โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
ReadyPlanet.com
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ

                       

ชื่อบทความ  โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ

คำสำคัญ   โปรไบโอติก Bacillus pumilus วิบริโอ

 กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความที่เรามาเล่าสู่กันฟังเช่นเคย ในวันนี้จะมาชวนคุยเรื่องโปรไบโอติกอีกแล้วค่ะ เป็นเรื่องที่หลายๆคนอาจจะกำลังสงสัยอยู่เหมือนกันก็ได้นะคะ จากที่เราพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าโปรไบโอติกมีความสามารถในการต่อต้านแบคทีเรียตัวร้าย แต่ชาวฟาร์มเรารู้หรือไม่ว่าเจ้าโปรไบโอติกของเราไปต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้ายยังไง? ทำไมถึงทำให้แบคทีเรียก่อโรคลดจำนวนลงได้?

ก็เป็นเพราะปัจจัยหลายๆส่วน ซึ่งส่วนนึงนั้นก็เป็นผลมาจากการที่โปรไบโอติกไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถต่อต้านแบคทีเรียก่อโรคได้ และตัวโปรไบโอติกเองก็ยังไปแย่งจับจองพื้นที่ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ทำให้แบคทีเรียตัวร้ายไม่มีที่อยู่ พอไม่มีที่ให้ยึดเกาะก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ เป็นเหตุให้มีจำนวนลดลงไป และนอกเหนือไปจากนั้น จากงานวิจัยของ XiYan Gao และคณะในปี 2017 เค้าพบว่าโปรไบโอติกสามารถไปทำลายแบคทีเรียตัวร้ายได้โดยตรงด้วย โดยโปรไบโอติกสามารถผลิตสารที่มีฤทธิ์ไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียก่อโรค เมื่อไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์แล้วแบคทีเรียตัวร้ายก็ต้องตายไปในที่สุดค่ะ ซึ่งโปรไบโอติกที่เค้าเลือกใช้ทำการทดลองคือแบคทีเรีย Bacillus pumilus H2 ค่ะ

ข้อดีของแบคทีเรีย Bacillus คือเค้าสามารถผลิตสปอร์ได้ เป็นรูปแบบที่มีความทนทาน ง่ายต่อการที่เราจะมาปรับใช้ในฟาร์ม และยังมีความทนทานต่อกรดหรือสภาวะต่างๆในระบบทางเดินอาหารของตัวสัตว์อีกด้วยนะคะ มีโอกาสที่เค้าจะรอดและไปเพิ่มจำนวนที่ลำไส้ได้ดีทีเดียว

โดย Bacillus pumilus H2 ที่เอามาศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย Vibrio species มากถึง 29 strains ในจำนวนนี้รวม V. vulnificus, V. harveyi และ V. anguillarum ที่เป็นแบคทีเรียสำคัญที่มักสร้างปัญหาในสัตว์น้ำค่อนข้างมากอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่า Bacillus pumilus H2 มีการผลิตสารต้าน Vibrio ชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างเหมือนกันกับ amicoumacin A (ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า amicoumacin A มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อก่อโรค Helicobacter pylori รวมถึงสามารถต่อต้านแบคทีเรียดื้อยา methicillin-resistant Staphylococcus aureus ได้ด้วยค่ะ) XiYan Gao และคณะจึงได้ทำการสกัดสารที่คาดว่าน่าจะเป็น amicoumacin A ที่ผลิตโดย Bacillus pumilus H2 นี้ออกมา และนำไปทดสอบกับ Vibrio พบว่า amicoumacin A สามารถต่อต้าน Vibrio ได้ค่ะ โดยเยื่อหุ้มเซลล์ของ Vibrio นั้นได้รับความเสียหาย เกิดการฉีกขาดทำให้ตัวแบคทีเรียถูกทำลายไปในที่สุด เป็นผลที่น่าสนใจมากในการนำมาประยุกต์ใช้กับฟาร์มเราเพื่อควบคุมการเกิดโรคจาก Vibrio นะคะ

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้แนะนำว่าเบื้องต้นการนำสาร amicoumacin A มาใช้เพื่อฆ่าเชื้อ Vibrio โดยตรง ณ ปัจจุบันยังคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการสกัดเพื่อทำสารให้บริสุทธิ์ยังทำได้ค่อนข้างยาก และใหเข้อคิดเห็นจากงานวิจัยว่าการใช้แบคทีเรีย Bacillus pumilus H2 มาผสมในบ่อเลี้ยงเพื่อให้เชื้อมีปริมาณเหมาะสมมากพอที่จะผลิตสาร amicoumacin A ออกมาสู่บ่อเลี้ยง จะมีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติมากกว่า

สำหรับเราชาวฟาร์มอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ Bacillus pumilus H2 เป๊ะๆ ตามงานวิจัยก็ได้ค่ะ โปรไบโอติกชนิดอื่นๆ ที่เมื่อเราใช้แล้วสามารถลดการเกิดโรคได้ก็สามารถหลั่งสารต้านเชื้อก่อโรคได้เช่นกัน แต่อาจเป็นในรูปแบบหรือกลไกที่แตกต่างกันออกไป งานวิจัยนี้เป็นการหยิบยกตัวอย่างของโปรไบโอติกชนิดหนึ่งเท่านั้นว่าสามารถไปสู้รบกับเชื้อก่อโรคได้อย่างไรค่ะ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันฉบับหน้าค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)