เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
ReadyPlanet.com
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร

              

ชื่อบทความ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร

คำสำคัญ BCG, Bio-Circular-Green Economy 

จำนวนคำรวม 560

วันนี้ขอนอกเรื่องวิชาการบ้าง ขอเล่าเบาๆ เรื่องฮิตๆ ที่ได้ยินคนพูดถึงกันมาก และก็ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ สำหรับหลายๆ คนซึ่งรวมถึงหมอเองด้วยในการที่จะทำความเข้าใจในรายละเอียด ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา หลายๆ ท่านน่าจะเคยเห็นหรือได้ยินคำว่า BCG กันมาบ้าง BCG ย่อมาจาก Bio-Circular-Green Economy ซึ่งตอนนี้กำลังมีหลายภาคส่วนให้ความสนใจ แนวคิดของ BCG ประกอบด้วย เศรษฐกิจหลัก 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ต้องเอาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น สกัดสารสำคัญจากสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ เอาทรัพยากรมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด ปรับวิธีการผลิตให้มุ่งเน้นการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นให้เกิดความยั่งยืนของโลก โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม 

เรื่อง BCG นี้ก็ถูกจัดทำเป็นร่างยุทธศาสตร์ของประเทศไทยขึ้นมาแล้ว เรียกชื่อเป็น (ร่าง) ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 (หมอแปะ link สำหรับใครอยากอ่านเพิ่มเติมไว้ท้ายบทความ) โดยประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ก็คือ 

1. สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์  

2. การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่  

3. ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

4. เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก 

ในเอกสารจะบอกว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จะอยู่บนพื้นฐานของสี่สาขายุทธศาสตร์ คือ (1) เกษตรและอาหาร (ซึ่งเป็นสาขาที่เกี่ยวกับชาวฟาร์มโดยตรง) (2) สุขภาพและการแพทย์ (3) พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ (4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยอาศัยฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของประเทศไทยนี่แหละ ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศมาสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในแต่ละสาขายุทธศาสตร์

สำหรับสาขายุทธศาสตร์ เกษตรและอาหาร ที่บอกว่าเกี่ยวกับชาวฟาร์มโดยตรง จะมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างผลผลิตที่มีความแม่นยำมากขึ้น ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของการผลิต เพิ่มคุณค่าและมาตรฐานของสินค้าเกษตร ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า สนับสนุนส่งเสริมการทำฟาร์มอัจฉริยะ และแผนเกษตรกรซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและเทคนิคการทำฟาร์มแบบดิจิทัลให้มากขึ้น

การมองดูสถานการณ์เศรษฐกิจรอบด้าน เพื่อปรับตัวในการผลิตยุคนี้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการเพาะเลี้ยงในรูปแบบปัจจุบัน เพื่อจะลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างโอกาสในการขายที่เพิ่มมากขึ้นและสอดคล้องกับกระแสโลกนะคะ ในอนาคตอันใกล้รายละเอียดของ BCG กับภาคการเกษตรและอาหาร ก็น่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องติดตามความเคลื่อนไหวกันต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง ซึ่งก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับการเกษตรและอาหารพอสมควร ดังนั้น ใครที่พร้อมก่อน จับทางได้ถูกก็จะต่อยอดและสร้างมูลค่าไปได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนค่ะ

ที่มา: (ร่าง) ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/20200213-bcg-strategy-2564-2569.pdf

 
 
 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)