African swine fever
ReadyPlanet.com
African swine fever

                            

ชื่อบทความ   African swine fever,

คำสำคัญ      African swine fever, OIE

  ในบทความนี้ขอขัดจังหวะซีรีย์ “ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE” ด้วยประเด็นที่กำลังอยู่ในกระแส และกระทบกับชีวิตประจำวันของหลายๆ คน โดยเฉพาะท่านที่ชอบกินหมูกระทะ จะเป็นเรื่องอะไรไปไม่ได้เลยนอกจากเรื่องหมู หลายท่านที่ตามข่าวประจำวันจะทราบดีเกี่ยวกับข่าวโรคระบาดในหมูที่ชื่อว่า ASF หรือชื่อเต็มๆ ว่า African swine fever หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ปัจจุบัน ณ ตอนที่นั่งเขียนบทความนี้ยังไม่มีวัคซีน และวิธีรักษาที่จำเพาะนะคะ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโรคสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในเว็ปไซต์ด้านปศุสัตว์ เนื่องจากเป็นโรคที่กำลังอยู่ในกระแส อ่านถึงตรงนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า แล้ววันนี้หมอจะเขียนอะไรให้อ่านละ วันนี้ก็จะขอย้อนอดีตไปหาองค์การสุขภาพสัตว์โลกหรือ OIE นี่แหละค่ะว่า ณ ตอนที่โรค ASF แพร่ระบาดหนักในภูมิภาคอื่นของโลกเมื่อหลายปีก่อน (ปัจจุบันส่วนอื่นของโลกก็ยังคงพบการระบาดอยู่) ในสถานการณ์ตอนนั้น OIE เขาว่าอย่างไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ OIE ครั้งที่ 87 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับการกำหนดและทบทวนมาตรฐานด้านสุขภาพสัตว์ของ OIE รวมทั้งความก้าวหน้าและโอกาสในการดำเนินกิจกรรมควบคุมและกำจัดโรคระบาดสัตว์ตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ในที่ประชุมครั้งนั้น มีการนำเสนอหัวข้อบรรยายทางเทคนิค เรื่อง สถานการณ์โลกเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Global situation relating to African swine fever) โดย ดร. Budimir Plavšić และ Andriy Rozstalnyy นำเสนอข้อมูลสถานการณ์โลกของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสและปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค โรคดังกล่าวพบเฉพาะในสุกรและไม่ติดต่อสู่คน แต่ทำให้เกิดอัตราการตายสูงในสุกรซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตและเลี้ยงสุกร ตั้งแต่ปี 2562 สถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ในระดับโลก การป้องกัน ควบคุมและกำจัดปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นความท้าทายระดับโลกที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่เฉพาะแค่ภาครัฐบาลของประเทศสมาชิก OIE เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ทั้ง ภาคเอกชน อุตสาหกรรมการผลิตสุกร มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย หน่วยงานการจัดการป่าไม้ สมาคมนักล่าสัตว์ องค์กรการท่องเที่ยวและองค์กรขนส่งสัตว์ ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศจะต้องทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทั่วโลก

OIE แนะนำให้ประเทศสมาชิกควรตรวจสอบและมีดำเนินการที่ถูกต้องสอดคล้องตามมาตรฐานของ OIE เพื่อควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ประกอบด้วยมาตรการการป้องกัน และแผนการเฝ้าระวังตามความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพในการผลิตสุกรและในกิจกรรมการล่าสัตว์ การตรวจสอบย้อนกลับและการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร การควบคุมอย่างเป็นทางการที่มีประสิทธิภาพ การจัดการสุกรป่า การทำลายซากสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนอย่างปลอดภัย การพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยต่อเนื่อง และโครงการสร้างความตระหนักสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

การจัดการกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรซึ่งนับเป็นภัยคุกคามระดับโลกจะต้องอาศัยการดำเนินการประสานงานระหว่างประเทศ องค์กรอื่นๆ สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้ผลิตสุกรและผลิตภัณฑ์ ภาครัฐและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ลดความยากจน ปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ ป้องกันความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในการผลิตสุกร การพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมีความสำคัญมากในการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหานี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผนการดำเนินงานในระดับโลก มีกรอบยุทธศาสตร์ระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับชาติ เพื่อการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านอาหารและอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ปลอดภัยสำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์สุกร มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสมและมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสีย การบูรณาการแนวทางการมีส่วนร่วมและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อจัดการปัญหาการระบาดของโรคนั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เนื่องจากจะทำให้ได้รับข้อแนะนำทางเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการบริการทางสัตวแพทย์ มีการรณรงค์การสื่อสารที่เหมาะสมซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและทำให้เกิดความร่วมมือซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

ได้ความรู้ในเรื่อง ASF กันไปพอสมควรแล้ว และถ้าอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ น่าจะมีคนสังเกตได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ OIE มักนำมาอ้างถึงในมาตรการป้องกันโรคเกือบทุกโรคเลยก็คือ เรื่องของการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพที่เรากำลังติดตามกันอย่างต่อเนื่องนั่นเองนะคะ อยากจะเน้นย้ำความสำคัญของเรื่องนี้มากๆ แต่สนับสนุนให้มีการดำเนินการด้านการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างจริงจังในระบบการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจค่ะ

 

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)