การกระตุ้นเจริญเติบโต
ReadyPlanet.com
การกระตุ้นเจริญเติบโต

สังเกตกันบ้างหรือเปล่าว่าหลายปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านการผลิตสัตว์หรือ zootechny เติบโตขึ้นมากเรื่อยๆ มีการนำเทคโนโลยีด้านนี้มาใช้ในโรงงานอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นโดยเน้นไปที่การคัดเลือกและนำเชื้อโปรไบโอติกมาใช้ในหลายๆ รูปแบบ เพื่อเอาโปรไบโอติกมาช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและให้สัตว์น้ำมีสุขภาพแข็งแรง ความนิยมใช้โปรไบโอติกในการเลี้ยงสัตว์น้ำมีมากขึ้นควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้พบหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าการนำโปรไบโอติกผสมในอาหารให้สัตว์น้ำกิน ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของได้ เช่นการทดลองใช้โปรไบโอติกในการเลี้ยงปลาโดยให้ปลานิลกินอาหารผสมโปรไบโอติก Pediococcus acidilactici ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ แล้วเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับอาหารธรรมดา พบว่ากลุ่มที่ให้กินอาหารผสมโปรไบโอติกมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่า เช่นเดียวกับการทดลองให้ปลานิลกินอาหารผสมโรไบโอติก Bacillus coagulans และ Rhodopseudomonas palustris ที่พบว่าช่วยเพิ่มน้ำหนักและอัตราการเจริญเติบโตได้

การทดลองในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ทดลองให้ Artemia กินโปรไบโอติก Lactobacillus sporogenes ก่อนแล้วจึงนำ Artemia นั้นไปเลี้ยงกุ้งอีกทีหนึ่ง จากนั้นวัดอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งระยะ post-larvae พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งเพิ่มขึ้น และยังมีค่า FCR ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ให้อาหารธรรมดาและให้ Artemia ปกติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการทดลองในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ผสมโปรไบโอติกชนิด Bacillus spp. ความเข้มข้น 50 g ต่ออาหาร 1 kg พบว่ากุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารและส่งผลดีต่อการดูดซึมนำสารอาหารไปใช้ในที่สุดและการศึกษานั้นยังแนะนำอีกด้วยว่าหากให้กินติดต่อกันในทุกช่วงการเลี้ยงจะช่วยให้เกิดผลกระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการให้โปรไบโอติกในแต่ละระยะของสัตว์น้ำก็มีผลต่อการพัฒนาของอวัยวะที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุนั้นๆ ด้วย

นอกจากการให้โปรไบโอติกจะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตแล้วยังส่งผลให้สุขภาพสัตว์แข็งแรงขึ้นจะโน้มนำไม่ให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในฟาร์มทำให้ลดปริมาณการใช้ยาและสารเคมีที่ไม่จำเป็นในฟาร์มไปด้วยในตัวสิ่งนี้จะส่งผลดีต่อฟาร์มในแง่ของต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่ลดลงและเป็นผลดีต่อผู้บริโภคมากเพราะจะได้บริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความยั่งยืนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากการใช้โปรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงจัดเป็นหนึ่งในรูปแบบการเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

 

Growth promoter

Technology has changed our life, as well as the “animal’s” too. Animal production technology or “Zootechny” has become more and more popular and the use of Zootechnics have been increasingly implemented by more animal feed mills.

One of the techniques is to “add” different types of “Probiotics” into the feed in order to promote growth and health.

In aquaculture as well, probiotics has become the increasing trend, due to more supporting evidences are published.

For example:

Probiotics Pediococcus acidilactici were fed to tilapia for the duration of 6 weeks. The result showed that fish that were fed on probiotics had better growth rate and better FCR compare to the fish that received normal feed.

Also, tilapia that were fed with probiotics Bacillus coagulans + Rhodopseudomonas palustris showed better growth rate then the non-treated group.

There was a study in Giant Freshwater Prawn (Macrobrachium rosenbergii). Live feed, artemia were fed with probiotics Lactobacillus sporogenes, then the artemia were given to the prawn. The prawn that fed on enriched artemia were presented with better growth rate and FCR, compare to the control group.

Study in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) showing that probiotics Bacillus spp. helped stimulate growth and production of digestive enzymes which facilitated in nutrient absorption, when given to shrimp at the rate of 50g probiotics/ 1 kg of feed. In addition, the study also suggested that probiotics should be given to the animal continuously throughout culture period because probiotics play an important role in supporting organs development in every step of life.

Not only probiotics can support growth, they also support health of the animal. Healthy animal means there is low chance of disease outbreak in farm, and less disease means less drugs and

chemicals uses in farm. Eventually, the most benefit will go to us, “consumer”, in term of safe and healthy food.

In addition, the use of probiotics is another way to achieve sustainable aquaculture, because the use of probiotics is considered an “eco-friendly” method.

 
Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)