ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง: ประโยชน์/ต้นทุน (1)
ReadyPlanet.com
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง: ประโยชน์/ต้นทุน (1)

      

  การระบาดของโรคและการสูญเสียลูกกุ้งในโรงเพาะฟัก ทำให้เกิดการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง แนวคิดเรื่องของการนำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งมีมานานพอสมควร ในการเพาะเลี้ยงกุ้งมีการใช้มาตรการป้องกันการเกิดโรคในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่ามาตรการป้องกันดังกล่าวจัดเป็นการทำงานตามหลักการของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพทำให้มั่นใจได้ว่ามีการป้องกันเชื้อโรคออกจากระบบการเลี้ยง ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่อื่นๆ และป้องกันเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบการเพาะเลี้ยง

การจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้งจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ในการประชุมวิชาการขององค์การสุขภาพสัตว์โลกมีประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีประโยชน์และมีต้นทุนอย่างไรบ้าง ลองพิจารณากันดูนะคะ

ประโยชน์ของการนำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้ในโรงเพาะฟักกุ้ง

-          เปิดตลาดสินค้า มีตลาดที่ต้องการซื้อลูกกุ้งที่มาจากโรงเพาะฟักที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

-          ลูกกุ้งในโรงเพาะฟักมีอัตรารอดสูงขึ้น

-          เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นและลูกกุ้งมีคุณภาพดีขึ้น

-          ผลผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักเพิ่มมากขึ้น

-          FCR ดีขึ้น

-          การรักษาโรคลดลง

-          ต้นทุนการผลิตลดลง

ปัญหาที่พบบ่อยในการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้ในโรงเพาะฟักกุ้ง คือ

-          บางฟาร์มไม่ได้นำหลักการของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพไปใช้อย่างสมบูรณ์ เต็มรูปแบบ เนื่องจาก

o   มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ต้องมีอุปกรณ์เพียงพอ มีบุคลกรที่มีความรู้เรื่องระบบ รู้เรื่องการใช้สารเคมี เป็นต้น

o   โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้ออำนวยให้ทำระบบแบบสมบูรณ์ได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงห้องปฏิบัติการได้ ขาดนักวิชาการ

o   ขาดความรู้ในการจัดทำเอกสาร หลักฐาน การบันทึกข้อมูล

o   ขาดความรู้ว่าหากจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพแล้วจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบอย่างไร

-     ถึงแม้จะมีการจัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพแล้วก็ยังมีความเสี่ยงที่จะพบการระบาดของโรคในฟาร์มหรือโรงเพาะฟัก เนื่องจากขาดความรู้ ขาดการฝึกอบรม ไม่มีการตรวจสอบภายในกระบวนดำเนินงาน ไม่มีการปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เป็นปัจจุบัน

-          เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมความปลอดภัยทางชีวภาพนั้นใช้งานได้จริงต้องมี “biosecurity assurance” หรือ การประกันความปลอดภัยทางชีวภาพ

ในการดำเนินงานในโรงเพาะฟักมีจุดเสี่ยงอยู่หลายจุดที่สามารถนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในระบบหรือแพร่กระจายเชื้อไปในระบบการเพาะเลี้ยงกุ้งได้ เช่น น้ำที่ใช้ในการเลี้ยง การบำบัดน้ำเสีย การจัดเตรียมการเลี้ยง บ่อเลี้ยง

แหล่งน้ำการบำบัดน้ำ คุณภาพของพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ความสะอาดและคุณภาพอาหารสดที่ใช้ ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ การตรวจสอบติดตามการดำเนินงานฟาร์มในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐาน การควบคุมคน สัตว์ ยานพาหนะ เข้าสู่ระบบการเลี้ยง เข้าสู่ฟาร์ม เท่าที่อ่านมาจนถึงตอนนี้ก็พอจะรู้บ้างแล้วว่าเรื่องของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้งยังมีอีกมากจะขออนุญาตไปเล่าต่อในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการของระบบและต้นทุนในบทความถัดไปค่ะ

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)