การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ReadyPlanet.com
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila

            

หลายๆ บทความก่อนหน้านี้เราพูดถึงการนำ probiotics ผสม prebiotics กลายเป็น synbiotics มาใช้ในสัตว์ วันนี้จะมาเล่าสู่ให้ทราบกันอีกสักหนึ่งงานวิจัยของทีมวิจัยจากบราซิลที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการใช้ probiotics, prebiotics และ synbiotics ในปลานิลไว้เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่มีความน่าสนใจมากค่ะ 

ก่อนเข้าเรื่องขอเล่าเกี่ยวกับการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila สั้นๆ สักหน่อย โดยการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลานิลสามารถพบได้ทั้งลักษณะที่เป็นการติดเชื้อแบบสาเหตุของโรคเลย (primary infection) และการติดเชื้อแทรกซ้อน (secondary infection) รวมทั้งในรูปแบบของการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อเรื้อรัง หรือการติดเชื้อแฝง และยังสามารถพบได้ในปลานิลทุกอายุ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิล สำหรับปลานิลที่ติดเชื้อมีรายงานว่าพบอัตราตายสูงตั้งแต่ 80% และในช่วงฤดูร้อนอาจพบการตายได้สูงถึง 100% การติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลาเกิดจากการได้รับเชื้อจากในน้ำ หรือติดเชื้อจากปลาที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการหรือรอยโรค การสัมผัสโดยตรงระหว่างปลาที่เป็นโรคและปลาที่ไม่เป็นโรค การกินปลาป่วยหรือปลาที่ติดเชื้อเป็นอาหาร เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าทางปาก หรือถ้าปลามีแผลที่ผิวหนัง หรือเหงือกถูกทำลายจากปรสิต เชื้อนี้ก็สามารถเข้าไปได้เช่นกัน จากนั้นเชื้อจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในระบบทางเดินอาหารและเลือดแล้วจึงแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ในระยะแรกของการติดเชื้อปลาที่ป่วยจะพบอาการเสียการทรงตัว ว่ายน้ำช้าลง อ้าปากหายใจบริเวณผิวน้ำ เมื่อโรครุนแรงขึ้น จะสามารถพบลักษณะ ครีบ และหางเปื่อย กร่อน เกล็ดลอกหลุด และตั้งพอง บางครั้งมีจุดเลือดออกบริเวณลำตัว ในปลานิลบางตัวที่มีการติดเชื้อรุนแรง ติดเชื้อเป็นเวลานานจะพบแผลหลุมหรือเนื้อตายบริเวณลำตัว ช่องท้องขยายและมีน้ำคั่ง เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียมีคุณสมบัติในการสร้างสารพิษมาทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ทำลายผนังหลอดเลือด 

การศึกษาเกี่ยวกับการนำ probiotics, prebiotics และ synbiotics มาใช้ที่จะเล่าให้อ่านนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila เมื่อทดลองใช้ probiotics, prebiotics และ synbiotics มาเลี้ยงปลานิล โดย probiotic ที่เลือกมาใช้เป็นยี่ห้อที่มีขายในท้องตลาด ซึ่งประกอบด้วยเชื้อ Bifidobacterium sp, Lactobacillus acidophilus และ Enterococcus faecium โดย prebiotic ที่ใช้ คือ mannan oligosaccharides และ chitosan

สำหรับการทดลองก็จะแบ่งปลานิลเป็น 6 กลุ่ม และให้ probiotics, prebiotics และ synbiotics ติดต่อกัน 63 วัน ในสูตรที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. กลุ่ม - ควบคุมให้อาหารธรรมดา

2. กลุ่ม - Probiotic (Bifidobacterium sp, Lactobacillus acidophilus และ Enterococcus faecium ปริมาณชนิดละ 3.5 × 109CFU/g) ผสม 0.3 กรัม/อาหาร 1 kg

3. กลุ่ม -  Prebiotic (mannan oligosaccharides) ผสม 4 กรัม/อาหาร 1 kg

4. กลุ่ม - Prebiotic (chitosan) ผสม 4 กรัม/อาหาร 1 kg

5. กลุ่ม - Synbiotic (Probiotic, 0.3 กรัม/อาหาร 1 kg + mannan oligosaccharides, 4 กรัม/อาหาร 1 kg) 

6. กลุ่ม - Synbiotic (Probiotic, 0.3 กรัม/อาหาร 1 kg + chitosan, 4 กรัม/อาหาร 1 kg) 

และแบ่งชุดการทดลองอีกชุดให้อาหารต่อเนื่อง 21 วันจากนั้นทดลองฉีดเชื้อ Aeromonas hydrophila เข้าช่องท้องเพื่อดูประสิทธิภาพการป้องกันโรค โดยระหว่างการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการทดลอง เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ค่าเลือด เนื้อเยื่อลำไส้ ภูมิคุ้มกันวิทยา และระดับการป้องกันเชื้อ  Aeromonas hydrophila 

เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า

- ปลากลุ่มที่ 5 (Probiotic + mannan oligosaccharides) และ 6 (Probiotic + chitosan) มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และตรวจพบปริมาณเชื้อ Lactobacillus spp., and Enterococcus sp. ในลำไส้ (ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดี) สูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

- ค่าผลเลือด และระดับภูมิคุ้มกันวิทยาในปลาทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน และไม่ต่างกับกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่าการให้ Synbiotic ไม่มีผลกระทบต่อค่าเลือดในการศึกษานี้

- เนื้อเยื่อลำไส้ของปลากลุ่มที่ให้อาหาร probiotics, prebiotics และ synbiotics พบว่ามีปริมาณเซลล์ที่ช่วยในระบบการย่อยและดูดซึมอาหารมากกว่าปลากลุ่มที่กินอาหารธรรมดา 

- สำหรับการศึกษาในส่วนที่มีการทดลองฉีดเชื้อ Aeromonas hydrophila ให้ปลา พบว่าปลากลุ่มควบคุมมีอัตราการตายสูงถึง 50% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับอาหาร Probiotic + mannan oligosaccharides มีอัตราการตาย 30% และกลุ่ม Probiotic + chitosan มีอัตราการตาย 43.4%

ท้ายที่สุดของการศึกษาผู้วิจัยสรุปว่าแนะนำให้ใช้ probiotics, prebiotics และ synbiotics เพื่อสนับสนุนการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila โดย probiotics, prebiotics และ synbiotics ที่ให้ไปจะไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของปลานิล

อ่านกันมายาวพอประมาณได้ความว่าเรื่องนี้ก็เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและมีคนศึกษากันมาก บทความหน้าจะเป็นเรื่องอะไรมาตืดตามกันต่อค่ะ

 
 
 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)