กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
ReadyPlanet.com
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล

                             

ชื่อบทความ   กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล

คำสำคัญ      ประมงยั่งยืน

  ยังอยู่ในระหว่างช่วงพักเบรกของซีรีย์ยาวนะคะ ยอมรับเลยว่าการเขียนเรื่องยาวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยและใช้พลังงานสมองไปมากค่ะ ขอเล่าเรื่องเบาๆ เป็นการเติมพลังงานแทนนะคะ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาที่คนทั่วโลกตระหนักและให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารและอาหารทะเลเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศที่ผู้บริโภคมีความต้องการเลือกซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่มาจากฟาร์มที่มีระบบการจัดการประมงยั่งยืน เป็นมิตรต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการประมงทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐานและการรับรองประมงยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน จัดตั้งโครงการ Global Sustainable Seafood Initiative หรือ GSSI ในปี 2556 เพื่อปรับแนวทางปฏิบัติในการทำประมงยั่งยืนให้อยู่ในรูปแบบและแนวทางเดียวกัน เพื่อสร้างความมั่นใจและส่งเสริมการรับรองมาตรฐานอาหารทะเลให้มีความเท่าเทียมกัน สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ FAO ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ โดยหากระบบงานด้านมาตรฐานและการรับรองของหน่วยงานผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชนถูกได้รับการยอมรับว่าเท่าเทียมกันตามแนวทางของ GSSI แล้ว จะช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนเพื่อขอการรับรองมาตรฐานสากลที่มีความหลากหลายของหน่วยงานต่างๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคและผู้ซื้อในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันส่งออกอีกด้วย

สำหรับฟาร์มปลานิลเองก็ได้ทราบข่าวว่ามีผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการในต่างประเทศจำนวนมากให้ความสนใจระบบการเพาะเลี้ยงแบบประมงยั่งยืน เนื่องจากปลานิลเป็นปลาเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง และกินอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะแหล่งอาหารที่มาจากพืช ทำให้ระบบการเลี้ยงปลานิลมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการผลิตสัตว์น้ำประเภทอื่น ในปัจจุบันพบว่ามีระบบการผลิตปลานิลที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานทั้งระบบการเพาะเลี้ยงและระบบการแปรรูปปลานิลแบบประมงยั่งยืน เช่น มาตรฐานของ Aquaculture Stewardship Council (ASC) และ Global Aquaculture Alliance Best Aquaculture Practices (BAP) เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจุดมุ่งหมายหลักของมาตรฐานประมงยั่งยืน คือ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่เมื่อมองในมุมทางธุรกิจ ระบบประมงยั่งยืนจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการเข้าสู่ Niche Market ที่มีมูลค่าราคาสินค้าสูงกว่าสินค้าในกลุ่มที่มาจากระบบ

อื่นๆ อย่างไรก็ตามความท้าทายที่ผู้ประกอบการปลานิลต้องประสบคือ การขยายตัวของตลาดสินค้าประมงยั่งยืนที่ยังจำกัดในบางกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น และภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการขอการรับรองประมงยั่งยืนของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลานิล

ไว้มีโอกาสเหมาะๆ จะมาเล่าในรายละเอียดที่เจาะลึกการผลิตประมงยั่งยืนตามมาตรฐานสากล รวมทั้งทิศทางการผลิตประมงยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)