การกักกันโรคก่อนนำสัตว์น้ำใหม่เข้ามาเลี้ยง
ReadyPlanet.com
การกักกันโรคก่อนนำสัตว์น้ำใหม่เข้ามาเลี้ยง

การกักกันโรค (quarantine)

เป็นวิธีการป้องกันการนำเชื้อโรคเข้ามายังพื้นที่ที่ปลอดจากโรคโดยกักสัตว์ซึ่งอาจเป็นตัวนำเชื้อก่อโรคไว้จนกระทั่งมั่นใจว่าสัตว์นั้นปลอดภัยไม่แพร่เชื้อต่อสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่แล้วจึงค่อยนำเข้าสู่พื้นที่ การกักกันโรคเป็นกุญแจสำคัญในมาตรการการจัดการความเสี่ยงที่จะต้องนำมาใช้พิจารณาในกรณีที่มีการพัฒนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำหรับการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ หลักการที่ใช้ในการจัดทำการกักกันโรค สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ โดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยงของสัตว์ ซึ่งได้มาจากข้อมูลผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis) ดังนี้

1. การกักกันโรคตามปกติ (routine quarantine)

เป็นมาตรการกักกันโรคปกติที่ทำกันอยู่แล้ว มักทำในสัตว์น้ำที่จับเพาะเลี้ยงในพื้นที่นั้นๆ และมีการขนย้ายภายในพื้นที่เขตใกล้เคียงกัน เช่น การเลือกใช้พ่อแม่พันธุ์ปลอดโรค (Specific Pathogen Free stocks) การตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนขนย้าย มาตรการกักกันโรคก่อนส่งออกหรือนำเข้าในพื้นที่ ซึ่งไม่ได้เพิ่มเติมมาตรการการจัดการความเสี่ยงอื่นๆ จากที่มีอยู่แล้วตามปกติ

2. การกักกันโรคของสัตว์น้ำที่มีความเสี่ยงต่ำ “lower risk” species

เช่น การขนย้ายสัตว์น้ำสวยงาม การกักกันโรคลักษณะนี้จะมีการปรับปรุงพัฒนาระบบและมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับสัตว์น้ำขึ้นอีกระดับจากที่ปฏิบัติเป็นปกติ เพิ่มมาตรการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในพื้นที่

3. การกักกันโรคของสัตว์น้ำที่มีความเสี่ยงสูง “high risk” species

สัตว์น้ำที่เข้าข่ายกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงยกตัวอย่างเช่น การนำสัตว์น้ำเข้ามาจากประเทศหรือแหล่งต้นทางที่เคยพบการระบาดของโรคที่ต้องเฝ้าระวังมายังประเทศปลายทางที่ปลอดโรค ซึ่งจัดเป็นการขนย้ายผ่านพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางสถานะของสุขภาพสัตว์ (different health status) สูง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคสู่สัตว์น้ำตามธรรมชาติ หรือมีผลกระทบต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ปลายทางได้ หลักการของการกักกันโรคไม่ได้นำมาใช้เฉพาะในกรณีที่มีการขนย้ายสัตว์น้ำต่างพื้นที่เท่านั้น สำหรับการจัดการฟาร์มก็ต้องมีการจัดการกักกันโรคเพิ่มเติมเหมือนกัน เช่น ในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่มีมูลค่าสูงเกิดพบมีปลาป่วยขึ้นมาก็ต้องมีการแยกสัตว์น้ำที่ป่วยออกจากสัตว์น้ำปกติเพื่อวินิจฉัยโรคและให้การรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยเลี้ยงรวมกับปลาปกติเพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดของโรคในฟาร์ม ตามหลักการกักกันโรคที่กล่าวมาอาจฟังดูเข้าใจยากแต่เป็นเรื่องไม่ไกลตัวที่ฟาร์มควรให้ความสำคัญ ทั้งนี้การกักกันโรคจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันโรคเมื่อมีการนำมาใช้ร่วมกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity system) ของฟาร์มนะคะ

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

 

Introducing new animal and quarantine process

Quarantine is a management practice that aims to prevent disease to enter disease-free area when bringing in new animal(s). Quarantine process is about keeping newly introduced animal in one place apart from the main population until it is proved that the new animal contains no disease. When the quarantine process is finished, animal is then allowed to enter the population.

Quarantine is one of the important keys to develop health management strategies in aquatic animal.

Quarantine process can be divided into 3 levels, based on the level of disease risk that can be presented in the animal.

1. Routine quarantine: A regular quarantine commonly performs with the animal being captured, reared and transported within the local area or the area closed by. Such practices include using Specific Pathogen Free (SPF) stocks, disease testing before transporting the animal and any other standard practices when transporting animal in/out of the area. Routine quarantine doesn’t require any risk analysis process.

2. Quarantine for “lower risk” species: This process is usually applied in ornamental species. Biosecurity management is added to the process of quarantine in order to minimize the risk of introducing disease into the population.

3. Quarantine for “high risk” species: This process is usually applied in animal with high risk of carrying disease(s). Such as when importing animal from acountry (area) that have been reported with particular disease to a disease-free country (area). The movement between countries (areas) with different health status may lead to disease outbreak in destination country which may have tremendous effect to both farm animals and animals in natural resources.

Quarantine is not only used when moving the animal between areas, but also used for disease management in farm.

For example, when disease occurs in high value broodstock population, sick animal should be carefully separated from the population for disease diagnosis and treatment. In this situation, quarantine’s principle is applied in order to prevent disease spreading in the population.

Quarantine process may seem to be a little complicated and seem to be far from you; nevertheless, it is closer than you think. In addition, quarantine and biosecurity system are the most effective when being used together.

 
Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)