วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ReadyPlanet.com
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค

                             

ที่ผ่านมาบทความของเราเคยลงเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนที่ใช้ในสัตว์บก สัตว์น้ำ รวมทั้งวิธีการทำงานและประสิทธิภาพของวัคซีนมาพอสมควร ในครั้งนี้ อยากจะขอเล่าให้ฟังในส่วนของวัคซีนคนกันบ้างนะคะ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสเลย แน่นอนว่าจะต้องเป็นเกร็ดความรู้เรื่องวัคซีนโควิด เพราะเป็นข่าวดีของปี 2564 ที่นับว่าเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกรอคอย จากข่าวที่เผยแพร่มาเป็นระยะตามสื่อต่างๆ จะเห็นว่าประชาชนในประเทศมากกว่า 50 ประเทศได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ รวมถึงจีนและสหรัฐอเมริกา โดยขณะนี้วัคซีนที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม ได้แก่ mRNA วัคซีน (Pfizer/BioNTech, Moderna ใช้ในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา) ไวรัสวัคซีน (AstraZineca ของอังกฤษ และ Sputnik V ของรัสเซีย) และสุดท้ายคือวัคซีนเชื้อตาย (Sinopharm Sinovac ที่ใช้ในจีน) แต่ละชนิดมีวิธีการผลิต ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย วิธีการเก็บรักษา และต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งวัคซีนเจ้าแรกๆ ที่มีการกล่าวถึงกันมากก็คือ Pfizer/BioNTech และ Moderna จัดเป็น genetic vaccine ที่เป็น messenger RNA (mRNA) ซึ่งหุ้มด้วย lipid nanoparticles (LNPs) เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนเข้าไปที่เซลล์กล้ามเนื้อ จะมีการถอดรหัสและสร้างโปรตีนขึ้นมาในเวลา 1-2 วันหลังได้รับวัคซีน โปรตีนดังกล่าวจะถูกตรวจจับด้วย dendritic cells (DC) ที่เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แล้วส่งสัญญาณกระตุ้นให้เซลล์อื่นๆ สร้างภูมิคุ้มกันต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีข้อพึงระวังในการใช้และเก็บรักษาวัคซีนชนิดนี้เนื่องจาก mRNA เสื่อมสลายง่ายโดยไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จึงจำเป็นต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำมาก วัคซีน Pfizer/BioNTech ระบุว่าต้องเก็บวัคซีนไว้ที่อุณหภูมิอย่างน้อย -70°C เพื่อไม่ให้ mRNA ถูกทำลายจนเสียสภาพไป (ซึ่งตู้เย็นแบบนี้ รวมทั้งการขนส่งวัคซีนไปมาในสภาพดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูง) ถ้าหากเก็บวัคซีนไว้โดยใช้ตู้เย็นธรรมดา mRNA จะเสื่อมสภาพในเวลา 5 วัน สำหรับวัคซีน Moderna ระบุที่ฉลากว่าให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิ -25°C ถึง -15°C ดังนั้น การเก็บรักษาวัคซีนให้ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนใช้วัคซีนดังกล่าว นอกจากนี้ การดำเนินการฉีดวัคซีนควรได้รับวัคซีนจากสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน ผู้ปฏิบัติงานมีการเตรียมวัคซีนเพื่อฉีดอย่างถูกต้อง เพื่อให้วัคซีนดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรค 

อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของหมอเอง เนื่องจากวัคซีนโควิดที่มีในปัจจุบันยังเป็นวัคซีนที่ออกมาใหม่ดังนั้นเมื่อพบว่าฉีดแล้วมีอาการข้างเคียง หรือการแพ้วัคซีนจะต้องบันทึกอาการที่พบทั้งหมด ไม่ว่าจะรุนแรงมาก น้อย แค่ไหน ในผู้ได้รับวัคซีนที่มีสถานะทางสุขภาพแตกต่างกัน เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับประเมินประสิทธิภาพ และพิจารณาความปลอดภัยของวัคซีนต่อไปในอนาคต 

จากข่าวที่อ่านเจอมาเมื่อเดือนธันวาคม มีการทดลองใช้วัคซีน Pfizer-BioNTech (BNT162b2) ในอังกฤษและพบว่ามีอาสาสมัคร 2 คนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วแสดงอาการแพ้วัคซีน เช่น เกิดผื่นแดง หายใจหอบ และความดันเลือดลดต่ำลง จากการสืบสวนหาสาเหตุของการแพ้วัคซีน BNT162b2 ในอาสาสมัครในอังกฤษคาดว่าเกิดจากการแพ้สารที่ห่อหุ้ม mRNA สำหรับในสหรัฐอเมริกาได้มีการเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่พบ ภายหลังจากได้รับวัคซีนดังกล่าว และพบว่ามีการแพ้วัคซีนเกิดขึ้นต่ำมาก ในการให้วัคซีน 1 ล้านโดสจะพบคนแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง (anaphylaxis) เพียง 11.1 ราย  โดยจะแสดงอาการแพ้ 30 นาทีหลังได้รับวัคซีน และยังพบผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ คลื่นไว้อาเจียน ปวดศีรษะ เกิดการบวมบริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ผู้มีประวัติโรคประจำตัว โรคภูมิแพ้ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน หากทำวัคซีนไปแล้วควรรอเฝ้าระวังอาการแพ้อย่างน้อย 15 นาทีหลังฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามยังไม่มีผลการศึกษาอาการข้างเคียงของการใช้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร โดยสรุปแล้วการตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อน และพิจารณาสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดการแพ้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ควรพิจารณาการเก็บรักษาและจัดการวัคซีนไม่ให้เสื่อมสภาพ เพื่อให้วัคซีนยังคงประสิทธิภาพเมื่อนำไปฉีด

จากหัวข้อบทความในวันนี้เขียนเอาไว้ชัดเจนนะคะว่า “วัคซีน Covid-19 เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันโรค” เท่านั้น สิ่งที่จะต้องยึดถือปฏิบัติในช่วงเวลาที่มีการระบาดของโรคนี้ ที่สำคัญและย้ำกันมาตลอด คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และรักษาระยะห่าง ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างเคร่งครัดค่ะ เป็นวิธีป้องกันโรคที่ทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฉีดวัคซีนอีกนะคะ


ที่มา

Coronavirus (COVID-19) Vaccinations - Statistics and Research - Our World in Data

How mRNA vaccines from Pfizer and Moderna work, why they’re a breakthrough and why they need to be kept so cold.

Fact Sheet for Healthcare Providers Administering Vaccine (Vaccination Providers) Emergency Use Authorization (EUA) of the Moderna Covid-19 Vaccine to Prevent Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) (https://www.fda.gov/media/144637/download)

Information for Healthcare Professionals on Pfizer/BioNTech COVID-19 vaccine - GOV.UK (www.gov.uk)

Fact check: mRNA vaccines kept at very cold temperatures so that they do not break apart; COVID-19 vaccines will not genetically modify humans | Reuters

The promise of mRNA vaccines: a biotech and industrial perspective | npj Vaccines (nature.com)

Suspicions grow that nanoparticles in Pfizer’s COVID-19 vaccine trigger rare allergic reactions | Science | AAAS (sciencemag.org)

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)