การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ReadyPlanet.com
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)

                                              

ชื่อบทความ   การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)

คำสำคัญ       การใช้ยาต้านจุลชีพ สมเหตุผล สัตว์น้ำ องค์การสุขภาพสัตว์โลก

ปัจจุบันหลายท่านน่าจะเคยได้ยินปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในคนและสัตว์ ประชาคมโลกและประเทศไทยก็ได้มีแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพเพื่อลดและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

สำหรับด้านการเกษตรและอาหาร องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศได้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำไปใช้ปฏิบัติในการลดและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพต่อไป โดยโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO หรือ Codex Alimentarius Commission ได้กำหนดมาตรฐานหลักปฏิบัติในการลดและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพจากอาหาร (Code of Practice to Minimize and Contain Foodborne Antimicrobial Resistance) ที่ครอบคลุมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลทั้งในสัตว์ พืช และการผลิตอาหาร และองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ World Organisation for Animal Health (ชื่อย่อเดิม คือ OIE ตอนนี้เปลี่ยนใหม่เป็น WOAH แล้วค่ะ) ได้กำหนดมาตรฐานการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์อย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล (Responsible and Prudent Use of Antimicrobial Agents in Veterinary Medicine) ที่มุ่งเน้นการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในขั้นตอนการผลิตสัตว์

ในส่วนของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำนั้น องค์การสุขภาพสัตว์โลกก็ได้ออกข้อกำหนดเอาไว้สำหรับให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเช่นกันค่ะ

โดย WOAH เห็นว่าหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบและสมเหตุผลในสัตว์น้ำ จะช่วยปกป้องทั้งสุขภาพสัตว์และสุขภาพของมนุษย์ ในเอกสารหลักการของ WOAH จะระบุหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งระบุหน้าที่ขององค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการผลิต การจัดจำหน่าย และการใช้ยาต้านจุลชีพ จะมีรายละเอียดยังไงมาติดตามกันค่ะ

วัตถุประสงค์ของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผลคืออะไร

การใช้อย่างรับผิดชอบและสมเหตุผลจะต้องคำนึงถึงมาตรการและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่มีจุดมุ่งหมายในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเกิดและแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และชิ้นส่วนพันธุกรรมที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพในกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ เพื่อ (1) ให้เกิดความมั่นใจว่ามีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคสัตว์และโรคในมนุษย์ (2) ให้เกิดการใช้ยาอย่างมีจริยธรรมและใช้ตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจเพื่อให้สัตว์

น้ำมีสุขภาพที่ดี (3) ป้องกันหรือลดการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาและชิ้นส่วนพันธุกรรมดื้อยาจากสัตว์น้ำสู่มนุษย์และสัตว์บก และ (4) ป้องกันไม่ให้เกิดสารตกค้างจากยาสัตว์ในอาหารมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ในอาหาร

ผู้มีอำนาจหน้าที่ (Competent Authorities) ต้องมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง (ในบ้านเราก็จะเป็น อย.ที่ขึ้นทะเบียนยาสัตว์ กรมปศุสัตว์และกรมประมงที่ช่วยดูแลสุขภาพสัตว์บกและสัตว์น้ำของประเทศ)

- หน่วยงานที่รับผิดชอบในการอนุญาตขึ้นทะเบียนยาและจำหน่ายมีบทบาทสำคัญในการกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขของการอนุญาตและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาที่เหมาะสมแก่สัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำ เพื่อให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างถูกต้องและสมเหตุผล

- หน่วยงานที่มีอำนาจจะต้องรับผิดชอบในการจัดทำเอกสารแนวทางที่เกี่ยวกับการประเมินผลการใช้ยาต้านจุลชีพ

- เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำต้องส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล มีมาตรการและกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อให้มีการควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงสัตว์ การจัดทำโปรแกรมดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ เช่น การฉีดวัคซีน การดูแลสุขภาพสัตว์ในระดับฟาร์ม และการปรึกษาด้านสุขภาพสัตว์น้ำกับสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำคนอื่นๆ ภายนอกฟาร์ม ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้จะช่วยลดความชุกของโรคสัตว์น้ำ และช่วยลดโอกาสในการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อรักษาโรคลง

- เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการพิจารณาตรวจสอบคำขออนุญาต การขึ้นทะเบียน จะต้องพิจารณาประเมินความเสี่ยงต่อสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์น้ำ พิจารณาประเภทของยาต้านจุลชีพที่มีสารออกฤทธิ์เฉพาะ และในการประเมินความปลอดภัยควรพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมนุษย์จากการใช้ยาในสัตว์น้ำ

- ต้องมีการควบคุมการโฆษณายาต้านจุลชีพให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และไม่สนับสนุนการโฆษณาโดยตรงที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย

- หน่วยงานผู้มีอำนาจต้องมีการรวบรวมข้อมูลการควบคุมการใช้ยา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงมาตรการและกลุยุทธ์ในการจัดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลมากขึ้น เพื่อลดการดื้อยาต้านจุลชีพในระบบการผลิต

- เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจควรเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวโน้มของการดื้อยาต้านจุลชีพให้แก่สัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำทราบ และควรตรวจสอบประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการที่ทดสอบความไวรับของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพอยู่เสมอ

- เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ยาต้านจุลชีพควรทำงานร่วมกัน เพื่อจัดทำขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการรวบรวมและทำลายยาต้านจุลชีพที่ไม่ได้ใช้หรือหมออายุอย่างถูกต้องและปลอดภัย

บทความหน้าเรามาอ่านต่อกันค่ะ ว่าคนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสัตว์ต้องมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลยังไงบ้าง

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)