ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
ReadyPlanet.com
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก

                                     

ชื่อบทความ   ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก

คำสำคัญ      ยีสต์ ขนมปัง โปรไบโอติก

สวัสดีท่านผู้อ่านชาวฟาร์มสตอรีทุกท่าน เรื่องชวนคุยวันนี้ตามหัวข้อเลยค่ะ ทุกท่านทราบมั้ยคะว่ายีสต์ที่เราไว้ใช้สำหรับทำขนมปัง สามารถใช้เป็นโปรไบโอติกสำหรับเลี้ยงปลานิลได้?

ยีสต์ที่ใช้ทำให้ขนมปังนุ่มฟูนั้นมีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติก สามารถนำมาผสมอาหารให้ปลากินเพื่อกระตุ้นให้ปลานิลมีการเจริญเติบโตที่ดีได้เช่นกันค่ะ โดยยีสต์สำหรับทำขนมปังที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมีชื่อว่า Saccharomyces cerevisiae เป็นชนิดที่มีการใช้ในวงการผลิตอาหารมาอย่างยาวนาน ทั้งทำขนมปัง และทำไวน์ค่ะ

ในส่วนของการนำมาเป็นโปรไบโอติกในอาหารปลานิลนั้น นักวิจัยได้ทำการทดลองนำ Saccharomyces cerevisiae มาผสมอาหารปลานิลในปริมาณแตกต่างกัน ตั้งแต่ปริมาณ 1 กรัม 2 กรัม 3 กรัม และ 4 กรัม ต่ออาหารปลา 1 กิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำมาใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาด 7.6 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 7.5 กรัม ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นักวิจัยพบว่าลูกปลาที่ได้รับ Saccharomyces cerevisiae ผสมอาหารปริมาณ 4 กรัม ต่ออาหารปลา 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติกน้อยกว่า และกลุ่มที่ได้รับแค่อาหารปกติธรรมดา โดยขณะทำการทดลองไม่พบว่ามีปลาตาย จึงสามารถอนุมานได้จากการทดลองว่ายีสต์ชนิดนี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยไม่มีผลกระทบ หรือส่งผลทำให้ปลาตาย

หลังจากทราบผลการทดลองในภาพรวมเรื่องการกินอาหารแล้ว นักวิจัยได้ทำการศึกษาอวัยวะในระบบทางเดินอาหารของตัวปลาต่อ และพบว่าลำไส้ของปลาที่ได้รับ Saccharomyces cerevisiae มีพัฒนาการที่ดีกว่าปลากลุ่มอื่น โดยพบว่ามีเยื่อบุผนังลำไส้ที่ยาว และมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารที่ดีกว่า ทำให้ปลามีโอกาสในการรับและดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้ปลานิลที่ได้รับ Saccharomyces cerevisiae ผสมในอาหาร มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า โดยเฉพาะปลากลุ่มที่ได้รับ Saccharomyces cerevisiae ในปริมาณ 4 กรัม ต่ออาหารปลา 1 กิโลกรัม

นอกจากประโยชน์ในเรื่องช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตแล้ว Saccharomyces cerevisiae ยังส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของตัวปลาอีกด้วยค่ะ เนื่องจากปลามีโครงสร้างของภูมิคุ้มกันที่เยื่อเมือก และ goblet cells ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการรุกรานจากจุลชีพก่อโรคบริเวณลำไส้ของปลาที่มากขึ้นเช่นกัน

โดยสรุปจากการศึกษาวิจัยนี้ทำให้เราทราบว่า ยีสต์ทำขนมปังชนิด Saccharomyces cerevisiae มีคุณสมบัติกระตุ้นการเจริญเติบโต และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยไม่มีผลกระทบต่อการกินอาหารและการตายของปลา ทำให้

ปลาเจริญเติบโต มีน้ำหนักตัวและมีความสามารถในการต้านทานโรคของระบบทางเดินอาหารได้ดีขึ้น แม้ว่า ณ ปัจจุบันนี้การศึกษาการนำ Saccharomyces cerevisiae มาใช้เลี้ยงปลานิลอาจจะยังมีน้อย แต่จากคุณสมบัติดังกล่าว มีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตจะมีการนำ Saccharomyces cerevisiae มาใช้เพื่อเป็นโปรไบโอติกในการเลี้ยงปลานิลอย่างจริงจัง หรือหากท่านผู้อ่านท่านใดได้มีการทดลองนำยีสต์ขนมปังมาใช้เป็นโปรไบโอติกเพื่อเลี้ยงปลานิลกันมาบ้างแล้ว สามารถนำความรู้ประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ สำหรับฉบับต่อไปจะนำเรื่องไหนมาพูดคุยกันอีก โปรดติดตามนะคะ ฉบับนี้ขอลาไปก่อนค่า

ที่มา: https://thefishsite.com/articles/the-benefits-of-bakers-yeast-extend-beyond-growth-promotion

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)