โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
ReadyPlanet.com
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง

                                            

ชื่อบทความ   โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง

คำสำคัญ       โปรตีน เคย

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านอีกครั้ง บทความวันนี้จะมาชวนคุยในฝั่งการเลี้ยงกุ้งกันบ้างนะคะ เชื่อว่าต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ มานี้ คงส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะต้นทุนอาหาร ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ในการจัดการฟาร์มเลย สำหรับเรื่องของแหล่งโปรตีนที่ดีมีคุณภาพ แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงกุ้งเพื่อความสมบูรณ์ของผลผลิต อันจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากับการลงทุน

วันนี้เราหยิบยกงานวิจัยที่มีการเปรียบเทียบคุณภาพแหล่งโปรตีนที่นำมาใช้เลี้ยงกุ้งขาวมาเล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่อจะเป็นไอเดียดีดีให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้นำไปปรับใช้กันนะคะ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานจากผู้วิจัยในประเทศบราซิล ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคมปี 2565 ที่ผ่านมานี่เองค่ะ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแหล่งโปรตีนจากหลากหลายชนิด ได้แก่ โปรตีนจากถั่วเหลือง โปรตีนจากข้าวโพด โปรตีนผลพลอยได้จากสัตว์ปีก โปรตีนจากเนื้อและกระดูก โปรตีนจากขนสัตว์ปีก โปรตีนจากเลือดผง โปรตีนผลพลอยได้จากปลานิล โปรตีนจากปลาทะเล โปรตีนผลพลอยได้จากเนื้อปลาแซลมอน และโปรตีนจากเคย (krill) โดยผู้วิจัยได้ใช้โปรตีนดังกล่าวมาทดลองเปรียบเทียบในการเลี้ยงกุ้งขาวระยะต่างๆ ทั้งหมด 3 ระยะ เป็นเวลารวมทั้งสิ้น 30 วัน จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนรวม (crude protein) และกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) ของกุ้งแต่ละกลุ่มทดลอง โดยผลการทดลองพบว่าโปรตีนที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์น้ำ มีประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนรวมและกรดอะมิโนจำเป็นที่ค่อนข้างสูง และดีกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งโปรตีนจากพืชและสัตว์บก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจากเคย หรือสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายกุ้งนั้น มีค่าการย่อยได้ของโปรตีนรวมสูงมากถึง 84.3% ในขณะที่การย่อยได้ของกรดอะมิโนจำเป็นสูงถึง 86.5% ซึ่งสูงที่สุดในทุกๆ ชนิดแหล่งโปรตีนที่นำมาใช้ศึกษาในการทดลองนี้ โดยกุ้งที่ได้รับโปรตีนจากเคยเป็นส่วนผสมในอาหารมีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตต่อสัปดาห์สูงที่สุด และมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (feed conversion ratio; FCR) ต่ำที่สุด ดังนั้น จากผลการทดลองชี้ให้เห็นชัดเจนว่าโปรตีนจากเคยจึงถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดในการทดลองครั้งนี้

เราทราบกันดีว่าอาหารเป็นปัจจัยที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงและมีความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์เกือบทุกชนิด ซึ่งรวมถึงกุ้งด้วย การมีแหล่งโปรตีนที่มีประสิทธิภาพการย่อยได้ทั้งโปรตีนรวมและกรดอะมิโนจำเป็นที่ดี จึงถือเป็นข้อได้เปรียบในการเลือกมาใช้ ควรนำมาการพิจารณาประกอบการปรับสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงอย่างถี่ถ้วน แม้โปรตีนจากสัตว์น้ำจะมีราคาแพง แต่จากงานวิจัยชิ้นนี้ ประสิทธิภาพการย่อยได้และการนำไปใช้ได้ของโปรตีน

จากเคยมีค่าค่อนข้างสูง จึงถือเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับฟาร์มที่ต้องการกระตุ้นการเจริญเติบโตในการนำไปพิจารณาปรับสูตรอาหารอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ

 

หวังว่าข้อมูลที่นำมาแชร์กันในวันนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหหน้าค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)