วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
ReadyPlanet.com
วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี

 

รหัสบทความ 194

ชื่อบทความ วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี

สวัสดีท่านผู้อ่านชาวฟาร์มทุกท่าน ช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ได้ทานวิตามินซีป้องกันหวัดกันบ้างมั้ยคะ รู้หรือไม่ว่านอกจากวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิต้านทานแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ชะลอริ้วรอย และช่วยเพิ่มความกระจ่างใสให้ผิวพรรณได้ ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ถ้าเรานำมาเสริมในอาหารให้ปลานิล จะส่งผลต่อตัวปลาอย่างไรบ้าง มีมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ค่ะ

จากการทดลองเสริมวิตามินซีในอาหาร โดยนักวิจัยชาวอียิปต์ Ibrahim และคณะในปี 2022 ที่ได้ทำการทดลองเลี้ยงลูกปลานิลขนาดตัวน้ำหนัก 15 กรัม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้ปลาได้รับวิตามินซีผสมอาหารในปริมาณแตกต่างกันที่ 0 มิลลิกรัม, 200 มิลลิกรัม, 300 มิลลิกรัม และ 400 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นเวลาทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าวิตามินซีส่งผลดีต่อสุขภาพของปลานิลในหลากหลายด้าน ดังนี้

ด้านการการเจริญเติบโต ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าปลานิลที่ได้รับวิตามินซี มีน้ำหนักตัวมากกว่าปลาที่ไม่ได้รับวิตามินซีอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งผลของน้ำหนักตัวรวม (total weight gain) และน้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อวัน (daily weight gain) เป็นผลอันเนื่องมาจากวิตามินซีมีส่วนในการเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ในกระแสเลือด อ้างอิงจากผลการทดลองที่พบว่าปลาในกลุ่มที่ได้รับวิตามินซี มีระดับ growth hormone เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปลากลุ่มที่ได้รับวิตามินซี 400 มิลลิกรัม นักวิจัยตรวจพบ growth hormone ในซีรัมในระดับสูงที่สุด ซึ่งหน้าที่ของ growth hormone คือควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย จึงส่งผลให้ปลามีน้ำหนักตัวดีขึ้นนั่นเองค่ะ

ด้านภูมิคุ้มกัน วิตามินซีมีส่วนช่วยกระตุ้นการต้านอนุมูลอิสระ จากการไปกระตุ้นเอนไซม์กลุ่มที่ทำหน้าที่กำจัดสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย จากการทดลองนี้นักวิจัยพบว่าเอนไซม์กลุ่มที่ทำหน้าที่ดังกล่าวในซีรัมของปลาที่ได้รับวิตามินซี มีอยู่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ปลาสามารถต้านการอักเสบได้ดีขึ้น อีกทั้งยังพบว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของปลามีการทำงาน มีกิจกรรมมากขึ้น ทั้งเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บกินสิ่งแปลกปลอม และเซลล์ชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านเชื้อโรค และเมื่อนักวิจัยทดลองให้เชื้อก่อโรค Aeromonas sobria ผลปรากฏว่าปลาสามารถต่อต้านการป่วยจากเชื้อดังกล่าวได้ และมีอัตราการรอดชีวิตที่มากขึ้นอีกด้วย

ด้านการย่อยและดูดซึมสารอาหาร นักวิจัยพบว่าลำไส้เล็กที่ทำหน้าที่สำคัญในการย่อยและดูซึมสารอาหารของปลาที่ได้รับวิตามินซี มีโครงสร้างของ villus ที่กว้างและยาวกว่าปลาที่ไม่ได้รับวิตามินซี จึงเป็นสาเหตุที่ทำ

ให้ปลามีความสามารถในการดูดซึมเพื่อนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น สามารถทำน้ำหนักตัวได้ดีขึ้นตามมา รวมไปถึงมีปราการต่อต้านการรุกรานของเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

โดยสรุปแล้ววิตามินซีมีประโยชน์หลายประการเลยนะคะ สำหรับตัววิตามินซีที่ใช้ในการทดลองนี้ นักวิจัยใช้ L-ascorbic acid phosphate ที่ผลิตในประเทศอียิปต์ มาทำการทดลอง ส่วนปริมาณที่ใช้แล้วให้ผลการทดสอบดีที่สุด คือผสมวิตามินซีปริมาณ 400 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และนักวิจัยยังได้บ่งชี้ด้วยว่าความเข้มข้นมีผลต่อประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของวิตามินซี เหมือนกับที่หลายท่านทราบทั่วไปว่าแพทย์มักจะแนะนำให้คนปกติทานวิตามินซีให้ถึงปริมาณที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการต้านหวัดนะคะ

 

สำหรับเรื่องวิตามินซีในวันนี้หวังว่าฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านค่ะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเมย์)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 



  




Farm story

งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)
Climate change ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพของปลา (2)