โปรตีนทางเลือก
ReadyPlanet.com
โปรตีนทางเลือก

                           

ชื่อบทความ โปรตีนทางเลือก

คำสำคัญ   โปรตีนทางเลือก

   สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ พบกับอีกครั้งกับเรื่องเล่าชาวฟาร์ม ฉบับนี้จะมาชวนคุยเรื่องที่จะว่าไกลตัวก็ไกล จะว่าใกล้ก็ใกล้ วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังในแง่มุมของ “โปรตีนทางเลือก” หรือ “โปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์” นั่นเองค่ะ โดยโปรตีนดังกล่าวอาจเป็นโปรตีนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช ถั่ว แมลง หรือโปรตีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองก็ได้เช่นกันค่ะ โปรตีนทางนั้นเลือกถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการบริโภคโปรตีนที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของประชากรโลก และเพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการทำฟาร์มปศุสัตว์สู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนะคะ เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะได้เห็นหรือได้ลองบริโภคโปรตีนจากพืชที่มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาเก็ตในไทยหลายๆที่กันแล้ว โดยส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบปรุงสุก เช่น นักเก็ตไก่ หรือแฮมเบอเกอร์หมู เนื้อวัวต่างๆ โดยโปรตีนทางเลือกที่เป็นที่ฮือฮาในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นเนื้อวากิวที่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโอซากาสามารถผลิตได้เป็นที่สำเร็จ โดยในครั้งนี้สมจริงชนิดที่ว่าสามารถสร้างกล้ามเนื้อ สร้างไขมัน ทำเป็นลายแทรกระหว่างกล้ามเนื้อได้อย่างสมจริง และยังสามารถจำลองหลอดเลือดเสมือนเนื้อของจริงใส่เข้าไปได้อีกด้วย เทคโนโลยีที่ใช้คือการใช้สเต็มเซลล์เพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อวัวขึ้นมาร่วมกับการใช้การพิมพ์แบบสามมิติ (3D-Printing) จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถปริ๊นเนื้อวัวได้ตามต้องการ จะกำหนดปริมาณไขมันหรือปริมาณกล้ามเนื้อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าก็สามารถออกแบบได้ ได้ยินข่าวแบบนี้ก็ชักจะยังไงอยู่นะคะ เราจะสามารถทำฟาร์มเลี้ยงปลากันต่อได้มั้ย ทำได้ตามสั่งขนาดนี้ โปรตีนทางเลือกจะมาแทนที่ 100% เลยรึเปล่า มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

ในส่วนของเนื้อปลาและอาหารทะเลนั้น โปรตีนทางเลือกก็ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคในอนาคตเช่นกัน จากปัญหาการทำฟาร์มปลาในบางพื้นที่การเลี้ยงพบว่ามีการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ที่ประเทศอาร์เจนติน่ากำลังต่อต้านการทำฟาร์มปลาแซลมอนอยู่ ณ ขณะนี้ รวมถึงการทำประมงที่ส่งผลทำให้จำนวนปลาในท้องทะเลลดลง โปรตีนทางเลือกสำหรับอาหารทะเลจึงถูกพัฒนาขึ้นทั้งในส่วนของโปรตีนจากพืชและโปรตีนที่เพาะเลี้ยงจากห้องทดลอง เช่น เนื้อปลาแซลมอน เนื้อกุ้ง และเนื้อปลาหางเหลือง โดยคาดว่าเนื้อปูและเนื้อล็อบสเตอร์น่าจะตามมาในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตามจากมุมมองของ Emma Bryce นิตยสาร Anthropocene Magazine ได้ให้ความเห็นไว้ว่า แม้ว่าโปรตีนทางเลือกสำหรับอาหารทะเลจะมีให้เลือกซื้อ แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ซื้อ จากกุ้ง หอย ปู ปลาจริงๆ ไปสู่การบริโภคโปรตีนจากห้องทดลองนั้นเป็นเรื่องยาก จากปัจจัยด้านราคา รสชาติ ความคุ้นเคยต่างๆ อีกทั้งการหันมาบริโภคแซลมอนหรือกุ้งจากโปรตีนทางเลือกที่มีในปัจจุบัน ก็ไม่มีผลต่อจำนวนประชากรของสัตว์ทั้งสองชนิดในท้องทะเล เนื่องจาก

แหล่งที่มาของแซลมอนและกุ้งส่วนใหญ่มาจากการผลิตในฟาร์มอยู่แล้ว ดังนั้นเรายังอุ่นใจได้ว่าอุตสาหกรรมการทำประมง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจะยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอยู่ในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวเราทุกคนก็คงต้องค่อยๆ ปรับตัวให้ทันกับโลกที่มีการพัฒนาไปข้างหน้ากันค่ะ ให้เกิดความยั่งยืนทั้งในแง่ของการผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการผลิตและการดำรงชีวิตในภาพรวมค่ะ

สำหรับฉบับนี้ขอลาไปเพียงเท่านี้ค่า แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)