การเกิดโรคสัตว์น้ำและการระบาด
ReadyPlanet.com
การเกิดโรคสัตว์น้ำและการระบาด

 

 

       

    ในบทความคราวก่อนที่พูดถึงเรื่องโรค Tilapia Lake Virus (TiLV) และการดำเนินการในบริบทโลก เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ???

บทความวันนี้อาจค่อนข้างเข้าใจยากหน่อยแต่อยากให้ลองอ่านแล้วนึกภาพตามกันดูก่อนค่ะ

บทเรียนสำคัญที่ได้จากกรณีที่เกิดโรคอุบัติใหม่ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เลี้ยงและหน่วยงานที่รับผิดชอบมีการพัฒนาการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับการดำเนินการด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำในอนาคต

ถ้าพิจารณาลักษณะการเกิดของโรคสัตว์น้ำและการระบาดในมุมมองด้านความปลอดภัยทางชีวภาพจะเห็นว่าพบการเกิดขึ้นของโรคใหม่บ่อยขึ้น ควบคุมและกำจัดเชื้อก่อโรคยากขึ้น มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว และผลกระทบของโรคต่อระบบการเลี้ยงเกิดขึ้นนาน

โดยปัจจัยสำคัญสำหรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ก็คือ เชื้อก่อโรคพัฒนาตัวเองให้ก่อโรครุนแรงขึ้นและสามารถย้ายตัวเองไปก่อโรคได้ในสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ประกอบกับการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำในปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้น เช่น ไข่ ลูกพันธุ์มีขนาดเล็ก ทั้งที่นำมาเพาะเลี้ยงต่อและที่นำมาบริโภคแค่ขนส่งไปกับรถ กับเครื่องบิน ถ้าหากว่าไม่มีระบบหรือวิธีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อในการขนส่งสัตว์น้ำก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น และนอกจากนี้ การควบคุมและกำจัดเชื้อโรคในรูปแบบการเลี้ยงปัจจุบันทำได้ยากถ้าเลี้ยงในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การแพร่ระบาดของเชื้อผ่านทางน้ำเกิดขึ้นได้ง่าย มีสัตว์น้ำที่สามารถนำพาเชื้อโรคได้ระหว่างฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เลี้ยงในระบบเปิด เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นรวมกันก็จะทำให้เกิดความเสียหายในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ยาวนานมากขึ้น แก้ไขยากและปัญหาไม่จบเสียที

ยิ่งในกรณีที่เกิดโรคใหม่ จะพบว่าเรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคอยู่น้อยมาก ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคนั้นจำเป็นมากสำหรับใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงและดำเนินมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพให้สอดคล้องตามการประเมิน ดังนั้น หนึ่งในสิ่งที่ต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมปัญหาก็คือ การรวบรวมข้อมูล การแบ่งปันข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อที่จะนำข้อมูลเท่าที่มี ณ ขณะนั้นมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว และนำไปกำหนดมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพเบื้องต้นเพื่อควบคุมแก้ไขปัญหาโรคระบาดในฟาร์มก่อน

อย่างไรก็ตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโรคระบาด เช่น การห้ามเคลื่อนย้าย การประกาศการเกิดโรค มักจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การจัดการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดโรคต้องดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อควบคุมและลดการเกิดโรค และมีการสื่อสารความเสี่ยงกับบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมทำให้เกิดความเข้าใจในมาตรการการดำเนินงาน สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ฟาร์มและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสุขอนามัยสัตว์น้ำควรมีการวางแผนฉุกเฉินล่วงหน้า มีการจัดทำข้อแนะนำ แนวทางในการตอบสนองอัตโนมัติกรณีพบโรคใหม่ๆ มีการรวบรวมข้อมูล เฝ้าระวังการเกิดโรคที่พบได้ทั่วไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมรับมือกับโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดได้ในอนาคต

เรื่องของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของฟาร์มเท่านั้นแต่เป็นเรื่องสำคัญที่มีหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องหลายระดับเลยค่ะ ไว้ครั้งหน้ามาเล่าสู่กันฟังค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)