PM 2.5 โรคหัวใจและหลอดเลือด เมนูปลา เกี่ยวกันยังไง: 1
ReadyPlanet.com
PM 2.5 โรคหัวใจและหลอดเลือด เมนูปลา เกี่ยวกันยังไง: 1

                      

             

คลายเครียดจากเรื่องกฎหมายขอพักสมองเบาๆ กับเรื่องใกล้ตัวบ้าง วันนี้จะมาคุยเรื่อง PM2.5 ค่ะ คงไม่ต้องอธิบายมากมายว่า PM2.5 คืออะไรเพราะตั้งแต่ช่วงต้นปีเรื่อยมาจนถึงช่วงนี้คนไทยตื่นตัวกันมากเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5 ทีวีหลายช่อง รวมทั้งสื่อ Social ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ PM2.5 สำหรับชาวฟาร์มอย่างเราฟังข้อมูลเกี่ยวกับ PM2.5 แล้วก็ตื่นตัวที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกันมากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากปัญหา PM2.5 แล้วยังมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่พบได้ประจำเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การกินอาหาร การพักผ่อน ความเครียดจากการทำงาน

สำหรับเรื่อง PM2.5 กรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่ในปัจจุบัน สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะการอักเสบในหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง รวมไปถึงโรคหัวใจขาดเลือดได้ ที่เล่ามานี้ล้วนเป็นผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายอย่าง สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนกันยายน 2561 พบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ คิดง่ายๆ เป็นชั่วโมงละ 2 คนเลยทีเดียว และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทั่วไปคุณหมอมักจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ถ้าใครพอจะนึกออกเรื่องลดหวาน เค็ม ทางกระทรวงสาธารณสุขเพิ่งเปิดตัวช้อนตักเครื่องปรุงแบบที่ช่วยลดหวาน เค็ม ได้ ลดอาหารมัน อาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง งดสูบบุหรี่ และออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เลือกทานเมนูจากเนื้อปลาก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน ข้อมูลจากงานวิจัยของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า ผู้หญิงที่ทานเนื้อปลาอย่างสม่ำเสมอมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ทานหรือทานน้อย และยิ่งพบความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีค่าต่ำมากในผู้หญิงที่มีทานเนื้อปลาเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขน่าสนใจจากการสำรวจผู้หญิงที่ใช้บริการสุขภาพในโครงการ Nurses’ Health Study จำนวน 84,688 คน เป็นเวลา 16 ปี พบว่าผู้หญิงที่ทานปลา 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำมากๆ โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการทานปลาเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค และความเสี่ยงยิ่งลดน้อยลงในกลุ่มผู้หญิงที่ทานปลา 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลงานวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ค่อนข้างน้อยในประเทศที่คนนิยมทานปลา เช่น ญี่ปุ่น อลาสกา (สหรัฐอเมริกา) และกรีนแลนด์ ความลับของเนื้อปลาคืออะไร ครั้งหน้ามาต่อกันค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 



  

 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)