ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
ReadyPlanet.com
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา

                            

ชื่อบทความ ปลาแซลมอนในอาร์เจนตินา

คำสำคัญ    ปลาแซลมอน

   สวัสดีท่านผู้อ่านชาวฟาร์มทุกท่านค่ะ พบกันอีกแล้วหวังว่าทุกท่านยังสบายดีมีสุขภาพแข็งแรงกันนะคะ ฉบับนี้จะมาชวนคุยกันในเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในวงการฟาร์มปลาต่างประเทศ และอาจมีผลกระทบในวงกว้างกับอนาคตการทำฟาร์มปลาในประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้ นั่นคือเรื่องที่ประเทศอาร์เจนตินาประกาศแบนการทำฟาร์มแซลมอนภายในประเทศของเค้านั่นเองค่ะ “ทำไมต้องประกาศต่อต้านการทำฟาร์มแซลมอน?” ที่ผ่านมาประเทศอาร์เจนตินาก็เป็นอีกหนึ่งในประเทศที่รัฐบาลได้มีการวางแผนที่จะประกอบการเลี้ยงปลาแซลมอนในเชิงพาณิชย์แบบกระชังปิด โดยในปี 2019 รัฐบาลอาร์เจนตินาได้มีการทำข้อตกลงเป็นเรื่องเป็นราวกับประเทศที่ส่งออกแซลมอนเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอย่างนอร์เวย์ด้วยนะคะ จนกระทั่งเมื่อช่วงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ออกมาประกาศต่อต้านการทำฟาร์มแซลมอนอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นผลจากการรับฟังเสียงของประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำฟาร์มแซลมอนแบบกระชังปิด เหตุผลหลักๆ คือการเลี้ยงแซลมอนนั้นสามารถทำได้เฉพาะในพื้นที่ระบบนิเวศน้ำทะเลอุณหภูมิต่ำ น้ำเย็นๆ เท่านั้น ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูงและมีความเปราะบาง การเลี้ยงปลาแซลมอนในกระชังปิด ณ บริเวณดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงในหลากหลายมิติ เช่น ทำให้เกิดปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง เป็นการรบกวนสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล มีการปล่อยสารพิษต่างๆ รวมถึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำพวกแบคทีเรียประจำถิ่นต่างๆ อีกด้วย โดยแนวโน้มจากเอกสารของ Just Economics report ชี้ให้เห็นว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าตลาดการบริโภคแซลมอนในอนาคตนั้นมีโอกาสที่จะเติบโตมากขึ้นถึง 5 เท่า ดังนั้นหากอาร์เจนตินายังอนุญาตให้มีการทำฟาร์มแซลมอนโดยไม่มีการควบคุม การขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว รัฐบาลอาร์เจนตินาจึงตัดสินใจออกมาประกาศแบน ซึ่งการแสดงออกในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญเนื่องจากเป็นครั้งแรกมีการต่อต้านเป็นกิจลักษณะจากภาครัฐบาล ซึ่งประเทศอื่นๆ เช่น ชิลี ที่สิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศกำลังได้รับผลกระทบจากการทำฟาร์มแซลมอน สามารถนำเอานโยบายดังกล่าวไปใช้เป็นแบบอย่างได้ทันที นอกจากนี้ผู้บริโภคในบางประเทศเช่น แคนาดา ก็เริ่มมีการปฏิเสธเมนูที่ทำจากปลาแซลมอนกันบ้างแล้วนะคะ เพื่อรณรงค์ให้มีการลดการจับแซลมอนในธรรมชาติและอาจรวมถึงการทำฟาร์มปลาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยผู้บริโภคหันไปทานปลาจากโปรตีนทางเลือกที่ทำจากพืชแทน จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวยิ่งเพิ่มความกดดันให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงแซลมอนเข้าไปอีกนะคะ เป็นที่น่าจับตามองว่าสถานการณ์ในเรื่องนี้จะดำเนินไปอย่างไร สำหรับพวกเราชาวฟาร์มอาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัว แต่อย่างหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือเทรนด์แนวโน้มของผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อที่มาของสินค้าและระบบการผลิตสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในอนาคตฟาร์มที่มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนจะได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคมากขึ้นค่ะ เรื่องแบบนี้รู้ก่อนได้เปรียบ ปรับตัวได้ก่อน ยังคงต้องติดตามกันต่อไปค่ะ สำหรับวันนี้หวังว่าทุกท่านจะสนุกสนานกับเรื่องที่นำมาแบ่งปันพูดคุยกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย สวัสดีค่ะ

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)