือนั้นเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นั่นคือ วิธีการตัดซี่เหงือก (gill biopsy) นั่นเอง อ่านแบบนี้แล้วบางท่านจะคิดว่ามันน่ากลัว ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างน่ากลัวและทำอันตรายต่อตัวปลาพอสมควร ดังนั้น ส่วนใหญ่เราจะไม่ใช้วิธีนี้ในการตรวจปลาสวยงามตามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ หรือปลาที่เลี้ยงไว้ดูเล่นสวยงานในบ้านกัน แต่มักจะใช้วิธีนี้กับปลาที่เลี้ยงในฟาร์มมากกว่า

วิธีการตัดซี่เหงือกนี้ เป็นวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายกรณีโดยจะนำเนื้อเยื่อเหงือกที่ตัดมาตรวจดูสิ่งผิดปกติ ปรสิตภายนอกหรือสิ่งแปลกปลอมมาส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ มีปรสิตภายนอกหลายชนิดที่สามารถพบได้บริเวณผิวหนัง และสามารถพบได้ที่บริเวณซี่เหงือกเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างและสภาพของเหงือกด้วย อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าวิธีนี้ค่อนข้างน่ากลัวและทำให้เกิดอันตรายต่อตัวปลา และเมื่อตรวจเสร็จปลาอาจไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ดังนั้นบ่อยครั้งที่มักจะใช้วิธีตรวจนี้กับปลาที่ถูกทำการุณยฆาต/ปราณีฆาตแล้ว หรือปลาที่เพิ่งตายใหม่ๆ

ก่อนที่จะเริ่มต้นการตัดซี่เหงือกผู้ตรวจจะต้องสังเกตลักษณะภายนอกตั้งแต่แผ่นปิดเหงือก (operculum) ว่ามีความผิดปกติอย่างไร จากนั้นเปิดแผ่นปิดเหงือกเพื่อตรวจดูลักษณะ สภาพภายนอกที่พบ ซี่เหงือก การเรียงตัว สีของเหงือก โดยปกติเหงือกปลาควรมีสีแดงสด ไม่ซีดจาง ไม่เป็นสีแทน สีน้ำตาล ลักษณะเหงือกที่มีสีซีดจางอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปลามีภาวะเลือดจางเกิดขึ้น หากพบสีน้ำตาลหรือสีแทนอาจมีสาเหตุจากการที่ปลาขาดก๊าซออกซิเจน ออกซิเจนไม่เพียงพอสำหรับระบบการไหลเวียนของเลือด

การสังเกตสีของเหงือกที่เปลี่ยนแปลงไปมีข้อควรระวังและต้องคำนึงถึงด้วยโดยเฉพาะกรณีที่ผู้ตรวจไม่ได้เป็นผู้ที่ทำการุณยฆาต/ปราณีฆาตปลาเอง แต่เป็นการรับตัวอย่างปลาที่ตายแล้วมาตรวจ จำเป็นจะต้องซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเก็บตัวอย่าง วิธีที่ทำให้ปลาตาย เนื่องจากภายหลังจากที่ปลาตายจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อสีของเหงือกได้เกิดขึ้น เหงือกปลาที่มีสีซีดนั้นอาจเกิดจากกรณีของภาวะเลือดไหลย้อนกลับได้ในปลาที่ตายแล้ว

การตัดซี่เหงือกเพื่อนำมาตรวจ โดยหลักการของวิธีทำนั้นมีความคล้ายคลึงกับการตัดครีบเพื่อตรวจ โดยผู้ตรวจจะใช้กรรไกรปลายแหลม สอดเข้าไปใต้แผ่นปิดเหงือก ให้ปลายกรรไกรอยู่ในช่องเหงือก ดันเปิดแผ่นเหงือกออก ให้สามารถมองเห็นซี่เหงือกได้ จากนั้นสังเกตลักษณะของซี่เหงือกและกระดูกเหงือก สอดปลายกรรไกรไประหว่างซี่เหงือก ตัดส่วนปลายของซี่เหงือกนำมาวางลงบนสไลด์ที่หยดน้ำหรือน้ำเกลือที่เตรียมไว้แล้ว จากนั้นจึงนำแผ่นปิดสไลด์ มาปิดบนตัวอย่างซี่เหงือก กดเบาๆ ให้ตัวอย่างซี่เหงือกแผ่ออก แล้วนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ทันที การตรวจโดยทั่วไปจะไม่ตัดกระดูกเหงือกเพราะส่วนของกระดูกอ่อนจะมีความหนา ทำให้มีผลต่อการส่องตรวจได้

 

ความผิดปกติที่พบได้จากตัวอย่างซี่เหงือกที่ตัดออกมานั้น มีอยู่หลายแบบ เช่น บางครั้งอาจพบเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวบวมโตขึ้นมา หรือมีการเจริญของซี่เหงือกหรือเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวเพิ่มขึ้นมาได้ ความหนาตัวของเซลล์เยื่อบุผิวนี้มีผลทำให้ช่องว่างระหว่างซี่เหงือก แขนงต่างๆ ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนของเหงือกลดลง บางครั้งสามารถพบปรสิตภายนอก รวมทั้งเชื้อราเกาะอยู่ที่เหงือกได้ซึ่งมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและมีผลต่อสุขภาวะโดยรวมของปลาเช่นเดียวกัน วิธีการตัดซี่เหงือกเพื่อตรวจนี้เป็นวิธีผู้ตรวจมีโอกาสพบสิ่งผิดปกติและปรสิตภายนอกในปลาป่วยได้มากกว่าวิธีการขูดผิวหนังหรือวิธีตัดครีบ  แต่ในบางครั้งหากตรวจปลาปกติที่แข็งแรงอาจพบปรสิตในบริเวณผิวหนัง แต่ไม่พบที่ซี่เหงือกเนื่องจากปลาสุขภาพปกติ แข็งแรง ปรสิตภายนอกจึงไม่สามารถเข้ามาสู่ตัวปลาได้ ดังนั้น การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์มจำเป็นต้องพิจารณาการใช้วิธีตรวจหลายๆ วิธีร่วมกันเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและประเมินสภาวะสุขภาพสัตว์ในฟาร์ม

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)