การพบกันของปลาทะเลกับไมโครพลาสติก
ReadyPlanet.com
การพบกันของปลาทะเลกับไมโครพลาสติก

     

   พักสมอง คั่นด้วยบทความอื่นกันบ้างนอกเหนือจากเรื่องในฟาร์ม เรื่องรอบตัวเราก็น่าสนใจและสำคัญไม่แพ้กับเรื่องในฟาร์มเลย หากใครได้ติดตามข่าวด้านสิ่งแวดล้อมจะพอทราบปัญหาที่เกี่ยวกับทะเลอยู่บ้าง ซึ่งปัจจุบันปัญหาขยะที่มนุษย์ทิ้งลงสู่ท้องทะเลนั้นกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติและส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศทางทะเล ตามที่ปรากฎในหน้าสื่อทั่วไปว่าพบการตายของวาฬและเต่าทะเลจากการที่พวกมันกินขยะ โดยเฉพาะขยะจำพวกพลาสติกเข้าไปในร่างกาย ไม่เพียงแต่วาฬและเต่าทะเลเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบยังมีสัตว์อื่นที่ตกเป็นเหยื่อจากปัญหาขยะนี้ด้วย

จากงานวิจัยสำรวจเนื้อและอวัยวะภายในของปลาทะเลในประเทศอังกฤษ โดย A.L. Lusher ในปี 2012 เป็นที่น่าตกใจมากเพราะพบว่ามากกว่า 36.5% ของปลาที่ทำการสำรวจ มีพลาสติกขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า “ไมโครพลาสติก” อยู่ในระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะ ลำไส้ ของปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาที่อาศัยบริเวณผิวน้ำถึงกลางน้ำ เช่น ปลาทู ปลาค็อด และปลาแมคเคอเรล รวมทั้งปลาที่หากินบนพื้นท้องทะเลหรืออยู่เหนือพื้นท้องทะเลเล็กน้อย เช่น ปลากระเบน และปลาตาเดียว โดยที่มาของขยะพลาสติกในท้องทะเลเหล่านี้มากกว่า 80% นั้น ล้วนมาจากขยะซึ่งถูกทิ้งจากผู้คนบนบกนี่แหละ

สำหรับในประเทศไทยมีข่าวว่าทีมวิจัยของ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังทำการสำรวจปลาทะเลในน่านน้ำทะเลไทยด้วยเช่นกัน โดยเบื้องต้นพบว่าปลาจำนวนมากมีไมโครพลาสติกสะสมอยู่ในอวัยวะภายในและระบบย่อยอาหาร สะท้อนถึงปัญหาขยะในท้องทะเลไทยว่ากำลังอยู่ในสภาะวะน่ากังวลและควรเร่งแก้ไขไม่แตกต่างกับทะเลที่อื่นของโลกเลย แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดจากนักวิชาการถึงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค ถ้าเกิดว่าได้รับประทานปลาทะเลที่มีไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย โดยในเบื้องต้นอาจารย์หมอนันทริกา ชันซื่อ ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคว่าควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องในของปลาเนื่องจากเป็นส่วนที่พบไมโครพลาสติกในปริมาณสูงที่สุด การบริโภคในส่วนของเนื้อปลาน่าจะปลอดภัยกว่า เนื่องจากพบไมโครพลาสติกในระดับต่ำ และหากท่านผู้อ่านมีความกังวลใจในเรื่องการบริโภคปลาทะเล การหันมาบริโภคปลาน้ำจืดที่ได้รับการเลี้ยงในฟาร์มที่มีมาตรฐาน เช่น ปลานิล ปลาทับทิม และปลาดุก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงไมโครพลาสติก

และยังสามารถบริโภคเนื้อปลาได้อย่างมั่นใจอีกด้วย แต่การเลี่ยงมาทานเนื้อปลาน้ำจืดแทนปลาทะเลก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาข้างต้นนะคะ ทางที่ดีเราควรหันมาตระหนักและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจังมากกว่า พกถุงผ้า แก้วน้ำดื่ม ลดการใช้พลาสติกหรือนำมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ลดการสร้างขยะที่ย่อยสลายยาก เพื่อความยั่งยืนและมั่นคงด้านอาหาร ทรัพยากร และความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลกนี้ค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)