การจัดการโรคข้ามพรมแดนและโรคติดต่ออุบัติใหม่
ReadyPlanet.com
การจัดการโรคข้ามพรมแดนและโรคติดต่ออุบัติใหม่

   

   ครั้งก่อนที่เล่าข่าวไปเกี่ยวกับเรื่องงานสัมมนาวิชาการการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำขององค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ Global Conference on Aquatic Animal Health: Collaboration, sustainability: our future ก็ได้ไปนั่งดูคลิปงานสัมมนาย้อนหลัง และพบว่ามีเรื่องน่าสนใจหลายๆ เรื่องที่น่าจะเอามาเขียนและแบ่งปันให้ทราบกัน แต่สำหรับบทความครั้งนี้ขอฉีกแนวจากวงการสัตว์น้ำสักนิด เพราะอยากเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ข่าวปศุสัตว์ช่วงนี้มากๆ ถ้าใครตามข่าวหรือช่วงนี้ได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ จะสังเกตว่าทุกประเทศแม้แต่บ้านเราเองเข้มงวดเรื่องการนำเข้าสัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้เข้มงวดกับการตรวจการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะสุกร (เชื้อคงทนในสภาพแวดล้อมสูง)

หลายเดือนที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความสูญเสียกับสุกรลุกลามไปถึงระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ African Swine Fever (ASF) นั่นเอง ทำให้ต้องมีการตรวจสอบการลักลอบและการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด เพราะมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสจะติดมากับสินค้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์และมีติดต่อมายังสุกรที่เลี้ยงในประเทศได้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โรคนี้พบได้เฉพาะในสุกรและไม่ติดต่อสู่คน ทำให้เกิดอัตราการตายสูงในสุกร แต่จัดเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงทางอาหารในระดับโลก

สำหรับประเทศไทย ยังไม่พบรายงานการระบาดของโรคนี้ในประเทศ ทั้งๆ ที่รอบบ้านเรา เพื่อนบ้านหลายประเทศพบการระบาดของโรคและสูญเสียกันมากแล้ว จากข่าวการระบาดของโรคในหลายประเทศที่นำเสนอผ่านสื่อ ฟาร์มที่มีการระบาดของโรคจำเป็นจะต้องทำลายสุกรที่ติดเชื้อและสงสัยว่าติดเชื้อไปหลายแสนตัว ปิดฟาร์ม ปิดโรงฆ่าสัตว์ โรงแปรรูปสุกร เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค และยังมีมาตรการหลายๆ อย่างที่ต้องดำเนินการเพื่อควบคุมโรคและต้องเป็นมาตรการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก เพื่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดความสูญเสียเป็นวงกว้าง โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยการป้องกันโรค วางแผนการเฝ้าระวังโรค การจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ในการผลิตสุกร การตามสอบ (traceability) การควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร (movement control) การทำลายสัตว์ (stamping out) ทำลายซากสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อน นอกจากนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายๆ

พื้นที่ทั่วโลก และสร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดนี้ให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวไม่ให้นำเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ข้ามพรมแดนไปยังประเทศต่างๆ

สำหรับการจัดการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยนั้น มีการดำเนินการอย่างเข้มแข็ง มีแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อธุกิจสุกรในบ้านเรา มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค มีการจัดสร้างโรงทำลายซากสัตว์ติดเชื้อเพื่อการทำลายอย่างถูกวิธี ไม่ให้ตกค้างและแพร่กระจายรวมทั้งไม่ให้มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หากเกิดการระบาดของโรคมีการคาดการณ์ตัวเลขความเสียหายจะสูงมากกว่า 70,000 ล้านบาท และยังมีผลต่อเนื่องไปถึงการส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เนื้อสุกรมีชีวิต และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมหาศาล เช่น ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจเวชภัณฑ์ และยังต้องเสียเงินไปกับการเยียวยา ช่วยเหลืออาชีพและความเป็นอยู่เกษตรกรอีกมากซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใช้ระยะเวลายาวนานในการแก้ไข

ถ้าประเทศไทยป้องกันโรคได้อย่างเข้มแข็งก็สามารถสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าปลอดโรคนี้ไปยังประเทศอื่นที่ขาดแคลนสุกรได้ เช่น จีน เวียดนาม และกัมพูชา ดังนั้นในการจัดการโรคข้ามพรมแดนและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องควรใส่ใจข่าวสารความเป็นไปของโลกปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างความรู้และวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)