การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
ReadyPlanet.com
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์

                                          

ชื่อบทความ   การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์

คำสำคัญ     การป้องกัน วัคซีน การระบาด

สวัสดีผู้อ่านชาวฟาร์มอีกครั้ง ช่วงนี้หวังว่าทุกท่านก็ยังคงรักษาสุขภาพกันอย่างดีเยี่ยมเหมือนเดิม ถ้ายังอยู่ในประเทศไทยก็ยังคงต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และพกแอลกอฮอล์ติดกระเป๋ากันไว้เพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกันหลายคนที่ติดตามข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสในต่างประเทศ

อาจอ่านข่าวเจอว่าหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป และเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ ได้ออกประกาศยกเลิกการสวมหน้ากากในที่สาธารณะเรียบร้อยแล้ว โดยให้เหตุผลว่าสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ในระดับที่สามารถบริหารจัดการระบบสาธารณสุขของประเทศได้แบบไม่มีความสูญเสียมากเหมือนในช่วงแรกๆ ของการระบาดโรค หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละประเทศควบคุมไม่ให้เกิดความสูญเสียจากโรคได้ดีมากขึ้นก็คือการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรคนั่นเอง การเกิดโรคโควิด 19 ก็ทำให้หลายๆ คนเข้าใจในเรื่องความสำคัญการทำวัคซีนมากขึ้นเพราะเห็นได้ชัดเจนว่าการทำวัคซีนสามารถลดความรุนแรงและความสูญเสียเมื่อเกิดการระบาดของโรคได้จริง หลายๆ ท่านตอนนี้อาจได้รับวัคซีนมากกว่า 2 เข็ม หรือ 3 เข็ม เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถป้องกันความรุนแรงของไวรัสได้ ในกรณีที่อาจติดเชื้อ วัคซีนจะทำให้อาการของโรคไม่รุนแรงและสามารถรักษาให้หายได้โดยที่ไม่มีผลกระทบถึงปอดซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมายของเชื้อไวรัส

สำหรับโรคในสัตว์ก็เช่นเดียวกัน การใช้หลักการเรื่องของการป้องกันดีกว่าการรักษา ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 ในการรักษาสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง เมื่อไม่นานมานี้องค์การสุขภาพสัตว์โลกก็ได้ตีพิมพ์บทความในเวปไซต์ที่ยังคงเน้นย้ำในเรื่องนี้เอาไว้ว่า “Prevention is better than a cure” การให้วัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์ด้วยการฉีดวัคซีน เมื่อมีวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค และยกตัวอย่างโรค Rinderpest ที่ถูกกำจัดไปหมดทั้งโลกอย่างสมบูรณ์ด้วยมาตรการการฉีดวัคซีน โรค Rinderpest ครั้งหนึ่งเคยเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงสร้างความสูญเสียในปศุสัตว์อย่างมาก โรคระบาดสัตว์หลายๆ โรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรค Peste des petits ruminants ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง หรือโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease, FMD) ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีนที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของวัคซีนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนสัตว์ให้ได้ผลในการป้องกันโรคที่ดี ต้องให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยคำนึงถึงปัจจัยในการเก็บรักษาและการขนส่งเพื่อรักษาคุณสมบัติของวัคซีนไว้

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพสัตว์ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร การค้าระหว่างประเทศ และบางครั้งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสังคมตามมาเมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ องค์การสุขภาพสัตว์โลกร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและผู้บริจาค ได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดหาและส่งมอบวัคซีน

สำหรับสัตว์ที่มีคุณภาพสูงไปยังประเทศที่มีความต้องการใช้วัคซีน เพื่อจัดการกับโรคระบาดในสัตว์ทั่วโลก โดยการจัดตั้งธนาคารวัคซีน หรือ vaccine bank ขึ้นมา ธนาคารวัคซีนแห่งแรกก่อตั้งขึ้นเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดนกในปี 2549 และองค์การสุขภาพสัตว์โลกได้ช่วยเหลือสมาชิกในการแก้ไขปัญหาโรคสัตว์หลายชนิด ธนาคารวัคซีนขององค์การสุขภาพสัตว์โลกจะอนุญาตให้จัดหาและส่งเฉพาะวัคซีนคุณภาพสูงที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่องค์กรได้กำหนดไว้อย่างรวดเร็วและในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป วัคซีนจะถูกจัดส่งออกไปอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือจึงสามารถมุ่งเน้นการจัดการประเด็นสำคัญด้านอื่นๆ ในการจัดการโรคของประเทศได้มากขึ้น เช่น การสร้างความตระหนัก การฝึกอบรมผู้ฉีดวัคซีน หรือการปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพให้เข็มแข็ง เป็นต้น

จากที่อ่านมาจะเห็นได้ว่าการจัดการด้านวัคซีนที่เกิดขึ้นในสัตว์นั้น ก็มีการดำเนินงานที่คล้ายคลึงกันระหว่างองค์การสุขภาพสัตว์โลก และองค์การอนามัยโลก (WHO) ใช่ไหมคะ เพราะมีจุดมุ่งหมายในด้านการรักษาสุขภาพของสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน ฉบับหน้าจะเล่าเรื่องอะไรค่อยมาติดตามกันค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)