ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ReadyPlanet.com
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง

                        

สวัสดีอีกครั้งค่ะ กลับมาพบกันอีกเช่นเคย ในบทความครั้งก่อนเราทราบกันดีแล้วว่าการให้อาหารกุ้งแบบผสมซินไบโอติก (Synbiotic) นั้นให้ช่วยให้พรีไบโอติกและโปรไบโอติกมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นจากการทำงานแบบเสริมฤทธิ์กัน ส่งผลให้กุ้งมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ทนทานต่อเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น ซึ่งคราวที่แล้วที่เล่าไปเป็นการทดลองกับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ (Vibrio spp.) และผลการทดลองยังชี้ให้เห็นว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมทั้งพรีไบโอติกและโปรไบโอติกยังส่งผลให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย สำหรับบทความครั้งนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าหลังจากที่ให้อาหารที่มีซินไบโอติกผสมอยู่แก่กุ้งไปแล้ว ภายในลำไส้ของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีแบคทีเรียชนิดไหนอาศัยอยู่ในลำไส้กุ้งกันบ้าง และจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพกุ้งอย่างไร โดยเราจะหยิบเอางานวิจัยของ Truong-Giang Huynh ละคณะในปี 2019 มาเล่าให้ฟังกันค่ะ ผู้วิจัยได้ทำการเลี้ยงกุ้งขาวและแบ่งกลุ่มออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่มีการให้อาหารกุ้งแบบปกติ และกลุ่มที่สองจะเลี้ยงกุ้งโดยใช้อาหารแบบซินไบโอติก โดยใช้โปรไบโอติกเป็นแบคทีเรียแลคติก (Lactobacillus plantarum 7–40) และพรีไบโอติกเป็นน้ำตาลกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Galactooligosaccharide หรือ เรียกอย่างย่อว่า GOS) ที่สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในกลุ่มแลคโตบาซิลัสได้เป็นอย่างดี จากนั้นทำการเลี้ยงกุ้งเป็นระยะเวลา 60 วัน แล้วก็เก็บตัวอย่างกุ้งมาตรวจสภาพลำไส้เพื่อดูความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มค่ะ 

ก่อนจะเล่าผลการทดลองก็ควรจะทราบก่อนว่าปกติแล้วในลำไส้ของสัตว์แต่ละชนิด ซึ่งรวมถึงกุ้งด้วยก็จะมีแบคทีเรียเจ้าประจำอยู่แล้ว เราเรียกกันว่าแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ ความสมดุลของปริมาณและชนิดของแบคทีเรียประจำถิ่นเหล่านี้มีส่วนช่วยให้กุ้งมีสุขภาพดี เสริมความทนทานต่อการรุกรานจากแบคทีเรียก่อโรคได้ค่ะ

ผลการทดลองพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมซินไบโอติกมีแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งที่มีความหลากหลายมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยพบแบคทีเรียมากกว่า 73 ชนิด ซึ่งถือว่ามีความหลากลายของแบคทีเรียในลำไส้มาก อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียในลำไส้ของกุ้งกลุ่มควบคุมแล้วถือว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากกุ้งในกลุ่มควบคุมพบแบคทีเรียปริมาณน้อยกว่านิดหน่อยและแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่พบนั้นก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่พบในกลุ่มซินไบโอติกเช่นกัน อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงคิดว่า อ้าวแบบนี้ให้กุ้งกินอาหารแบบไหนก็ได้สิ ไม่แตกต่งกันเลย แต่พอพิจารณาในรายละเอียดแล้วมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมซินไบโอติกนั้นมีแบคทีเรียชนิดดีในกลุ่มแลคโตบาซิลัส เช่น กลุ่ม Lactobacillus plantarum ในปริมาณสูงกว่าในลำไส้ของกุ้งกลุ่มควบคุมที่กินอาหารปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าแบคทีเรียตัวร้าย เช่น Vibrio harveyi และ Photobacterium damselae นั้น มีปริมาณน้อยกว่าลำไส้ของกุ้งในกลุ่มควบคุมที่กินอาหารปกติอีกด้วย จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าการให้อาการกุ้งที่ผสมซินไบโอติกนั้นช่วยกระตุ้นให้เกิดการยึดเกาะของแบคทีเรียประจำถิ่น และแบคทีเรียชนิดดีที่ลำไส้ของกุ้ง ทำให้กุ้งเกิดสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดการลดการสะสมของเชื้อวิบริโอในลำไส้กุ้งได้อีกด้วย เรื่อง ซินไบโอติก เริ่มน่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ เอาไว้มีงานวิจัยดีๆ แล้วจะมาเล่าเพิ่มเติมค่ะ

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)