เรียนรู้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการผลิตปศุสัตว์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ReadyPlanet.com
เรียนรู้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการผลิตปศุสัตว์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

     

  จากบทความที่แล้ว เรารู้ว่ามาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องถูกนำไปใช้ในทุกระดับ ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติและระดับฟาร์มจึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่จะต้องทำงานร่วมกันตั้งแต่ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงไปจนถึงหน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยสัตว์ของโลก

สำหรับการเลี้ยงและผลิตปศุสัตว์มีการดำเนินมาตรการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพหรือ biosecurity system มานานแล้ว วันนี้มาเล่าคร่าวๆ ว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในระบบการผลิตปศุสัตว์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

 

ในระดับฟาร์มปศุสัตว์

-          ต้องรู้สถานการณ์โรค

ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าฟาร์มมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง รู้ว่าโรคที่พบได้บ่อยครั้งในพื้นที่มีโรคอะไร จำเป็นต้องทำวัคซีนหรือไม่ ใช้วีคซีนป้องกันโรคใดแบบไหน และมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่กำหนดก็ควรเป็นมาตรการที่ตอบโจทย์โรคที่อยู่ในข่ายที่ต้องระวัง มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับฟาร์มช่วยป้องกันการระบาดของโรคเข้าฟาร์มได้

-          มีการจัดการฝูงสัตว์

การนำสัตว์ใหม่เข้ามาเลี้ยงในฟาร์มหรือรวมฝูงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำในการดำเนินงานฟาร์ม แต่จะต้องระวังอย่างมากเนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคในฟาร์ม ควรจัดหาและทราบแหล่งที่มารวมถึงสถานะทางสุขภาพสุขอนามัยของสัตว์ที่จะนำเข้าฟาร์มด้วย

-          มีการจัดการด้านอาหาร

การจัดหาและการเก็บรักษาอาหารมีความสำคัญ ต้องใช้อาหารที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทราบแหล่งที่มา และมีการเก็บรักษาที่ป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะเข้ามากัดแทะภาชนะหรือถุงที่บรรจุอาหารได้

-          มาตรการป้องกันความเสี่ยงจากภายนอก

ความเสี่ยงอื่น ๆ จากภายนอกที่สามารถพบได้ เช่น การแพร่ของเชื้อโรคจากคน ยานพาหนะ รถขนของ รถเข็น อาหารและวัสดุอื่น ๆ และการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์พาหะ เช่น สัตว์ป่า หนู นกป่า สามารถจัดการได้โดยมีรั้วรอบพื้นที่เลี้ยง หรือรอบฟาร์ม มีการกำหนดมาตรการควบคุมการเข้าออกของคน ยานพาหนะ และมีการดำเนินมาตรการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะ การจัดการที่ดี การควบคุมและป้องกันการสัมผัสโดยตรงหรือโดยอ้อมระหว่างสัตว์ในฟาร์ม กับ สัตว์พาหะ/สัตว์ป่า/สัตว์นอกฟาร์มสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้

-          สุขอนามัยและสุขลักษณะที่ดีเพื่อการป้องกันโรค

มีกระบวนการทำงานที่ช่วยรักษาสุขอนามัยและสุขลักษณะ เพื่อสร้างนิสัยที่ดีในการทำงานซึ่งส่งผลต่อการป้องกันโรค เช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค มีอ่างน้ำยาฆาเชื้อสำหรับจุ่มรองเท้าที่ทางเข้าโรงเรือน มีน้ำยาฆาเชื้อและบริเวณสำหรับทำความสะอาดอุกรณ์ มีการเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์มและเปลี่ยนเป็นรองเท้าบูทที่ใช้ในฟาร์ม ต้องมีนโยบายที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงาน มีการอบรม ให้รางวัลผู้ที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

 

 

 

ในระดับองค์กรและสมาคม

-          มีแผนการร่วมมือระหว่างฟาร์มและองค์กร/สมาคม เพื่อให้ฟาร์มมีการนำเข้าสัตว์ที่ทราบสถานะของโรค ได้สัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง เช่น พ่อแม่พันธุ์ปลอดโรค สัตว์ที่มีพันธุกรรมต้านทานโรค

-          มีแผนการควบคุม/กำจัดโรค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ว่าสามารถควบคุมและกำจัดได้ ทำวัคซีน

-          มีการเพิ่มระดับของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การจัดทำระบบ Compartment ในการเลี้ยงไก่เนื้อ

-          มีผู้ประสานงานภายในพื้นที่หรือภูมิภาค ทำหน้าประสานงานกับฟาร์มและหน่วยงานภาครัฐในการควบคุมหรือกำจัดโรค

-          ร่วมมือกับภาครัฐในการควบคุมโรคที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและระดับฟาร์ม

-          ร่วมกับภาครัฐในการให้ข้อมูลเพื่อกำหนดนโยบายการนำเข้าที่มีผลต่อสถานะสุขภาพสัตว์ในประเทศที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ OIE

 

 

 

ในระดับรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ

-          มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงสินค้าปศุสัตว์ทั้งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่จะนำเข้า เพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการควบคุมการนำเข้า แผนการควบคุม/กำจัดโรคหรือเชื้อก่อโรค

-          เป็นหน่วยงานที่ต้องเป็นผู้นำในการควบคุมและกำจัดโรคสัตว์สู่คน หรือโรคที่มีผลกระทบสำคัญทางเศรษฐกิจ

-          มีการจัดทำข้อมูลและรายงานสถานะของโรคระบาดในประเทศ

-          มีการกำหนดมาตรการในภาวะฉุกเฉิน เพื่อจัดการกับการระบาดของโรคที่สำคัญ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ

 

มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพนั้นสามารถทำได้ทั้งในปศุสัตว์และสัตว์น้ำ และมีความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้ง 2 ภาคส่วนการผลิต การดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพนั้นไม่ซับซ้อน แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นจะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน สร้างแรงจูงใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร เพื่อให้เกิดระบบที่มั่นคงและยืนยาวซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้ำต่อไป

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)