ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับต่างๆ
ReadyPlanet.com
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับต่างๆ

  

 

       

   จากครั้งก่อนก็ได้ทราบกันแล้วว่าโรคอุบัติใหม่ โรคระบาดเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่สำคัญต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในทุกระดับได้ เริ่มตั้งแต่เกษตรกรรายเล็ก ผู้ประกอบการขนาดกลาง บริษัทขนาดใหญ่จนถึงเศรษฐกิจของประเทศ

โรคระบาดหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นมีผลกระทบเกิดขึ้นมาหลากหลาย อาจมีตั้งแต่พบการตายอย่างรุนแรงและเฉียบพลันจนถึงการตายแบบเรื้อรังไปเรื่อยๆ ในฟาร์มไม่หยุด หรือทำให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตช้า ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ biosecurity เป็นระบบหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์นำมาใช้เพื่อป้องกันและจัดการโรค มีหลายหน่วยงานให้นิยามของคำนี้ไว้ด้วย เช่น องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้นิยามไว้ว่า biosecurity หมายถึง ชุดของการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงของการนำเข้าเชื้อก่อโรค การเกิดขึ้นของเชื้อก่อโรค และการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคภายในฝูงสัตว์น้ำ สำหรับ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้ความหมายว่าเป็นวิธีการเชิงกลยุทธ์ แบบบูรณาการที่ครอบคลุมไปถึงนโยบายและกรอบการกำกับดูแล (รวมถึงเครื่องมือและกิจกรรม) สำหรับการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ มนุษย์ สัตว์ สุขอนามัยพืช และสุขภาพ รวมทั้งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

ซึ่งการจัดการขั้นสูงเพื่อพัฒนาให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพของสัตว์น้ำนั้น เป็นการจัดการความเสี่ยงเชื้อที่ก่อโรคในสัตว์น้ำผ่านกลยุทธ์ แผนการจัดการและมาตรการตั้งแต่ระดับฟาร์ม ระดับบริษัท ระดับประเทศและระหว่างประเทศโดยอาศัยความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ถ้าลองยกตัวอย่างแผนการจัดการและมาตรการจะเห็นว่า

-          ระดับระหว่างประเทศ มีการกำหนดมาตรฐาน ข้อตกลง แนวปฏิบัติที่เป็นสากลจากหน่วยงานระดับระหว่างประเทศ เช่น OIE, FAO, NACA (องค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติและแปซิฟิกหรือ Network of Aquaculture Centres in Asia-Pacific) โดยควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งแบบแช่แข็งและแปรรูป การจัดการน้ำในการขนส่ง เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเชื้อก่อโรคซึ่งเกิดขึ้นผ่านทางการค้าสัตว์น้ำระหว่างประเทศ ทำให้มีการรักษาสถานะปลอดโรค หรือสถานะสุขภาพของสัตว์ในภาพรวมระดับระหว่างประเทศ ภูมิภาค

-          ระดับชาติ มีการกำหนดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศและสามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อป้องกันโรค ลดการนำเข้าของเชื้อก่อโรค ลดการแพร่กระจายเชื้อในประเทศ ป้องกันการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำที่ติดเชื้อโรค ข้ามพรมแดน มีระบบการเฝ้าระวังโรคที่กำหนดให้ตรวจเฝ้าระวังหาเชื้อโรค มีห้องปฏิบัติการอ้างอิงเพื่อการวินิจฉัยโรคที่เชื่อถือได้ มีการใช้ยาอย่างถูกต้องและสมเหตุผลโดยสัตวแพทย์ มีการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์เพื่อความคล่องตัวในการจัดการและมีการจัดทำระบบคอมพาร์ตเมนต์ มีการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์สำหรับการเคลื่อนย้ายของสัตว์ทั้งภายในประเทศและการนำเข้า มีการรายงานการระบาดของโรค มีแผนการตอบสนองฉุกเฉินและแผนฉุกเฉิน มีข้อกำหนดการไม่อนุญาตให้พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำบางประเภท

-          ระดับฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยง มีการนำความรู้เรื่องการจัดการโรคสัตว์ เชื้อโรคและสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงไปใช้เพื่อ ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดโรค ลดความสูญเสียในฟาร์ม สำหรับการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระดับฟาร์มต้องพิจารณากำหนดกลยุทธ์ แผนการหรือมาตรการที่แตกต่างกันในแต่ละฟาร์ม เนื่องจากต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลระบบการเลี้ยงที่แต่ละฟาร์มใช้และเชื้อก่อโรคประจำพื้นที่ โดยลักษณะทางพันธุกรรมของพ่อแม่พันธุ์และสถานะสุขภาพก็มีความสำคัญการเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จด้วย

เมื่อเกิดโรคขึ้นการตัดสินใจที่จะทำลายสัตว์ทิ้งหรือเลือกที่จะควบคุมโรคต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่างประกอบการตัดสินใจ ต้องคำนึงถึงลกระทบทางเศรษฐกิจ ระดับความรุนแรงของโรค ระยะของการเลี้ยง ชนิดของเชื้อโรค โดยผู้เกี่ยวข้องทุกระดับทั้งระหว่างประเทศ ชาติ และฟาร์มเพาะเลี้ยงควรต้องมีส่วนร่วมกันทำงานและพิจารณาความเหมาะสมทั้งในแง่ของความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรค

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)