การพัฒนาสายพันธุ์ต้านทานโรค: โรคติดเชื้อไวรัสจุดขาวหรือ White Spot Syndrome Virus ในกุ้งกุลาดำ
ReadyPlanet.com
การพัฒนาสายพันธุ์ต้านทานโรค: โรคติดเชื้อไวรัสจุดขาวหรือ White Spot Syndrome Virus ในกุ้งกุลาดำ

         

    โรคจุดขาว (White Spot Disease, WSD) เป็นหนึ่งในโรคสำคัญในกุ้งที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส White Spot Syndrome Virus เป็นโรคกุ้งที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดทั่วโลกในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาโรคนี้ทำให้กุ้งมีอัตราการตายสูงถึง 100% พบการติดเชื้อได้ในกุ้งหลายชนิด แพร่เชื้อได้ทั้งในรูปแบบที่ผ่านทางน้ำ แพร่ผ่านทางแม่สู่ลูก และกุ้งกินกุ้งที่ติดเชื้อ

 

แม้ว่าปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และฟาร์มเลี้ยงกุ้งหลายแห่งจะมีความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคจุดขาวนี้ แต่ก็ยังพิสูจน์หรือวินิจฉัยโรคได้ยาก และยากที่จะคาดเดาได้ว่ายังมีเชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ในบ่อเลี้ยงหรือไม่ และยังคงพบว่าโรคจุดขาวก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง

วิธีหนึ่งที่น่าสนใจในการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ และเป็นวิธีที่มีงานวิจัยอยู่แพร่หลาย คือ การคัดเลือกพันธุ์และการพัฒนาพันธุ์ของสายพันธุ์ต้านทานโรคจุดขาวในกุ้งกุลาดำ หรือ Penaeus monodon วิธีนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งต่อไปโดยมีการทดลองคัดเลือกกุ้งที่ทนโรคนำมาผสมพันธุ์กันและทดลองทำให้กุ้งติดเชื้อไวรัสเพื่อดูความทนและต้านทานโรค คัดเลือกกุ้งที่รอดชีวิตมาพัฒนาพันธุ์ต่อ ทำการคัดเลือกแบบนี้หลายๆ ครั้งจนมั่นใจร่วมกับการตรวจสอบหาลัษณะพันธุกรรมที่บ่งชี้ว่าเกี่ยวข้องกับความต้านทานโรค แล้วนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์

การคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์โดยอาศัยวิธีทางพันธุศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญมากในการจัดการโรคกุ้ง เนื่องจากบางครั้งการใช้วิธีการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิมสำหรับการคัดเลือกกุ้งที่มีความต้านทานโรคทำได้ยาก ต้องนำมาทดสอบซ้ำด้วยการทดลองให้เชื้อไวรัสเพื่อดูว่ายังต้านทานโรคหรือไม่ วิธีทดลองให้เชื้อไวรัสนี้มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ยุ่งยากในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นที่ที่ใช้ทดลองการพัฒนาสายพันธุ์ ต้องมีมาตรการในการจัดการและทำลายเชื้อโรคในระหว่างการทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดเลือกจากพันธุกรรมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์กุ้ง เพราะช่วยให้สามารถแยกแยะระหว่างกุ้งที่ต้านทานโรค และกุ้งที่ไวต่อการเกิดโรคได้โดยไม่ต้องทดลองให้เชื้อไวรัสในกุ้ง

อย่างไรก็ตาม การผลิตกุ้งที่ทนทานต่อเชื้อก่อโรค เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาโรคติดเชื้อในฟาร์มเท่านั้น จำเป็นจะต้องมีการจัดการอื่นๆ ที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพ มีการดูและคุณภาพน้ำ และอาหารที่ใช้เลี้ยง มีการป้องกันโรคเข้าและออกจากฟาร์ม มีการจัดทำแผนความปลอดภัยทางชีวภาพในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ในผู้เลี้ยงบางรายอาจพิจารณาดำเนินการตามระบบคอมพาร์ทเมนท์ที่เป็นการยกะดับของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้นไปอีก เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันโรคในฟาร์มเลี้ยงกุ้งค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)