ทำความเข้าใจเรื่องการติดต่อของเชื้อโรค
ReadyPlanet.com
การติดต่อของเชื้อโรค

การสร้างความเข้าใจในการติดต่อ/ถ่ายทอด/แพร่กระจายของเชื้อโรค (disease transmission) ในปลาเป็นสิ่งจำเป็นในการระบุมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่จำเป็นสำหรับแต่ละฟาร์ม การติดต่อและแพร่กระจายของโรคในปลาสามารถเกิดขึ้นได้หลายช่องทาง ดังนี้

- การสัมผัสโดยตรง (direct contact)

เป็นหนึ่งในวิธีติดต่อโรคที่แพร่หลายมากที่สุดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปลาปกติมีโอกาสได้รับเชื้อเมื่อสัมผัสกับปลาที่ติดเชื้อโดยเฉพาะกรณีที่ปลามีแผลบริเวณผิวหนัง เมือกหรือเหงือกเชื้อก่อโรคสามารถแทรกเข้าไปในรอยแผลบนผิวหนังและก่อให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้เชื้อบางชนิดยังสามารถแพร่จากแม่สู่ปลาสู่ไข่ปลาและลูกปลาได้ (vertical transmission)

- การได้รับเชื้อผ่านทางการกิน (ingestion, oral)

ปลาสามารถรับเชื้อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อได้ การกินปลาที่ติดเชื้อ หรือตอดกินซากปลาที่ตายในบ่อเลี้ยงรวมทั้งการกินสัตว์ที่มีเชื้อเข้าไป เช่น หอยทากที่มีเชื้อการกินน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้ล้วนอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางการกินได้

- การได้รับเชื้อผ่านทางแหล่งน้ำ (water sources)

หากนำน้ำจากแหล่งน้ำที่มีปลาซึ่งติดเชื้ออาศัยอยู่หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคมาใช้เลี้ยงหรือใช้ขนส่งปลาก็สามารถทำให้ปลาได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับแหล่งน้ำได้โดยการปนเปื้อนเกิดจากปัสสาวะและอุจจาระของปลาที่ติดเชื้อปนมาในแหล่งน้ำ เคยมีรายงานว่าพบเชื้อโรคในปลา เช่น Ichthyophthirius multifiliis (ICH) ในระหว่างที่ขนส่งปลา โดยพบว่าเป็นการปนเปื้อนมากับละอองน้ำหรือน้ำกระเด็นระหว่างถังน้ำที่ใช้ขนส่ง

- วัสดุอุปกรณ์ที่สัมผัสกับปลาที่ติดเชื้อหรือแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน

เช่นกระชัง ถัง ท่อน้ำ กระชอน อุปกรณ์ใด ๆ ที่สัมผัสกับปลา รองเท้า เสื้อผ้า และยานพาหนะที่ใช้ขนส่งปลาโดยตรง เช่นรถบรรทุกของ/รถขนถังน้ำ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์มดังกล่าวสามารถปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างพื้นที่เพาะเลี้ยงหรือสถานที่ผลิตได้

- พาหะนำเชื้อ

เช่น หนู นกที่กินปลาสามารถนำเชื้อให้แพร่ระบาดจากบ่อหนึ่งไปสู่บ่อหนึ่งได้ โดยนำซากปลาป่วย ติดเชื้อ ซากหนู ไปทิ้งในบ่อหรือพื้นที่ปลอดเชื้อซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นอันตรายต่อระบบการเลี้ยงรวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ฟาร์ม

อย่างไรก็ตามเชื้อโรคแต่ละชนิดอาจไม่สามารถแพร่กระจายหรือติดต่อได้ทุกวิธีตามที่ระบุไว้ข้างต้น เนื่องจากเชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันแต่แนวคิดของการป้องกันโรคในระบบความปลอดภัยทางชีวภาพจะต้องควบคุมป้องกันทุกช่องทางที่ทำให้เกิดการติดต่อละแพร่กระจายของโรคในฟาร์มได้ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคระบาดได้หลายโรคโดยสามารถทำควบคู่ไปกับมาตรการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับแต่ละโรคในแต่ละฟาร์มได้นะคะ


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

 

 
Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)