ระบบภูมิคุ้มกันคืออะไร
ReadyPlanet.com
ระบบภูมิคุ้มกันคืออะไร

 

ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system มีหน้าที่คอยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้ามาทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายจะเกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้นให้หมดไปจากร่างกายโดยรวดเร็ว อย่างมีประสิทธิภาพในบางครั้งก็อาจพบว่าระบบไปทำหน้าที่กำจัดเซลล์ปกติของร่างกายที่เสื่อมสภาพได้ เช่น เม็ดเลือดที่มีอายุมากนอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจสอบความปกติของเซลล์ของร่างกายอีกด้วย ถ้าเซลล์ของร่างกายเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์ที่แปลกไปจากปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายเซลล์นั้นสำหรับความแตกต่างของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถพิจารณาได้จากสายวิวัฒนาการ จะเห็นว่า สัตว์เลือดอุ่น เช่น หนู สุนัข จัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงที่มีวิวัฒนาการของร่างกายต่างๆ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันแตกต่างจากสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลา ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำกว่าโดยปลาก็จะมีสายวิวัฒนาการออกไปอีก คือ ปลากระดูกอ่อน (Chondrichthyes) เช่น ฉลาม กระเบน และปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ซึ่งเป็นปลากลุ่มที่พบมากในปัจจุบันตามธรรมชาติทั่วไปและมีความแตกต่างของสายพันธุ์ปลามากมายหลายแสนชนิดคิดเป็นจำนวนความหลากหลายมากกว่าครึ่งหนึ่งของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้การศึกษาด้านระบบภูมิคุ้มกันในปลาทำเฉพาะปลาที่มีมูลค่าและมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทร้าท์ ปลาคาร์พ ปลาดุก ปลานิล ปลาไหล เป็นต้น การศึกษาด้านระบบภูมิคุ้มกันจะทำให้ทราบถึงกระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของปลาเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นและนำข้อมูลไปพัฒนาวิธีป้องกันและควบคุมโรคในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านระบบภูมิคุ้มกันต่อไป เช่น การผลิตวัคซีน ถึงแม้ว่าปลาจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีวิวัฒนาการด้อยที่สุดแต่ยังคงสามารถพัฒนาการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายจากการได้รับจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้โดยการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมมีความแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด ขึ้นกับปัจจัยของสัตว์ สิ่งแวดล้อมและเชื้อก่อโรค เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะทางกายวิภาคของสัตว์ ผิวหนังและเยื่อบุ ลักษณะทางสรีรวิทยา อายุของสัตว์ สารอาหารที่ได้รับ

การจัดการเลี้ยง สภาพแวดล้อมในปลานั้นพบว่าอุณหภูมิแวดล้อมมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและความสามารถของเชื้อก่อโรคด้วย กรณีปลาอาศัยอยู่เขตที่น้ำมีอุณหภูมิต่ำจะไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาการสร้างภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากเชื้อโรคใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานกว่าปกติแต่หากเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแถบกระแสน้ำที่มีอุณหภูมิสูงจะมีแนวโน้มที่เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วปลาที่เลี้ยงในบริเวณนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูงหลายท่านที่เคยได้รู้เรื่องราวของโปรไบโอติกหรือเคยใช้โปรไบโอติกจะต้องเคยได้ยินเรื่องประโยชน์ของโปรไบโอติกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งกระบวนการทำงานของภูมิคุ้มกันนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับสายวิวัฒนาการของสัตว์อย่างที่ได้อ้างถึงคร่าวๆ แล้วครั้งถัดไปจะพูดถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของปลาต่อไปนะคะ


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

 

“Immune system” is “The system of biological structures and processes with in an organism, preventing damage from foreign materials”.

And for those foreign materials, they are not only microorganism (virus, bacteria, etc…), it also includes our cells that are dying or old, such as old blood cells and abnormal cells (cancer cells, for example).

The immune system among different animal species are different. From evolutionary aspect, higher vertebrates, mammals (human, rat, dog and cat) possess more advance immune function than lower vertebrates, cold-blooded animal such as fish.

Even in the world of fish, there are so much different in how the immune system works since there are such a high diversity of fish. There are 2 major groups of fish, 1.) cartilaginous (fish (Chondrichthyes), such as shark and rays, and 2.) teleost (bony) fish (Osteichthyes) which is the major type of fish at present day.

Due to this high diversity of fish, studies on fish’s immune system are only focused on major culture fish species, such as salmon, trout, carp, catfish, tilapia and eel.

Why do we study fish’s immune system?

By understanding the immune system, we will know of how pathogens (bacteria, virus, etc,,) affect fish’s body and how the immune system response to the pathogens. And this is a key to develop a way to fight the diseases, such as “vaccination”

Can we give vaccine to a fish?

Yes, we can. Although fish are in lower vertebrate class, fish still have ability to develop immunity after vaccination.

Moreover, many of you that are using or have used probiotic may have heard that probiotics can enhance immunity if fish.

Next time, we will tell you more about fish’s immune system. Stay tune!!

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)