โปรไบโอติกแบบ multi-species
ReadyPlanet.com
โปรไบโอติกแบบ multi-species

                                                     

ชื่อบทความ โปรไบโอติกแบบ multi-species

คำสำคัญ โปรไบโอติก multi-species

สวัสดีท่านผู้อ่านชาวฟาร์มทุกท่านค่ะ วันนี้เรากลับมาพูดคุยกันเรื่องโปรไบโอติกกันบ้างนะคะ มีสาระดีดีมาอัพเดตกันเล็กน้อย สำหรับท่านที่มีการใช้โปรไบโอติกอยู่แล้วหรือท่านที่กำลังสนใจจะใช้โปรไบโอติกผสมในอาหารค่ะ หัวข้อในวันนี้หยิบยกมาจากงานวิจัยในประเทศบังคลาเทศปี 2022 ที่ผ่านมา ว่าด้วยแนวคิดที่ว่า “การใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกมากกว่า 1 ชนิด หรือที่เรียกว่าแบบ multi-species นั้น ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้แบบชนิดเดียว หรือ single specie” ค่ะ โดยนักวิจัยได้ทดลองใช้โปรไบโอติกเป็นแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus spp. ปริมาณ 1 × 109 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ร่วมกับแบคทีเรียกลุ่ม Lactobacillus spp. ปริมาณ 1 × 1011 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ผสมอาหารเลี้ยงลูกปลานิลขนาด 6 กรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เมื่อครบตามกำหนดจึงนำปลามาประเมินประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ทั้งในส่วนของน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต ดัชนีน้ำหนักปลาต่อน้ำหนักตับ ดัชนีน้ำหนักปลาต่อน้ำหนักอวัยวะภายใน รวมไปถึงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ สมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และลักษณะโดยรวมของลำไส้ ตับ และกล้ามเนื้อค่ะ

โดยผลการทดลองพบว่าปลานิลกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ผสมโปรไบโอติกแบบ multi-species มีประสิทธิภาพการการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารที่ดีกว่าปลากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าในลำไส้ของปลาในกลุ่มที่ผสมอาหารด้วยโปรไบโอติกแบบ multi-species มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมดในลำไส้และแบคทีเรียกลุ่มที่สร้างกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria, LAB) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน อีกทั้งยังพบว่าลักษณะกายวิภาคลำไส้ของปลามีความสมบูรณ์ มีโครงสร้างดูดซึมอาหารที่ยาวและกว้างขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการดูดซึมและการนำอาหารไปใช้ของตัวปลาค่ะ ในส่วนของตับและกล้ามเนื้อ นักวิจัยพบว่าปลาในกลุ่มที่ผสมอาหารด้วยโปรไบโอติก แบบ multi-species ตับและกล้ามเนื้อปลามีความสมบูรณ์ และยังมีปริมาณมากกว่าเมื่อเทียบกับปลาในกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ โดยในการทดลองนี้ ผู้วิจัยได้ผสมโปรไบโอติกทั้งสองชนิดในปริมาณ 0.5-1 มิลลิลิตรต่ออาหารปริมาณ 1 ลิตรค่ะ

จากผลการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้เราจะเห็นว่าการใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกมากกว่า 1 ชนิด หรือที่เรียกว่าแบบ multi-species นั้น ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้แบบชนิดเดียวอย่างเห็นได้ชัดเลยนะคะ ซึ่งนอกจากงานชิ้นนี้ก็ยังมีงานวิจัยจากทีมอื่น ที่ทำการทดลองในลักษณะคล้ายๆ กันด้วยนะคะ และผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจเช่นกันค่ะ อาทิเช่น การใช้ Enterococcus faecalis ร่วมกับ Lactobacillus fermentum และ Leuconostoc mesenteroide เลี้ยงปลาคาร์พ ส่งผลให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ดี หรืออีกสูตรการทดลองคือการใช้

Saccharomyces cerevisiae ร่วมกับ Lactobacillus acidophilus ในการเลี้ยงปลาช่อนเอเชีย ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิตในลำไส้ปลามีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกันค่ะ สำหรับท่านใดที่มีการใช้โปรไบโอติกแบบ multi-species สามารถมาแชร์ผลลัพธ์ของการนำไปใช้จริงกันได้นะคะ ผลลัพธ์จากการทดลองในห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้จริงในฟาร์มอาจมีความแตกต่างกันได้ หรือหากท่านไหนมีสูตรการเลือกผสมจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ยินดีเผยแพร่ ก็สามารถมาแชร์กันได้เช่นกันค่ะ จะยินดีเป็นอย่างมาก หวังว่าเนื้อหาในวันนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันฉบับหน้าค่ะ

ท่านใดสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตรงนี้ค่ะ https://doi.org/10.1111/are.16052

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)