ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง: ประโยชน์/ต้นทุน (2)
ReadyPlanet.com
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง: ประโยชน์/ต้นทุน (2)

       

  มาต่อกันจากบทความก่อนหน้าค่ะ เรื่องของกระบวนการความปลอดภัยทางชีวภาพในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง เรื่องเด่นๆ ต้องมีกระบวนการอะไรบ้างตามนี้เลย

1. ต้องมีการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ต้องระวังและการเฝ้าระวังโรคจากแหล่งที่เชื่อถืออ้างอิงได้ เช่น

-          เจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจหน้าที่ (Competent authorities) องค์กร สมาคม องค์กรระหว่างประเทศ

-          เอกสารทางวิชาการหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรค

-           รายงานผลการสำรวจ เฝ้าระวังโรคในสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ หรือฟาร์มในพื้นที่ต่างๆ

2. โรงเพาะฟักลูกกุ้งต้องมีการจัดทำเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือ SOP ยกตัวอย่างขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น ขั้นตอนการเตรียมน้ำสำหรับเพาะเลี้ยง ขั้นตอนการเตรียมอาหาร ขั้นตอนการเลี้ยง larva ต้องมีการควบคุมคุณภาพของ PL จนบรรจุขาย มีการจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนการทำงาน และต้องมั่นใจว่าการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเป็นไปตามเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน

3. ต้องมีการเตรียมน้ำ/คุณภาพน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง เตรียมระบบบำบัดน้ำก่อนปล่อยออกนอกฟาร์มให้เหมาะสมตามเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้น โดยมีการตรวจสอบการทำงานของระบบที่มีอยู่ ตรวจเชื้อก่อโรค ตรวจสารเคมีและสารตกค้างตามความเหมาะสมและความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของระบบ

4. มีการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องรู้ล่วงหน้า บันทึกผลการตรวจสอบ การวิเคราะห์ตรวจสอบ และมีการรายงานให้ผู้จัดการฟาร์มหรือผู้รับผิดชอบทราบทันทีหากพบว่ามีความบกพร่องของการปฏิบัติงานเกิดขึ้นเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา มีการติดตามอย่างต่อเนื่องว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้วตามที่รายงาน โดยต้องดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมพร้อมให้คำอธิบายและให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไข อาจกำหนดบทลงโทษเพื่อใช้เป็นมาตรการปรับปรุงการปฏิบัติ มีการจัดทำสรุปรวบรวมเหตุการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาปรับปรุงระบบ ทบทวนเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานต่อไปรวมทั้งพัฒนาการฝึกอบรมบุคลากรในฟาร์มและและวิธีการแก้ไขปัญหา

กระบวนการเด่นๆ ที่กล่าวมาในระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมีการป้องกัน การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน มีประเด็นเรื่องต้นทุนมาเกี่ยวข้อง และกิจกรรมที่เป็นต้นทุนก็มีหลายส่วน เช่น

-          ต้องมีโครงสร้างฟาร์มที่เอื้ออำนวยต่อการจัดทำระบบ

-          มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเหมาะสมกับงานและความรู้ความสามารถ

-     มีห้องปฏิบัติการหรือสามารถเข้าถึงห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจเชื้อก่อโรคได้ เพื่อตรวจสอบสถานะของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่

-          มีการวิเคราะห์และระบุโรคที่ควรต้องเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ

-          มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบเตรียมน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย

จะเห็นว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายสำคัญจะอยู่ที่ห้องปฏิบัติการ และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจพิจารณาประสานขอความร่วมมือในการทำงานกับหน่วยงานที่มีความพร้อม เช่น มหาวิทยาลัย สถาบัน หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ หรือผู้ประกอบการอาจร่วมทุนกันจัดทำห้องปฏิบัติการขึ้นมาเพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ค่ะ 

 

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับสภาพการเลี้ยงในโลกยุคปัจจุบัน และทั่วโลกให้ความสำคัญกันเพิ่มมากขึ้นอย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เหนือกว่าระบบนี้ยังมีเรื่องของการจัดทำ Compartment ในฟาร์ม ซึ่งซับซ้อนกว่านี้มากค่ะ ไว้โอกาสหน้าจะเล่าสู่กันฟังค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)