ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
โปรไบโอติก คำนี้ได้ยินกันมาตลอดวนเวียนไปทุกวงการการเลี้ยงสัตว์และยังเป็นที่คุ้นหูในการนำมาใช้ประโยชน์ในคนด้วยหลายๆ บทความก่อนหน้านี้ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวและคุณประโยชน์จากการนำโปรไบโอติกมาใช้งานในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีผลการทดลองและการศึกษาวิจัยประโยชน์ของโปรไบโอติกอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการวิจัยอยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา ในหลายๆ วงการ เช่นเดียวกับงานวิจัยในวงการการเลี้ยงกุ้งก็มีการศึกษาวิจัยในหลายประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศจีนเองก็จัดว่าการเลี้ยงกุ้งเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ดังนั้นจึงมี ผลงานวิจัยดีๆ ออกมาให้ได้ตามอ่านกันอยู่บ่อยครั้ง วันนี้ได้ อ่านงานวิจัยของประเทศจีนเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งด้วยโปรไบโอติก ถึงจะเป็นงานที่เก่าแล้วแต่ก็มีความน่าสนใจ เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติม เป็นงานที่ศึกษาและรายงานเกี่ยวกบัผลการนำโปรไบโอติกมาใช้ผสมอาหารให้ก้งุกินว่าสามารถเพิ่มอตัราการเจริญเติบโตของ กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2007 ผู้วิจัย Yan-Bo Wang ทดลองใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงได้ ชื่อ Rhodobacter sphaeroides ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถเจริญเติบโตโดยการสังเคราะห์แสงที่มีสีแดง โดยไม่ใช้อากาศ และยังสามารถเจริญเติบโตโดยไม่ใช้แสงอาทิตย์ได้ด้วยในสภาวะที่มีอากาศ ร่วมกับแบคทีเรียกลุ่มบาซิลัส Bacillus coagulans ที่แยกได้จากปลาคาร์พ โดยนำน้ำหนักแห้งของเชื้อที่เท่าๆ กัน มาผสมในอาหารกุ้งและทดลองให้กุ้งกินวันละ 3 เวลาคือ 6.00 น ., 14.00 น . แ ล ะ 20.00 น . โดยก้งุที่ใช้ในการทดลองมีน้ำหนกัเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากันที่ 0.66 กรัม ผู้วิจัยได้ทำการทดลองนำมาเลี้ยงกุ้งทั้งหมด 28 วัน หลังจากนั้นจึงนำมาศึกษาคุณภาพน้ำและอัตราการเจริญเติบโตและพบว่าการใช้แบคทีเรียดังกล่าวในการเลี้ยงก้งุแทบไม่มีผลกระทบหรือมีผลน้อยมากต่อคณุภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งโดยค่าแอมโมเนียม ไนไตรท์ และระดับ pH มีความคงที่อยู่ในระดับที่รับได้ตลอดระยะเวลาการทดลอง ในส่วนของน้ำหนักกุ้งนนั้นพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยโปรไบโอติกมีน้ำหนักมากกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดาโดยเฉลี่ย 1.71 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้ได้น้ำหนักเฉลี่ยของกุ้งที่เพิ่มขึ้นต่อวัน และ น้ำหนักรวมที่เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักมีความสมัพนัธ์กับกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยโปรไบโอติกซึ่งมีค่าสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหาร ธรรมดาอย่างมีนัยสำคญัเช่นกัน หนึ่งในเหตุผลที่จะช่วยอธิบายกลไกการเพิ่มขึ้นของน้้ำหนักตัวกุ้งได้ดีก็คือการทำงานของระบบย่อยอาหาร ซึ่งในการทดลองนี้ผู้วิจัยได้ทำการตรวจวัดระดับการทำงานของเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของกุ้งด้วย จากรายงานพบว่าเอนไซม์โปรติเอส ไลเปส อะไมเลส และเซลลูเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการย่อยโปรตีน ไขมันคารโบไฮเดรตและเซลลูโลส ในทางเดินอาหารของกุ้งที่เลี้ยงด้วยโปรโบโอติกมีปริมาณสงูกว่ากลมุ่ควบคมุที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดาอย่างมี นัยสำคัญ จึงสามารถอนุมานได้ว่าระบบย่อยอาหารของกุ้งที่เลี้ยงด้วยโปรไบโอติก มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารมากกว่ากุ้งกลุ่มควบคุมซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ ทำให้กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่า สอดคล้องกับผลงานวิจัยการใช้ โปรไบโอติก เลี้ยงกุ้งในประเทศอินเดีย ที่กุ้งที่เลี้ยงด้วยโปรไบโอติกมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดา นอกจากนี้ผู้วิจัยยังให้คำแนะนำว่าควรใช้แบคทีเรียร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิดในการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากมีรายงานว่าการใช้แบคทีเรียร่วมกันจะสนับสนุนกันและให้ผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ดีกว่าการใช้แบคทีเรียเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง สำหรับปริมาณที่แนะนำจากการทดลอง คือ ผสมโปรไบโอติก 10 กรัมต่ออาหาร1กิโลกรัม (น้ำ หนักเปียก) ในการเลี้ยงกุ้งแต่ละครั้งซึ่งโปรไบโอติกเตรียมได้จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสง 5 กรัมต่อกิโลกรัมผสมกับแบคทีเรียกลุ่มบาซิลสัเท่าๆ กันที่ 5 กรัมต่อกิโลกรัมโดยกุ้งระยะ larva และ early post-lava เป็นระยะที่เหมาะสมต่อการ ทำงานของโปรไบโอติกมากที่สุด เนื่องจากเป็นระยะที่ระบบทางเดินอาหารของกุ้งมีการตอบสนองค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตามปริมาณแนะนำที่ระบุไว้ในการทดลองอาจแตกต่างเมื่อนำมาใช้ในสภาพการเลี้ยงจริง เนื่องจากมีความแตกต่างกันที่ชนิดของแบคทีเรียโปรไบโอติกที่นำมาใช้ และระบบการเลี้ยงอาจไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในทุกรูปแบบการ เลี้ยง กุ้ง แต่งานชิ้นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่ช่วยยืนยนัผลการทดลองเกี่ยวกับโปรไบโอติกที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้เลี้ยง กุ้งค่ะ ครั้งหน้าจะนำเรื่องอะไรมาเล่าสู่กันฟังโปรดติดตามนะคะ สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม) |