การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์ม: การตรวจอุจจาระ
ReadyPlanet.com
การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์ม: การตรวจอุจจาระ

             

การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์มเพื่อวินิจฉัยโรค ได้เล่ากันไปครบถ้วนแล้ว ทั้ง 3 วิธี ก็คือ การขูดผิวหนัง ตัดครีบ ตัดซี่เหงือก การตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นดังกล่าวมักใช้สำหรับการตรวจปรสิตภายนอก แต่ยังคงมีวิธีการตรวจสุขภาพปลาเบื้องต้นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ภายในฟาร์ม ใช้สำหรับการตรวจปรสิตภายในร่างกายปลา ตรวจหาพยาธิ ไข่พยาธิในระบบทางเดินอาหารของปลา คือ วิธีการตรวจอุจจาระ หรือ Fecal examination นั่นเอง ผู้อ่านบางท่านอ่านถึงตรงบรรทัดนี้แล้วอาจแปลกใจว่า มีการตรวจสุขภาพในลักษณะแบบนี้ในปลาด้วย เหมือนกับที่ตรวจในคนเลย ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ในสัตว์เกือบทุกชนิดเลยนะคะ ซึ่งรวมถึง กุ้งก็สามารถใช้วิธีนี้เพื่อตรวจดูสภาวะสุขภาพทั่วไปได้ด้วย

การตรวจอุจจาระใช้ในการตรวจระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาพยาธิและไข่พยาธิ โดยเฉพาะโปรโตซัวและพยาธิตัวกลม  วิธีการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากปลาที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตรวจวินิจฉัยอย่างมาก  ผู้ตรวจไม่ควรเก็บตัวอย่างอุจจาระที่ปลาถ่ายทิ้งไว้ในน้ำ ในภาชนะที่ใส่ปลา หรือเก็บอุจจาระจากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เนื่องจากตัวอย่างอุจจาระประเภทนี้ ไม่เหมาะสมสำหรับการนำมาตรวจ เพราะมีโอกาสที่จะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือโปรโตซัวที่อยู่ในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ ทำให้ผลการวินิฉัยผิดพลาดไป นอกจากนี้จะมีผลต่อการตรวจหาพยาธิและไข่พยาธิด้วย โดยอุจจาระอาจละลายในน้ำทำให้โอกาสที่จะตรวจพบพยาธิหรือไข่พยาธิน้อยลงไป หรือไม่สามารถพบได้เลย ดังนั้น การเก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยวิธีการเก็บที่ถูกต้องและเหมาะสมมีผลอย่างมากต่อการวินิจฉัยโรค

 

การเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาพยาธิและไข่พยาธิ ควรเก็บตัวอย่างอุจจาระจากตัวปลา ผู้ตรวจควรเก็บจากลำไส้ใหญ่ปลา โดยสามารถใช้เทคนิควิธีการวางยาสลบเพื่อจับบังคับปลาให้สงบนิ่งก่อน แล้วจึงค่อยดำเนินการรีดอุจจาระออกมาทางรูทวาร โดยใช้วิธีการบีบคลึงช่องท้องของปลาอย่างเบามือเพื่อไม่ให้ปลาบาดเจ็บ ในบางครั้งที่ดำเนินการวางยาสลบปลาอาจพบได้ว่าอุจจาระจะไหลออกมาจากรูทวารเองโดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการบีบคลึงช่องท้องเลย เมื่อได้ตัวอย่างอุจจาระมาแล้วให้เตรียมตัวอย่างอุจจาระสำหรับนำมาส่องตรวจหาความผิดปกติ โดยใช้วิธีการแบบเดียวกับที่ได้เคยอธิบายไปแล้วในการตรวจผิวหนัง ครีบ และซี่เหงือก ซึ่งการตรวจระบบทางเดินอาหารสามารถพบปรสิต พยาธิและไข่พยาธิ โปรโตซัว ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ได้ การตรวจอุจจาระก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการตรวจตัวอย่างปลาเบื้องต้นในฟาร์มที่จะช่วยประเมินสุขภาวะของปลาในฟาร์มได้นะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 




  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)