การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
ReadyPlanet.com
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)

                                                

ชื่อบทความ   การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)

คำสำคัญ       การใช้ยาต้านจุลชีพ สมเหตุผล สัตว์น้ำ องค์การสุขภาพสัตว์โลก

จากบทความก่อนหน้าเราทราบว่าองค์การสุขภาพสัตว์โลกกำหนดหลักการ วัตถุประสงค์ของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำ และความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจหน้าที่ (Competent Authorities) คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสัตว์ ตัวแทนจำหน่ายยาทั้งปลีก-ส่ง และผู้ประกอบการด้านสัตว์น้ำเอาไว้ยังไงบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาต่อกันเลยค่ะ ว่าสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำ (aquatic animal health professionals) ต้องมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลยังไงบ้าง

- สัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำ จะต้องสามารถตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคสัตว์น้ำได้ รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการปฏิบัติที่ดี มีสุขอนามัย มีการทำวัคซีน และกลยุทธ์ทางเลือกอื่นๆ เพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์น้ำ

- มีการประเมินสุขภาพสัตว์น้ำอย่างละเอียด เช่น การตรวจทางคลินิก การตรวจชันสูตร การเพาะแยกหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในห้องห้องปฏิบัติการ และหากสามารถทำได้ก่อนที่จะเริ่มการรักษาที่เฉพาะเจาะจงด้วยยาต้านจุลชีพควรมีการทดสอบยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในการใช้ นอกจากนี้ มีการประเมินปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยง มีการตรวจสอบและจัดการคุณภาพน้ำก่อนใช้ยาต้านจุลชีพเนื่องจากอาจเป็นปัจจัยหลักหรือปัจจัยร่วมที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อ

- เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ ควรเริ่มการรักษาโดยเร็วที่สุด ต้องสั่งจ่ายยา และมีการจัดการบริหารยาภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

- ควรมีการทดสอบความไวรับของเชื้อแบคทีเรียต่อยาต้านจุลชีพ เพื่อยืนยันการเลือกวิธีการรักษาโดยเร็วที่สุด และเก็บบันทึกผลไว้

- สัตวแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตควรกำหนดวิธีการรักษาให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงขนาดยา ช่วงเวลาในการรักษา ระยะเวลาในการรักษา ระยะเวลาการหยุดยา และจำนวนของสัตว์น้ำที่รักษา

- การใช้ยาต้านจุลชีพนอกเหนือจากฉลากต้องเป็นการใช้ที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำบันทึกเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพและเก็บบันทึกไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามคำแนะนำ ซึ่งสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์น้ำจะสามารถใช้บันทึกเหล่านี้ในการประเมินประสิทธิภาพของวิธีการรักษา อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ รวมทั้งประสิทธิภาพของยา

นอกเหนือจากความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วต้องมีการฝึกอบรมการใช้ยาและงานวิจัยเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ

- ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมยา โรงเรียนสัตวแพทย์ สถาบันวิจัย และองค์กรวิชาชีพสัตวแพทย์ และผู้ใช้ยา ต้องมีการฝึกอบรมผู้ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทราบถึงวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคและการดื้อยาต้านจุลชีพที่พบ ทำให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อไป

- หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ควรสนับสนุนให้มีการวิจัย เพื่อให้มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพ หรือการวิจัยเพื่อหาทางเลือกอื่นทดแทนการใช้ยาต้านจุลชีพ

จบกันไปแล้วสำหรับซีรีย์ยาวเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับชาวฟาร์มนะคะ ไว้พบกันใหม่ค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)