อาหารในโลกอนาคต
ReadyPlanet.com
อาหารในโลกอนาคต

                        

ชื่อบทความ  อาหารในโลกอนาคต

คำสำคัญ   อาหารในโลกอนาคต

   เมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาส ไปอ่านบทความเก่า แต่เนื้อหาทันสมัยอยู่อันนึงนะคะ เลยอยากจะมาแบ่งปัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “future of food” หรืออาหารแห่งอนาคต ในบทความเขียนเอาไว้อย่างน่าสนใจทีเดียวว่าอาหารในอนาคตที่เรากินมันน่าจะมีแนวโน้มเป็นหน้าตาแบบไหน เริ่มต้นกันที่เขาบอกว่า “อาหารในอนาคตจะถูกปรับแต่งให้เหมาะสมเข้ากับพันธุกรรมของผู้บริโภคแต่ละคน” โดยมีแนวคิดว่าต่อไปจะมีการตรวจสอบทางพันธุกรรมหรือ DNA ของคนกินเพื่อวิเคราะห์ว่าควรกินอะไรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากนั้นจะเป็นการออกแบบอาหารที่กินเฉพาะสำหรับบุคคล และให้คำแนะนำการกินที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนทั้งชนิดอาหารและความถี่ที่แต่ละคนควรจะกิน ถือเป็นการดูแลโภชนาการรายคนกันเลยทีเดียวค่ะ

นอกจากนี้ ยังบอกอีกว่า “อาหารจะถูกออกแบบให้มีคุณค่าทางโภชนาการในตัวเองเพิ่มมากขึ้น” แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง เหตุผลนึงที่ทำให้แนวคิดนี้เป็นไปได้คือเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุกรรมที่พัฒนาขึ้นมาก คาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีพืชผลที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแก้ไข DNA ที่แม่นยำมากขึ้นจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมพืชได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ต่อไปเราอาจสามารถหาซื้อถั่วลิสงที่กินแล้วไม่แพ้ ถั่วที่มีปริมาณโปรตีนสูงเทียบเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ แครอทที่ให้ให้ร่างการดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น ปลาที่มีโอเมก้าสามมากขึ้น เป็นต้น

 “อาหารจะมีรสชาติแตกต่างจากที่เคยกินมาก่อน” เป็นอีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้นใช่ไหมคะ เพราะมีเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่ๆ มาให้เราได้ยินได้ฟังกันเรื่อยๆ มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดรสชาติใหม่ที่ไม่เคยกินและคาดไม่ถึง ถ้าใครชอบอ่านเรื่องทำนองนี้น่าจะเคยผ่านตาว่าในช่วงแรกมีบริษัทสตารท์อัพที่สร้างเนื้อที่ทำมาจากพืช หรือที่เรียกว่าอาหารจาก plant-based protein นั่นแหละค่ะ ไม่ใช่เนื้อจริงๆออกมา แต่มีรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์และมีเลือดออกมาให้ดูเหมือนเนื้อจริงๆ ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่ทดแทนเนื้อสัตว์จะช่วยเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตอนนี้ก็มีหลายบริษัทเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดและวิจัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ในไทยเองก็มีบริษัทสารท์อัพทำเรื่องนี้เหมือนกันนะคะ ต่อไปในอนาคตเราอาจได้กินไข่ที่ไม่ได้มาจากสัตว์ นมที่ไม่มีนมก็เป็นได้ค่ะ

อีกแนวคิดหนึ่งที่น่าจะถูกใจคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักคือ “อาหารที่กินได้อย่างสบายใจโดยไม่รู้สึกผิด” กินแล้วไม่ต้องเครียดว่าจะต้องไปวิ่งออกกำลังกายชดเชยแคลลอรี่ที่กินไปอีกกี่รอบสนามฟุตบอล อาหารในอนาคตจะถูกออกแบบให้มีแคลลอรี่ที่ต่ำลงโดยไม่ลดคุณค่าทางโภชนาการลง ทำให้คนกินได้โดยไม่รู้สึกผิด สุดท้ายคือแนวคิดว่าในอนาคต “อาหารมีความสร้างสรรค์มากขึ้น” เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์ทำอาหารที่เคยมีราคาแพงหรือมีการใช้อยู่ในภัตตาคารมีราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น หาซื้อง่าย ยกตัวอย่างปัจจุบันหมอทอดไร้น้ำมัน เครื่องซูวีร์ เครื่องทำไอศกรีม ทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างสรรค์อาหารในบ้านได้มากขึ้น วิธีการทำอาหารรูปแบบใหม่ๆ ก็สามารถหาได้จากในอินเทอร์เนต ดูวิธีทำจากยูทูปได้สะดวกมากขึ้น ไม่ซับซ้อนเหมือนสมัยก่อน ในต่างประเทศร้านอาหารบางร้านปรุงอาหารโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มาช่วยมากขึ้น ซึ่งลดการใช้แรงงานลง ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะฝีมือเหมือนก่อนเนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานครัวบางอย่างได้แทนที่คนและยังควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยอาหารได้สะดวกมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในรยุคที่มีโรค COVID-19 ระบาดไปทั่วโลกการใช้หุ่นยนต์จะช่วยลดคนทำงานในครัวลงได้

ในฐานะที่ชาวฟาร์มเป็นต้นน้ำของการผลิตอาหารการติดตามความก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีอาหารที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตก็จะเป็นประโยชน์มากทีเดียวค่ะ เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพในการผลิตรวมทั้งการปฏิบัติในฟาร์มของตัวเองต่อไปค่ะ ในความคิดของหมอแล้วอาหารในอนาคตจะเกิดขึ้นแน่ๆ แต่อาหารในรูปแบบที่เรากินอยู่ในปัจจุบัน ก็จะยังคงไม่หายไปไหน เพียงแต่อาจลดปริมาณลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ที่มีผลทำให้พืชหรือสัตว์บางชนิดที่ไม่ได้ปรับปรุงพันธุ์ให้ทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อาจมีปริมาณผลผลิตลดลงก็เป็นได้ค่ะ สำหรับฉบับหน้าจะเล่าอะไรกันดี มาติดตามกันต่อนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)