ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
ReadyPlanet.com
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก

           

สวัสดีท่านผู้อ่านชาวฟาร์มที่รักทุกท่านค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องเล่าชาวฟาร์ม หวังว่าทุกคนจะสบายดีมีสุขภาพแข็งแรงกันนะคะ สำหรับครั้งนี้จะมาชวนคุยเรื่องเนื้อปลาสีส้มกันค่ะ เชื่อว่าปลาชนิดนี้น่าจะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายๆ คน แต่ทุกท่านทราบมั้ยคะว่าเนื้อปลาสีส้มที่เราคิดว่าเป็นเนื้อปลาแซลมอนตามร้านอาหารนั้น จริงๆ แล้ว ยังมีปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีเนื้อสีส้มคล้ายกับเนื้อปลาแซลมอนมากๆ เลย นั่นก็คือ ปลาเทราต์ (Rainbow Trout ) นั่นเองค่ะ เนื่องจากปลาทั้งสองชนิดนั้นจัดอยู่ใน family Salmonidae เหมือนกัน ดังนั้น จะพบว่าเนื้อปลาทั้ง 2 ชนิดมีรสชาติ สีสัน และเนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกันมาก จึงทำให้หลายครั้งเราอาจสับสนได้ว่าปลาเนื้อสีส้มที่เห็นในจานเป็นปลาแซลมอน หรือปลาเทราต์กันแน่ ปลาทั้งสองชนิดมีคุณภาพและราคาที่ใกล้เคียงกัน หรือในบางงานวิจัยพบว่า Rainbow Trout  นั้นมีรสสัมผัสและสารอาหารที่ดีกว่าปลาแซลมอนเสียอีกค่ะ นอกจากนี้เนื้อปลาทั้งสองชนิดที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นยังเป็นปลาที่เลี้ยงและถูกนำเข้ามาจากประเทศนอร์เวย์เหมือนกันอีกด้วยค่ะ โดยพบว่าปลา Rainbow Trout นั้นมีสัดส่วนการนำเข้ามากกว่าปลาแซลมอน ชวนคุยกันต่อถึงการเลี้ยงปลาเทราต์กันนะคะ จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภคเป็นอย่างมาก จึงนำมาซึ่งการเลี้ยงในรูปแบบของฟาร์มเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ระบบการเลี้ยงต่างๆ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ซินไบโอติก (Synbiotic)  ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจในการนำมาใช้พัฒนาการเลี้ยงปลา Rainbow Trout เพื่อหวังผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการมีสุขภาพที่ดีของปลาค่ะ โดยผลจากงานวิจัยของ Z. Mehrabi และคณะในปี 2011 เค้าได้มีการลองใช้แบคทีเรียโปรไบโอติก Entercoccus faecium ผสมกับพรีไบโอติกชนิด Fructooligosaccharide (FOS) asprebiotic ในอาหารสำหรับเลี้ยงลูกปลาเทราต์น้ำหนักตัว 5 กรัม ทำการเลี้ยงเป็นเวลาทั้งหมดสองเดือน เมื่อครบกำหนดจึงนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มลูกปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ ผลปรากฏว่าน้ำหนักสุดท้ายของตัวปลา, เปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว, การเจริญเติบโตจำเพาะต่อวัน, ค่าความสมบูรณ์ของปลา, ค่าการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว และอัตราการมีชีวิตรอดของปลาในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยซินไบโอติกนั้น มีตัวเลขที่ดีกว่าการเลี้ยงปกติในทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอัตราส่วนของซินไบโอติกต์ที่ให้ผลดีที่สุดเมื่อผสมในอาหารคือ ผสมซินไบโอติกปริมาณ 1 กรัมต่ออาหารปลาจำนวน 1 กิโลกรัม นอกจากนี้เนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยซินไบโอติกต์ยังมีคุณภาพโปรตีนและไขมันในปริมาณที่ดีกว่าปลาที่เลี้ยงตามปกติอีกด้วยค่ะ จากผลวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้แนะนำว่าซินไบโอติกนั้นมีประโยชน์และเหมาะสมอย่างยิ่งในการนำมาเลี้ยงลูกปลา Rainbow Trout เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของปลา จะเห็นได้ว่านอกเหนือจากการเลี้ยงกุ้งที่ได้เคยเล่าให้อ่านไปแล้ว ซินไบโอติกนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน ดังเช่นปลา Rainbow Trout ที่มีราคาแพงและเป็นที่นิยมบริโภคไปทั่วโลกก็สามารถนำซินไบโอติกไปใช้เพื่อพัฒนาการเลี้ยงได้เช่นกัน ในฉบับหน้าจะมาพูดคุยกันเรื่องอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)