“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
ReadyPlanet.com
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน

               

ชื่อบทความ “อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน 

คำสำคัญ    อาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพสัตว์

 

 วันนี้ชวนคุยเรื่องทั่วไปๆ นะคะ หลายท่านทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ในปัจจุบัน ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำมีการผลิตแบบหนาแน่นเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น เพราะประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การเลี้ยงสัตว์แบบระบบอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเพื่อเร่งปริมาณผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ผู้เลี้ยงสามารถเก็บผลผลิตได้ในระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลงโดยใช้เทคโนโลยีในการจัดการ การคัดเลือกสายพันธุ์ ในขณะเดียวกันความเสี่ยงของโรคที่พบได้ในฟาร์มก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากการจัดการที่หนาแน่นทำให้สัตว์ในฟาร์มมีแนวโน้มเครียดง่ายและมีผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจโน้มนำให้เกิดโรคในฟาร์มได้ง่ายมากขึ้น ที่ผ่านมายังคงมีการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในฟาร์มภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม หลายๆ พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกยังคงพบการใช้ยาต้านจุลชีพโดยขาดความระมัดระวังหรือไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  ซึ่งนอกจากจะไม่เกิดผลในการควบคุมโรคแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับโลก

การใช้โปรไบโอติกในระบบการผลิตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในระบบการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน ที่มีเป้าหมายจะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อจะลดการเกิดโรคในฟาร์ม และลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มต่อไป จากหลายบทความที่ผ่านมา หลายๆ ท่านน่าจะตระหนักว่าการนำโปรไบโอติกมาใช้ในฟาร์มนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการเอาชนะปัญหานี้ เนื่องจาก โปรไบโอติกช่วยในการปรับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำลายแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคบางชนิด และยังช่วยให้สัตว์มีสุขภาพลำไส้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดมีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของสัตว์

นอกจากโปรไบโอติกแล้วการใช้วัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการจัดการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างความต้านทานโรคของสัตว์แต่ละตัว และของสัตว์ในฝูงได้ นอกจากนี้ยังลดการเกิดโรคในฟาร์ม และลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มได้ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าการที่วัคซีนจะทำงานได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ที่ได้รับวัคซีนทำงานได้อย่างสมบูรณ์ด้วย ดังนั้น การนำหลักการของโปรไบโอติกและวัคซีนมาใช้ประกอบกันในการจัดการฟาร์มจะช่วยส่งเสริมการจัดการสุขภาพของสัตว์ในฟาร์มให้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลิตผลและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรม 

ที่กล่าวมาข้างต้นท่านจะมองภาพว่าการผลิตที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับเรื่อง “food safety” หรือ “อาหารปลอดภัย” สำหรับการบริโภค และสุขภาพของผู้บริโภคค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันท่านทราบไหมว่าความต้องการของประเทศคู่ค้าไม่หยุดอยู่แค่เรื่องของ “อาหารปลอดภัย” แล้ว หลายประเทศทั่วโลกทั้งอเมริกา ยุโรป มีความต้องการมากขึ้น มีความกังวลเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น มีนโยบายและการจัดการมากมายที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ เพื่อบริหารจัดการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ทำให้นอกจากหลักการเรื่อง “อาหารปลอดภัย” แล้ว ประเทศผู้ผลิตต้องคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ (animal welfare หรือ สวัสดิภาพสัตว์) เพิ่มมากขึ้นด้วย ในบทความหน้าเรามาดูกันว่าในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์มีเรื่องอะไรน่าสนใจที่เกี่ยวกับงานสัตว์บกและสัตว์น้ำกันบ้างนะคะ

 
 
 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)