Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
ReadyPlanet.com
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน

                                           

ชื่อบทความ   Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน

คำสำคัญ        Nutraceuticals amoebic gill disease ปลาแซลมอน

คาดว่าหลายๆ ท่านน่าเคยได้ยินประโยคนี้กันบ้างนะคะ “อาหารคือยา” และ “you are what you eat” กินอะไรได้แบบนั้น วันนี้ก็จะมาเล่าให้อ่านในเรื่องของอาหารนี่แหละค่ะ โดยเฉพาะอาหารที่เรียกว่า “nutraceuticals” หรือโภชนเภสัช วันนี้มาดูกันว่า Nutraceuticals นำมาใช้ในการรักษาโรค amoebic gill disease หรือ AGD ในปลาแซลมอนอย่างไร

โรค AGD เกิดจากปรสิต Paramoeba perurans ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกเกิดการอักเสบและถูกทำลายส่งผลให้ปลาหายใจลำบาก ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ปลาตายได้ การระบาดมักเกิดขึ้นในฟาร์มปลาแซลมอนและอาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหากไม่ได้รักษา โดยปัจจุบันเมื่อพบปลาแซลมอนป่วยจะนำปลาแซลมอนไปแช่ในอ่างน้ำจืดหรือใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อกำจัดอะมีบา ซึ่งการรักษาที่ว่ามานี้ได้ผลไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากปลาสามารถติดปรสิต Paramoeba perurans ได้อีกและเกิดการอักเสบของเหงือกได้ซ้ำๆ เรื่อยๆ นอกจากนี้ การรักษาโดยการแช่น้ำจืดและใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำให้ปลาเกิดความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงออสโมติกอย่างรุนแรง มีผลต่อสวัสดิภาพสัตว์ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันปรสิต Paramoeba perurans และการรักษาบางครั้งมุ่งเป้าไปที่ปรสิตเพื่อลดความสามารถในการยึดเกาะเนื้อเยื่อเหงือก แต่ก็ยังมีการวิจัยเพื่อคัดเลือกปลาแซลมอนที่มีความต้านทานการติดเชื้อ AGD ได้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการติดเชื้อซ้ำยังคงสูง และเกิดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีในการป้องกันการเกิดโรคในปลาแซลมอน

หนึ่งในงานศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาโรค AGD คือ การนำ “nutraceuticals” หรือโภชนเภสัชมาใช้ ในรูปแบบของอาหารเสริมในอาหารสัตว์น้ำที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของปลามีการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าโภชนาการมีส่วนช่วยให้ปลาแอตแลนติกแซลมอนมีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น ในการทดสอบมีการใช้ปลาแอตแลนติกแซลมอน 240 ตัว แบ่งออกเป็น 6 ถัง แยกกัน โดยมีกลุ่มควบคุม 2 ถัง และกลุ่มที่ให้อาหารแบบโภชนเภสัช 4 ถัง จากนั้นทดลองใส่เชื้อปรสิตลงไป (อะมีบา 500 ตัวต่อน้ำหนึ่งลิตรเป็นเวลาสี่ชั่วโมง) แล้วเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเหงือกจากปลากลุ่มควบคุม 6 ตัวและปลาทดลอง 6 ตัว หลังจากได้รับเชื้ออะมีบาครั้งแรก หลังจากผ่านไป 14 วันและ 21 วัน เพื่อประเมินการติดเชื้อปรสิตและสภาพของเหงือก

ผลการวิจัยชี้ว่า nutraceuticals สามารถชะลอการลุกลามของการติดเชื้อในเนื้อเยื่อเหงือก เมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มทดลองมีปลาแซลมอนที่ให้ผลบวก AGD น้อยกว่าปลาในกลุ่มควบคุม และ 14, 21 วันหลังจากการติดเชื้อ พบว่าปลาในกลุ่มควบคุมแสดงอาการเด่นของ AGD ในขณะที่ปลาในกลุ่มทดลองแสดงอาการทาง

คลินิกเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการของ AGD เลย นอกจากนี้ ปลาในกลุ่มควบคุมแสดงอาการทางคลินิกของ AGD มากขึ้น และการติดเชื้อดูเหมือนจะรุนแรงขึ้น โดยพบรอยโรคครอบคลุมเนื้อเยื่อเหงือกมากกว่า ณ เวลา 21 วันหลังจากการติดเชื้อ

เมื่อพิจารณาข้อมูลการศึกษาจะพบว่าอาหารที่ให้ส่งผลกระทบต่อการแสดงออกของยีนที่ควบคุมชั้นเยื่อเมือกของปลาแซลมอนและระบบป้องกันเยื่อเมือก ชั้นเยื่อเมือกเป็นเกราะป้องกันทางกายภาพและทางเคมีที่สำคัญที่ช่วยปกป้องปลาจากการติดเชื้อ การกระตุ้นกลไกการป้องกันนี้จะสามารถป้องกันปรสิตไม่ให้เกาะติดกับเนื้อเยื่อเหงือกได้โดยง่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความต้านทานต่อ ADG อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ว่าทำไมยีนที่ควบคุมชั้นเยื่อเมือกของปลาแซลมอนถูกกระตุ้น และเห็นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทางโภชนาการและเยื่อเมือกกับการติดเชื้อ AGD เพิ่มเติม อีกทั้งการทดลองเบื้องต้นที่ทำในห้องปฏิบัติการอาจยังไม่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้ ต้องพัฒนางานด้าน nutraceuticals ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับผลการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของอาหารสัตว์จนสามารถนำไปใช้ได้จริงในฟาร์มต่อไป

ที่มา https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0044848622000977

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)