เตรียมกระชังให้ดีก่อนการเลี้ยง
ReadyPlanet.com
เตรียมกระชังให้ดีก่อนการเลี้ยง

คุยเรื่องบ่อดินกันไปแล้ว วันนี้มาคุยกันเรื่องกระชังบ้างส่วนมากเรามักจะเห็นการเลี้ยงปลาในรูปแบบกระชังที่แขวนอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง เขื่อน ดังนั้นคุณภาพของน้ำในกระชังก็คือคุณภาพของน้ำในพื้นที่ที่แขวนกระชังอยู่นั่นแหละ

 

การเลี้ยงในลักษณะนี้จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสียในเรื่องของการควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยง นอกจากนี้หากคิดจะเลี้ยงปลาในกระชังควรพิจารณาแหล่งน้ำที่จะแขวนกระชังด้วยว่ามีคุณภาพน้ำเหมาะสมกับการเลี้ยง ไม่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนมีการถ่ายเทของกระแสน้ำจะได้เหมือนกับการเปลี่ยนน้ำใหม่อยู่เรื่อยๆ มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดการเลี้ยง มีความลึกมากพอที่จะแขวนกระชังได้อย่างน้อย ให้ก้นกระชังลอยเหนือพื้นประมาณ 50 ซม. นอกจากนี้ควรเป็นสถานที่ที่อนุญาตให้เพาะเลี้ยงปลาได้ตามที่กฎหมายกำหนด

 

ข้อดีของการเลี้ยงปลาในกระชัง คือเราสามารถปล่อยปลาเลี้ยงแบบหนาแน่นสูงได้เพราะว่าน้ำไหลผ่านกระชังตลอดเวลาจะไม่ค่อยพบปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากเศษอาหารตกค้างหรือขี้ปลาเหมือนที่พบในการเลี้ยงปลาบ่อดิน ของเสียที่เกิดขึ้นก็มักจะถูกน้ำพัดออกไปจากกระชัง

 

ส่วนข้อเสียนั้น ในบางช่วงที่คุณภาพน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ที่แขวนกระชังมีความผิดปกติก็จะส่งผลต่อสุขภาพปลาได้และการควบคุมสภาวะคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปให้เป็นปกติจะทำได้ยากกว่าหรือไม่สามารถทำได้เลยเมื่อเทียบกับการเลี้ยงปลาในบ่อดิน กรณีที่เกิดโรคระบาดในแหล่งน้ำนั้นอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วและสูญเสียพร้อมๆ กันทุกกระชัง เช่น โรคติดปรสิตกระชังที่เลือกใช้ควรตรวจสอบว่าด้วยตากระชังมีขนาดเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงรึเปล่า ต้องเลือกให้น้ำไหลผ่านสะดวกไม่ให้มีเศษอาหารหรือขี้ปลาตกค้าง และปลาลอดออกไปไม่ได้ กระชังอาจมีรูปทรงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยขนาดของกระชังขึ้นกับเกษตรกรแต่ละรายและพื้นที่ที่ผูกกระชัง เช่นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 2 ม. ยาว 2 ม. ลึก 2-2.5 ม. แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4 ม. ยาว 2 ม. ลึก 2-2.5 ม. โดยแช่น้ำลึกประมาณ 1.8-2.2 ม. ควรแขวนกระชังในระยะห่างที่เหมาะสมเพื่อให้มีการไหลเวียนของน้ำและไม่ให้มีมุมอับ เช่น 1.5-3 ม. แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้อาจต้องติดตั้งเครื่องตีน้ำเพิ่มเติม สิ่งที่ควรคำนึง คือกระชังไม่ควรชิดติดกันมาก ขนาดไม่ควรใหญ่จนน้ำจะไหลเวียนไม่สะดวกและกระชังไม่ควรแช่น้ำลึกเกินไปเพราะปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ก้นกระชังจะลดลงเรื่อยๆ ด้านบนของกระชังควรมีอวน มุ้งหรือตาข่ายมาปิดคลุมไม่ให้นกมากินปลาหรือปลากระโดดออกไปนอกกระชังได้และระหว่างการเลี้ยงต้องสังเกตความสะอาดของกระชังด้วยเพราะมีผลต่อการถ่ายเทน้ำอัตราการปล่อยปลาสามารถเลี้ยงได้หนาแน่นกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน 3-4 เท่า และควรพิจารณาร่วมกับขนาดตัวและน้ำหนักปลาด้วย


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก)


 

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD





  
 




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)