ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มปลานิล: การพัฒนาสายพันธุ์
ReadyPlanet.com
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มปลานิล: การพัฒนาสายพันธุ์

        

  อย่างที่รู้ๆกันว่าปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่มีการเพาะเลี้ยงมากในประเทศไทย ถึงแม้ปลานิลจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาแต่การผลิตและเพาะเลี้ยงปลานิลในปัจจุบันมีการเลี้ยงแพร่หลายไปกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ปลานิลจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีการเลี้ยงในฟาร์มมากเป็นอันดับสอง รองจากปลาคาร์พ

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์เป็นการคัดเลือกลักษณะที่ดีของสัตว์ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเพื่อนำมาเพาะเลี้ยง เช่น ต้องการให้โตเร็ว ต้องการให้มีผลผลิตสูง หรือทนทานต่อเชื้อก่อโรค ทนสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือทนต่อการเลี้ยงในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ ทนต่อความเค็ม เป็นต้น การปรับปรุงพันธุกรรมในปลานิลเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 1988 (พ.ศ.2531) และนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้วหลายสายพันธุ์

สำหรับปลานิลชนิดที่มีการเลี้ยงแพร่หลาย ยกตัวอย่างเช่น Oreochromis niloticus หรือ Nile tilapia (เลี้ยงมากในประเทศไทย) และ O. mossambicus หรือ Mozambique tilapia ต่อมาก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ไปหลากหลายชนิด เช่น O. niloticus ใน Asia (ปลานิลกิฟท์ หรือ GIFT strain มาจาก Genetically Improved Farmed Tilapia) O. niloticus ในอียิปต์ Egypt (Abbassa strain) O. niloticus ในกาห์น่า (Akosombo strain)

ปลานิลเป็นปลาที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และค่อนข้างทนต่อการติดเชื้อ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลมีสภาพการเลี้ยงที่แตกต่างไป เป็นการเลี้ยงอย่างหนาแน่นในรูปแบบอุตสาหกรรมจึงทำให้สามารถพบการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น หากไม่มีการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae เชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila เชื้อไวรัส Tilapia iridovirus เชื้อไวรัสทีไอแอลวี (Tilapia Lake Virus,  TiLV) และโรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome, EUS) เมื่อพบการระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้นและเกิดความสูญเสียมากขึ้น ทำให้ฟาร์มต่างๆ เริ่มสนใจเรื่องการควบคุมและป้องกันโรครวมทั้งระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Biosecurity system นั่นเอง

จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้เล่าไปแล้วว่าการจะนำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องมีการดำเนินการของระบบที่สอดคล้องกันในทุกระดับ คือ ระดับฟาร์ม ระดับโรงเพาะฟัก ระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ

เมื่อพิจารณาถึงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในแง่ของการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลแล้ว การควบคุมคุณภาพของปลานิลและการขายปลานิลที่พัฒนาสายพันธุ์แล้วออกไปในหลายๆ ประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญมากในภาพรวมของความปลอดภัยทางชีวภาพ

นอกเหนือจากการพัฒนาสายพันธุ์ที่เน้นเรื่องการเจริญเติบโตเท่านั้น ในการพัฒนาและขายพันธุ์ปลานิลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพโดยรวม ฟาร์มควรต้องมีระบบการรับรองลูกพันธุ์  ระบบการคัดกรองโรคในพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์โดยเฉพาะเชื้อโรคที่สำคัญ มีการจัดทำพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์ปลอดโรค (SPF หรือ specific pathogen free) เพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ ในการขายลูกพันธุ์ปลานิลควรต้องดำเนินการตามมาตรฐานสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ OIE เช่น มีใบรับรองสุขภาพ (health certification) ทำตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการกักกันโรคก่อนเข้าพื้นที่เลี้ยง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำข้ามแดนเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดการค้าและเคลื่อนย้ายสัตว์ที่มีความปลอดภัย

สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมุ่งเน้นไปที่การคิดค้นวัคซีน การฉีดวัคซีนให้สัตว์น้ำ ฉีดวัคซีนให้พ่อแม่พันธุ์ ลูกพันธุ์เพื่อป้องกันโรคที่เฉพาะเจาะจงพร้อมกับมีโปรแกรมการพัฒนาสายพันธุ์ระยะยาวที่เน้นให้เกิดการต้านทานโรคด้วย

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)