อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ReadyPlanet.com
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                                                   

ชื่อบทความ   อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


คำสำคัญ       อาหารสัตว์

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ วันนี้จะมาชวนพูดคุยเรื่องสูตรอาหารกันค่ะ เป็นแนวคิดการออกแบบสูตรอาหารโดยมีวัตถุประสงค์มากกว่าเพื่อใช้เป็นอาหารให้แก่ปลาเพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุประสงค์อย่างอื่นร่วมด้วย หรือที่เรียกว่า Multi-Objective (MO) formulation นั่นคือมีการออกแบบสูตรอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ และยังคงคุณประโยชน์ต่อตัวสัตว์ไว้ได้ด้วย ซึ่งแนวคิดนี้สามารถพบได้ในแถบประเทศที่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือประเทศในแถบยุโรปนั่นเองค่ะ

โดยงานวิจัยที่จะหยิบยกมาพูดคุยในวันนี้มาจากประเทศฝรั่งเศส โดยนักวิจัย Wilfart และคณะได้มีการทดลองนำเอาสูตรอาหารแบบ MO ที่ให้ชื่อสูตรว่า Eco-friendly หรือ ECO-diet มาทดลองเลี้ยงปลาเทราต์ค่ะ โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างการให้อาหารสูตร Eco-friendly และสูตรปกติ ผลการทดลองพบว่าในภาพรวมภายหลังการใช้เลี้ยงปลาเทราต์เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ อาหารสูตร ECO-diet ให้ผลการทดลองไม่ต่างกับการใช้สูตรอาหารปกติ โดยปลามีอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามจากการประเมินในระยะยาว การเลี้ยงปลาเทราต์ด้วยอาหารสูตร ECO-diet อาจส่งผลให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง นอกจากนี้อาหารสูตร ECO-diet ยังมีข้อเสียที่สำคัญอีกอย่าง คือมีอัตราการกินได้ของปลาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสูตรอาหารปกติ สาเหตุอาจมาจากสูตรอาหาร ECO-diet นั้นมีการลดปริมาณแหล่งอาหารที่มาจากปลาป่น (fish meal) และแหล่งอาหารประเภทน้ำมันจากปลา (fish oil) ลงเป็นอย่างมาก อาจส่งผลให้ความน่ากินของอาหารลดลงไปด้วย จึงทำให้มีค่าการกินได้น้อยลง ส่วนสาเหตุที่จำเป็นต้องลด fish meal และ fish oil ลงนั้น เนื่องจากแหล่งอาหารทั้งสองชนิดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมากและมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทีมวิจัยจึงหันไปเลือกใช้แหล่งอาหารชนิดอื่นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เช่น แหล่งอาหารจากพืช ชนิดต่าง ๆ แม้จะทำให้ อาหาร ECO-diet มีการใช้แหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายชนิดมากขึ้น แต่ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง และมีราคาต้นทุนอาหารที่ถูกว่า ทั้งนี้แหล่งอาหารจากพืชที่ใช้จะต้องมีการคำนวณผลกระทต่อสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียด และจะต้องมีผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน โดยพืชบางชนิดเช่น rape seed หรือ ถั่วเหลือง ที่ในระบบการผลิตต้องมีการใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกมาก สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง ก็จะไม่ถูกนำมาใช้ในสูตรอาหารประเภท ECO-diet เช่นกัน

แม้ในขณะนี้เราอาจยังไม่เห็นภาพการนำอาหารสูตรอาหารประเภท Multi-Objective (MO) formulation มาใช้กันอย่างชัดเจน แต่แนวคิดดังกล่าวก็ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อการลดผลกระทบต่อที่แวดล้อมที่เกิดจาก

การเพาะเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่โลกให้ความสนใจ ซึ่งสูตรอาหารประเภทท Multi-Objective formulation นี้ กำลังได้รับการศึกษาพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ทั้งในการเลี้ยงสัตว์น้ำและการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์ชนิดอื่น ๆ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต หากงานวิจัยมีความก้าวหน้าจนสามารถปรับให้สูตรอาหารประเภท Eco-friendly มีศักยภาพในการเลี้ยงเทียบเท่ากับอาหารสูตรปกติได้ หรือตลาดผู้บริโภคให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้มากขึ้น เราอาจจะได้ปรับนำเอาแนวนี้มาใช้ประยุกต์กับสูตรอาหารที่เราใช้เลี้ยงปลาหรือกุ้งในฟาร์มบ้านเรากันก็ได้นะคะ หวังว่าเรื่องที่นำมาฝากกันในวันนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ

ถ้าอยากอ่านเพิ่มเติมก็ไปดูได้ตาม link นี้ค่ะ https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2022.738826

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)