วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
ReadyPlanet.com
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่

                   

มื่อต้นสิงหาคมที่ผ่าน หากใครติดตามข่าวเกษตรจะเห็นว่ามีการส่งต่อหรือแชร์ข่าวปลอม เรื่อง หมู ไก่ ติดเชื้อตัวใหม่ บางข่าวก็บอกว่าเป็นเอดส์ ห้ามกินหมู ไก่ นานถึง 6 เดือน ซึ่งเรื่องข่าวปลอมแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกนะคะ แต่เป็นข้อความเท็จที่ถูกสร้างขึ้นตั้งนาน ปี 2551 และนำกลับมาแชร์ใหม่ แลวท่านสงสยกนไหมว่า จริงรึเปล่าที่สัตว์ที่ว่ามานั้นจะเป็นเอดส์ได้ วันนี้จะเล่าให้ฟังค่ะ

โรคเอดส์ในคนเนี่ยมีสาเหตุเกิดจากไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยไวรัส HIV นี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ HIV-1 และ HIV-2 ที่ผ่านมาในช่วงปี 1920 มีข้อมูลการติดต่อของโรคมาสู่คน โดยมาจากลิงชิมแพนซีในประเทศคองโก และได้รับยืนยันการตรวจพบเชื้อครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1980

ลิงชิมแพนซีมีเชื้อไวรัส Simian Immunodeficiency Virus (SIV) ที่มีความใกล้เคียงกับไวรัส HIV ในคนมาก วัฒนธรรมการล่าและกินเนื้อลิงชิมแพนซี ทำให้คนได้รับเชื้อไวรัส SIV ของลิงที่มีชื่อสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า SIVcpz จากการสัมผัสเชื้อที่ปนเนปื้อนในเลือดเข้าทางบาดแผล และเชื้อ SIVcpz ได้วิวัฒนาการกลายมาเป็นไวรัส HIV-1 ในคนที่ปัจจุบันมีการระบาดไปทั่วโลก 

นอกจากนี้มีรายงานว่าไวรัส HIV-2 ซึ่งเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า HIV-1 พบรายงานการระบาดเฉพาะแอฟริกาตะวันตก มาจากไวรัส SIV ในลิงซูตี้ แมงกาเบย์ (sooty mangabey) ซึ่งเรียกไวรัสนี้ว่า SIVsmm 

ในวงการวิจัยยังเป็นเรื่องยากลำบากมากที่จะหาสัตว์ทดลองมาใช้ในการจำลองการติดเชื้อ เพื่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ เพราะไวรัส HIV มีความจำเพาะต่อ host นั่นก็คือ คนและลิงบางชนิด แม้นักวิจัยจะพยายามหาสัตว์อื่นนอกเหนือจากลิงมาใช้เป็นแบบจำลองการติดเชื้อ เช่น แมว กระต่าย หนู แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ การที่ไวรัสจะผ่านเข้าไปในเซลล์ได้ต้องจับกับตัวรับที่ผิวเซลล์ เช่น CD4, CC-chemokine receptor 5 (CCR5) หรือ CXC-chemokine receptor 4 (CXCR4) แต่เซลล์ของสัตว์เหล่านี้ไม่มีตัวรับดังกล่าวที่จะเอื้อต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส พอจะทราบแล้วใช่ไหมคะว่าหมู ไก่ ติดเชื้อเอดส์มันไม่เป็นความจริงเลยแถมในสัตว์บางชนิดยังมีโปรตีนที่มีคุณสมบัติยับยั้งไวรัสอีก ในปี 2017 ค้นพบว่าวัวสามารถสร้างสารแอนติบอดีที่เรียกว่า NC-Cow 1 มาทำลายไวรัสได้ ทำให้วัวไม่ติดเชื้อไวรัสเอดส์ และทีมวิจัยทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับกลไกการสร้างแอนติบอดีดังกล่าว แล้วนำไปใช้พัฒนาวัคซีนต้านโรคเอดส์  นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยืนยันว่าขณะนี้ไม่มีการติดต่อของไวรัส HIV ผ่านทางอาหารหรือน้ำ เนื่องจากไวรัสดังกล่าวไม่สามารถมีชีวิตนอกร่างกายคนได้ 

ส่วนประเด็นเอดส์หมูอาจสืบเนื่องมาจากการเรียกชื่อโรค Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome (PRRS) เมื่อปี 2001 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำลายภูมิคุ้มกันสุกร ขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัดและตั้งชื่อโรคเป็นกลุ่มอาการคล้ายเอดส์ (AIDS-like) แต่ไม่ใช่เอดส์ และไม่ติดต่อสู่คนเลย สรุปแล้วไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันการเกิดโรคเอดส์ในหมู ไก่ รวมทั้งสัตว์อื่นๆ ขอให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับเชื้อ HIV จากการบริโภคเนื้อสัตว์แน่นอน แต่ๆๆ อย่าลืมนะคะว่า ไม่ว่ายังไงก็ตามเวลาเลือกซื้อเนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้ง หรือผัก ควรมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้และมีมาตรฐานการผลิต มาจากฟาร์มมาตรฐาน นอกจากนี้เวลาไปกินปิ้งย่าง หรือหมูกะทะ หรือทำอาหารเองก็ควรจะทำให้สุก เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรค หรือพยาธิอื่นที่มากับอาหารได้นะคะ 

ที่มาเพิ่มเติม อ่านได้ตรงนี้ค่ะ:

Hatziioannou, T., Evans, D. Animal models for HIV/AIDS research. Nat Rev Microbiol 10, 852–867 (2012). https://doi.org/10.1038/nrmicro2911

Williams KC, Burdo TH. HIV and SIV infection: the role of cellular restriction and immune responses in viral replication and pathogenesis. APMIS. 2009;117(5-6):400-412. doi:10.1111/j.1600-0463.2009.02450.x

Alexandra Sifferlin., 2017. How Cows Are Helping the Fight Against HIV. Time

Similarities Between Pig Virus and AIDS Explored in ABC News Commentary. https://khn.org/morning-breakout/dr00003772/

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)