การใช้โปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้ง: สิ่งแวดล้อม
ReadyPlanet.com
การใช้โปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้ง: สิ่งแวดล้อม

            

 

    ช่วงนี้กระแสรักสิ่งแวดล้อมมาแรงมาก หลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่และมีการรณรงค์หลายๆ อย่างเพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการขยะที่ถูกวิธีเพื่อจะได้นำกลับไปใช้ซ้ำ หรือใช้ใหม่ กระตุ้นการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น ลดการสร้างขยะที่ย่อยสลายยาก อย่างเช่น รณรงค์ให้แยกขยะ ลดการใช้พลาสติก ลดการใช้แก้พลาสติก เลิกใช้หลอดพลาสติก พกถุงผ้าไปซื้อของ กระแสรักสิ่งแวดล้อมและให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในชีวิตประจำวันของเราเท่านั้น

ในวงการการเลี้ยงปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งกุ้งเองก็ไม่น้อยหน้า มีการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเหมือนกันนะคะ ซึ่งหมอเองไปบังเอิญค้นเจองานวิจัยน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้โปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นงานที่กำหนดจะตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการชื่อดังเดือนมกราคมปีหน้า 2020 แน่นอนว่าก็ต้องเอามาเล่าสู่ แบ่งปันกันเหมือนเคยนะคะ

การเพาะเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนหลายๆ อย่าง ที่เด่น ๆ คือ ค่าอาหาร นอกจากนั้นก็เป็นค่าการจัดการเลี้ยง ค่าบริหารงาน ค่าน้ำค่าไฟ แต่หลายคนอาจลืมคิดไปว่าสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกทำลาย เสื่อมโทรมลงไป รวมทั้งการฟื้นฟู รักษาสิ่งแวดล้อมก็เป็นหนึ่งในต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และหากเสื่อมโทรมลงไปจะมีผลกระทบต่อสัตว์ที่เราเลี้ยงด้วยเหมือนกัน สำหรับการเลี้ยงกุ้งซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงเป็นพิเศษ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการสูญเสียพื้นที่ที่สำคัญต่อระบบนิเวศในวงกว้าง เช่น ป่าโกงกางเสื่อมโทรม

     ในงานวิจัยนี้มีการทดลองเลี้ยงกุ้งขาวโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินอาหารผสมโปรบติก อีกกลุ่มให้กินอาหารกุ้งธรรมดา แล้วก็วัดค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยง สัมภาษณ์คนทำงาน เช่น ความต้องการออกซิเจนของ larvae ปริมาณการถ่ายออกซิเจนในระบบ FCR ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เกิดขึ้น  อุณหภูมิน้ำทะเลในพื้นที่ สัมภาษณ์บุคลากรห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนน้ำเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้และไม่ใช้โปรไบโอติก แล้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับฉลากและคู่มือของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน (องค์ประกอบของอาหารและโปรไบโอติก พลังงานและประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ เครื่องเติมอากาศหมุนเวียน) ซึ่งจะนำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของระบบการเลี้ยงต่อไป

ผู้วิจัยได้สรุป highlight ของบทความเอาไว้ 4 ข้อ คือ

-     การเพาะเลี้ยงกุ้งจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ตอบสนองความต้องการทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต

-          การใช้โปรไบโอติกในการผลิตลูกกุ้งจะช่วยลดการเกิดมลพิษในระหว่างการเลี้ยง

-          เมื่อใช้โปรไบโอติกในระหว่างการเลี้ยงพบว่ามีการลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญ

-          ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งมีค่าต่ำในทุกกลุ่ม

-          ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมบ่งชี้ว่าโปรไบโอติกเป็นเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

ใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆ ตามไปได้ตรงนี้ค่ะ  https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0044848618309840

 

ไว้ครั้งหน้ามาคุยกันต่อนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)